วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เมื่อคนอยากรวยเลือกหุ้น OEM : SNC

ตามสัญญาว่าถ้าจะซื้อหุ้นอะไร  จะมาเขียนเล่าให้ฟังว่าเพราะอะไรถึงซื้อ
เผื่อผ่านไป  จะได้กลับมาดูว่าไอ้ที่ซื้อไปน่ะ  สมเหตุสมผลแค่ไหน 
(แต่ตัวอสังหาก็ยังไม่ได้ cut สักที -15% แล้ว  ถ้าเป็นของเพื่อนหรือของชาวบ้านคงบอกให้เค้า cut ไปแล้วล่ะ)


เข้าเรื่องดีกว่า  คนอยากรวยย้ำเสมอว่าการจะไปศึกษาธุรกิจอะไรจะต้องเจอศัพท์ใหม่ตลอดเวลา  ซึ่งเปิดหัวเรื่องมาก็เจอเลย  นั่นก็คือ OEM
สำหรับคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตหรือธุรกิจพวกนี้คงพอจะรู้ว่า OEM ย่อมาจาก original equipment manufacturer
ซึ่งศัพท์พวกนี้พวกนี้จะหมายถึงการรับจ้างผลิตและประกอบครับ  จะมี 3 ขั้นตามลำดับคือ OBM>ODM>OEM จะ add value ตามเครื่องหมายครับ(คือ OBM ดีสุดว่างั้นเหอะ)  โดยตัวย่อคือเปลี่ยนตรงกลางมาเป็น D=disign และ B=brand ครับ
มาดูแต่ละตัวกันครับ

- OEM คือรับจ้างปลิตและประกอบตาม order ลูกค้าครับ  เช่น  ประกอบแอร์  ประกอบรถ  ประกอบพัดลม ฯลฯ  งานกรรมกรมากๆ  margin บางเฉียบครับ 1-2% ก็หรูแล้ว
- ODM คือช่วยออกแบบด้วยครับ  คือเสือกไปถามลูกค้าเพิ่มว่า   ทำอย่างนี้ดีไหม  ลายนี้สวย  เอาอย่างนี้สิ  ก็เป็นการ add value ให้งานครับ
- OBM คือเพิ่มให้เป็นแบรนด์ของตัวเองเลยครับ  เช่น  หน้าจอจากบริษัท YK(yak-rauy)  เป็นการ add value ที่ดีที่สุดครับ


จบคำศัพท์บทที่ 1 แล้ว  มาดูที่ SNC กันครับ

SNC ตัวนี้เป็นหุ้น turnaround จาก subprime ด้วยราคาไม่ถึง 3 บาท  มาแตะที่ 30 บาทหรือวิ่งมา 10 เด้งในระดับเดียวกับ SPALI หรือ CPF !!!  เพียงแต่ประเด็นคือหลังจากมันรอดตายมาแล้ว  มันมาแปลงร่างเป็น growth stock น่ะสิครับ(ทำไมคนอยากรวยต้องมาสนใจหุ้นที่ขึ้นมา 10 เด้งด้วยล่ะเนี่ย 555+)


SNC เป็นธุรกิจ OEM นั่นแหละครับ  โดยเริ่มมาจากการรับจ้างประกอบแอร์  แค่ฟังดูก็ทุเรศทุรังแล้วใช่ไหมครับ  แต่ภายหลังก็มีการเพิ่มเติมมากขึ้น  โดยธุรกิจหลักๆของ SNC มี 4 อย่างครับคือ

1. OEM & ODM  เป็นรายได้หลักของ SNC มากกว่าครึ่งมาจากทางนี้ครับ  คือทำ OEM และพยายามขาย ODM ให้ลูกค้าด้วย  โดยผู้บริหารบอกว่าจะพยายามลดงานที่ขันน็อต  ขันสกรูที่ margin บางเฉียบลงไป  และพยามรับทำงาน"ต้นน้ำ"คืองานที่ให้เราผลิตสินค้าให้ด้วยครับ
โดยท่านเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆว่า  "ถ้ามาซื้อปลากับเราเราจะทอดให้ฟรีก็ได้  แต่ถ้าเอาปลามาให้ทอดจะไม่ทำแล้วครับ  หรือถ้ามาซื้อปลากับเราแล้วเอาไปทอดเองได้ก็วิเศษไปเลย"
ดูน่ากินใช่ไหมครับ  แต่แปลง่ายๆว่าถ้าซื้อวัตถุดิบจากเรา  หรือให้เราช่วย ODM เราจะช่วยทำ OEM ให้ก็ได้(จริงๆคงไม่ฟรีหรอกครับ  แต่อาจจะราคาถูกมากๆ)

ซึ่งตรงนี้ถ้าใครเคยศึกษาพวกสินค้า commodity มาก่อนอาจจะสงสัยเรื่องราคาวัตถุดิบ  ตรงนี้ SNC บอกว่าจะไม่มีการ stock วัตถุดิบครับ  คือผลักภาระตรงนี้ไปให้ลูกค้า  คือถ้าวัตถุดิบแพงก็คิดแพง  วัตถุดิบถูกก็คิดถูก  ทำให้ไม่มีปัญหาสินค้าราคาผันผวนครับ

ซึ่งรายได้หลักมาจากตรงนี้  แต่กำไรบางเฉียบครับ  เข้าใจว่าเพิ่ง break even(คุ้มทุน)มาได้แค่ 1-2 ปี  margin ตอนนี้ราวๆ 2-3% ครับ


2. PART คือผลิตชิ้นส่วนเครื่องทำความเย็นครับ  ซึ่งก็มีแอร์, compressor, โลหะแผ่นขึ้นรูป, ชิ้นส่วนพลาสติกและอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนครับ  มันจะมีกรรมวิธีการผลิตมากมาย  แต่คนอยากรวยก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่หรอกครับ เลยไม่รู้จะโม้ยังงัย
ซึ่งรายได้ตรงนี้จะประมาณ 30-40% ครับ  แต่ margin ดีมากคือ 8-10% ทำให้กำไรออกมามากกว่า OEM อีกครับ

ทั้ง PART และ OEM&ODM เนี่ยจะโตตามอุตสาหกรรมแอร์ครับ


3. AUTO หรือผลิตแอร์ในรถยนต์ครับ  ตัวนี้กรรมวิธีการผลิตคนอยากรวยก็ไม่ค่อยรู้เหมือนกันครับ  เอาเป็นว่าโตได้ตามอุตสาหกรรมยานยนต์เช่นกันครับ  ซึ่งแว่วมาว่าจะเริ่มขยายไปยังมอร์ไซด์ด้วยครับ
margin ตรงนี้เยอะถึง 15% เลยครับ  แต่รายได้ค่อนข้างน้อยคือราวๆ 10% ครับ


4. OTHER หรือแปลว่าอื่นๆซึ่งหลักก็คือรับจ้างทำชิ้นส่วนเครื่องซักผ้า  และคงมีอะไรก็ไม่รู้มาอีกนิดๆหน่อยๆครับ  ซึ่งรายได้และกำไรตรงนี้ติ่งนึงมากๆ  ซึ่งเนื่องจากทำน้อยทำให้มีขาดทุนหรือกำไรนิดหน่อย  เอาแน่เอานอนไม่ได้ครับ


มาถึงตรงนี้คงมีคำถามแนวเย้ยหยันมากมาย  เป็นต้นว่าธุรกิจอย่างนี้มันจะเจริญได้ยังงัยวะ  มันน่าลงทุนตรงไหน  ไม่เจ๊งหรอวะ  คู่แข่งล่ะ


ตอบทีละข้อไปพร้อมๆกับเหตุผลที่ผมก็บ้าจี้ซื้อ SNC นะครับ

1. SNC ไม่มีคู่แข่งแบบเต็มรูปแบบนะครับ  คู่แข่งก็คือลูกค้านั่นเอง  เพราะบริษัทพวกนี้มันจะผลิตเอง  ประกอบเอง(ถ้าใหญ่พอ)  แต่ถ้ามีมารับทำให้ก็เอา  แต่ต้องราคา"ไม่แพงกว่า"เค้าทำเองครับ  คือขอแค่ราคาเท่าๆกันก็เพียงพอที่จะทำให้ลูกค้าโยนงานมาให้เราทำแล้วล่ะครับ  เพราะไม่ต้องเสียเวลาจ้างคน  ดูแลการผลิต  เอาเวลาไปนวดกระปู๋ดีกว่า
ถ้าจะมีคนมาแข่งก็ต้องทำให้ได้ดีกว่า  หรืออย่างน้อยก็พอๆกับ SNC  ซึ่งตอนนี้ SNC มี market cap อยู่ราวๆ 9,000m  การจะเข้ามาทำแข่งต้องทุนหนานิดนึงครับ  เพราะ SNC ทำได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงกลางน้ำ  คือผลิตและประกอบเลย  ซึ่งกว่า SNC จะมาถึงวันนี้ได้นอกจากเงินแล้วยังมี know how ที่ดีอีกด้วยครับ

แต่ถ้าคู่แข่งจิปาถะคือ SME ทั่วไปที่แข่งผลิตชิ้นส่วนบ้าง  รับจ้างประกอบบ้าง  อันนี้ก็พอมีครับ  แต่สเกลพลังคงคนละระดับ

กวาดสายตาทั่วแผ่นดิน  คู่แข่งคงมีแต่"ลูกค้า"นี่แหละครับ

แต่คำเตือนคือ  ระวังต่างประเทศนะครับ  เพราะผมไม่รู้ว่ามีบริษัทอย่าง SNC หรือเปล่า


2. มันจะโตยังงัย  ใครมันจะบ้าใช้แอร์เพิ่มขึ้นทุกปี ???
อันนี้ผมก็เคยสงสัยนะครับ  แต่จริงๆแอร์หลักๆเค้าผลิตเพื่อส่งออกด้วยครับ  การใช้ในประเทศไทยไม่ได้เพิ่มมากเท่าไหร่  แต่ผลิตเพื่อส่งออกครับ  โดยลูกค้าของ SNC ส่วนมากผลิตเพื่อส่งออกแถวเอเชียนี่แหละครับ(อาจจะมียุโรปบ้างส่วนน้อย)  ทำให้วิกฤตในยุโรปอาจจะไม่ได้ก่อปัญหาเท่าไหร่นัก
ส่วนการโตของอุตสาหกรรมแอร์คาดการณ์กันที่ปีละ 10%  และ SNC ก็พยายามจะโตไปพร้อมๆกับอุตสาหกรรม  และกิน marketshare จากลูกค้าให้ได้มากขึ้นครับ

ส่วนธุรกิจรถยนต์ก็เช่นกัน  เราพยายามโตไปพร้อมกับอุตสาหกรรม  ขนาดคนอยากรวยไม่ค่อยตามข่าวเศรษฐกิจยังพอรุ้เลยว่ามีหลายๆที่ย้ายแหล่งการผลิตรถยนต์มาไว้ที่เมืองไทยบ้างแล้ว  ถึงจะมีไม่ค่อยมาก  แต่แค่นี้ก็ยังพอมี room ให้ SNC เจาะตลาดรถยนต์อีกเยอะครับ

และจริงๆที่ฐานการผลิตรถและแอร์อยู่ที่เมืองไทย  คนอยากรวยอ้างตาม 56-1 ว่า SNC บอกว่าทองแดงจะทนความชื้นจากประเทศอื่นไม่ได้  พี่ไทยนี่แหละเจ๋งแล้ว  ส่วนประเทศจีนยังมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์, สาธารณูปโภคและอื่นๆอีกมาก  พี่ไทยก็ยังเจ๋งกว่า
สรุปว่าฟังหูไว้หู  แต่ตามข่าวดีๆนะครับ  ฐานการผลิตย้ายอาจจะมีผลต่อ SNC ค่อนข้างมาก
นอกจากนั้นยังต้องตามอุตสาหกรรมยานยนต์และแอร์  ซึ่งตอนนี้ก็เป็นที่ดีของทั้งคู่ครับ


อีกอย่างคือการเติบโตจากภายใน  หรือการเน้นงานต้นน้ำและ ODM มากขึ้นกว่า OEM ธรรมดาครับ  ทำให้สามารถเร่งจาก 4% เป็น 6% แค่นี้กำไรก็พุ่ง 50% แล้วครับ  ปีนี้คาดว่าน่าจะได้ 7.X% โดยที่รายได้อาจจะทรงๆตัว  แต่ผู้บริหารบอกว่าอยากได้สัก 2 digit อันนี้ก็ต้องดูกันนะครับ  จริงๆแค่ 7-8% คนอยากรวยก็ดีใจมากแล้วครับ  ถ้าได้ 2 digit จริง  จะขอบคุณ SNC อย่างสุดๆเลยครับ


แน่นอนว่าโตจากภายในมันจำกัด  เต็มที่ก็คงราวๆ 1X% เราจะไปหวังตลอดคงไม่ได้ครับ
แต่จากภายนอกที่เราลุ้นได้เลยคือ JV หรือ joint venture คือการร่วมทุนครับ  คือจะไปลงทุนร่วมกับบริษัทอื่นที่ทำให้ SNC ได้ know how หรือ technology เพื่อมาติดอาวุธให้ SNC เพิ่มครับ  และเป็นการเพิ่มรายได้และกำไรด้วย  แน่นอนว่าต้องมีลงทุนเพิ่ม  แต่ผู้บริหารบอกว่าจะไม่รบกวนกระเป๋าผู้ถือหุ้นนะครับ  อันนี้ก็ดูๆกันไปว่าจะรบกวนหรือเปล่า  ฮี่ๆ  ถ้าทำได้จริงๆ  รับรองหุ้นวิ่งอีกรอบครับ  เพราะรายได้เพิ่ม  กำไรเพิ่มอีก

ซึ่งที่ผ่านมา SNC มี payout ratio ที่สูงมากถึง 5-6% เพราะเครื่องจักรยังเดินกำลังผลิตไม่เต็ม capacity ทำให้ไม่ต้องลงทุนเพิ่มอีกสักพักครับ  แต่ถ้ามี JV ออกมาอาจจะทำให้ payout ratio ลดลง  แต่ในระยะยาว capital gain จะได้เยอะกว่านั้นแน่นอนครับ


3. ธรรมภิบาลผู้บริหาร  อันนี้ตอนศึกษาหุ้นใหม่ๆคนอยากรวยก็เห็นมีคนชอบบอกว่าต้องดูสิ่งนี้ด้วย  แล้วจะดูยังงัยฟระ  มันมีเขียนแปะไว้หรอว่าคนนี้ดี  คนนี้เลว  แต่พอเข้ามาสักพักคนอยากรวยก็ว่ามันก็เหมือนดูบอลนั่นแหละ  ดูไปดูมาเดี๋ยวก็เดานิสัยนักบอลได้  เช่น  รูนี่เป็นคนยังงัย  ขี้โม้หรือเปล่า  หรือเมสซี่นิสัยดีมั๊ย  กาก้าล่ะ  ถ้าเราคลุกคลีกับบริษัทนั้นสักพัก  เราจะมองออกกลายๆครับ
ผู้บริหาร SNC นั้นเป็นคนดีมาก  ท่านเคยบอกว่าจะพยายามปันผลมามากๆ  เพราะโอเคว่าท่านถือหุ้นใหญ่  เงินเยอะๆท่านชอบครับ  แต่ท่านก็เป็นห่วงคนติดดอยด้วยครับ  อย่างน้อยก็เลยพยายามปันผลเท่าที่จะปันได้  โดยจะพยายามไม่ให้น้อยกว่าบอนด์ครับ(มีปีนึงที่ราคาตกลงมามาก  ท่านก็เลยปันผมมากว่า 100% ไปเลย)
หรือตอนซับไพรม์ที่บริษัทท่านและลูกค้ากำลังแย่  ท่านก็ยอมขาดทุนเพื่อให้ลูกค้ารอด  เป็นการซืิ้อใจครับ  ในขณะที่บริษัทท่านเพิ่มทุน  หุ้นก็ตกกระจายจาก 12 บาทมา 3 บาท  ท่านก็เลยเอาเงินสดมาซื้อหุ้นเพื่อให้ราคามันขึ้นครับ  แต่เผอิญราคามันขึ้นไปก่อน  ก็เลยซื้อได้ไม่มาก
ล่าสุดเลยก็เรื่องน้ำท่วม  ทำให้กำไรหด  ท่านก็เลยบอกว่างั้นผู้บริหารไม่เอาโบนัสครับ  ถือว่าทำไม่ได้ตามเป้า(จริงๆมันก็เหตุสุดวิสัยอ่านะครับ)

บริษัทที่ดีกับผู้บริหารที่ดี  มันคนละเรื่องกันนะครับ  แต่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ SNC น่าสนใจ

จริงๆบัฟเฟตบอกด้วยซ้ำว่าระหว่างผู้บริหารที่ดีกับบริษัทที่ดี  เลือกบริษัทครับ  เพราะบริษัทที่ดีมันรันตัวของมันต่อได้  อย่าง oishi ในวันที่ไม่มีคุณตัน  apple ในวันที่ขาด steve jobs  แต่บริษัทที่เลวสุดท้ายจะชนะผู้บริหารที่ดีครับ


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น SNC ไม่ใช่บริษัทที่เลว  แต่ทำในธุรกิจที่เหนื่อย  หากแต่วันไหนถ้า SNC ไปถึงจุดที่คุมได้ทั้งต้นน้ำและกลางน้ำ  วันนั้น DCA อันยิ่งใหญ่แบบไม่มีคนสู้ได้ก็จะเกิดขึ้นตามมา  และคนที่มีหุ้นตั้งแต่ซับไพรม์หรือวันนี้ก็จะกลายเป็นตำนานบทใหม่ครับ  แต่ถ้า SNC ทำไม่ได้ก็เป็นเพียงบริษัทดาดๆทั่วไป  หรืออาจจะล้มอีกก็ได้



เหตุผลทั้งหลายทั้งปวงก็ประมารนี้ล่ะครับ  ถ้าอ่านๆดูจะพบว่าอ่อนกว่าประกันชีวิตของคนอยากรวยเยอะ คนอยากรวยเลยตั้งจุด stop loss ไว้แล้วครับ  อย่างไรก็ขอไม่เจ็บมากไว้ก่อน(เจ็บจากอสังหาเยอะครับ)


SNC โอกาสล้มก็มี  โอกาสรวยก็มี(อย่างน้อยขึ้นมา 10 เท่าคนที่รวยก็มีเยอะแล้วแหละ)  growth ยังมีแต่ต้องตามดีๆครับ  ธุรกิจค่อนข้างจะเหนื่อยและต้องนับ 1 คือหารายได้ใหม่ทุกครั้ง  ต่างจากประกันชีวิตหรือ CPALL(ที่แม้จะนับ 1 แต่ได้นับแน่นอน)  เพราะถ้าลูกค้ารายใหญ่ยกเลิกขึ้นมา  หุ้นก็วอดวายล่ะครับ เพราะ SNC trade กันที่ PE ค่อนข้างสูงคือ 12-15  ซึ่งถือว่าสูงมากสำหรับ OEM  แต่จะไปสูงไปหรือเปล่าสำหรับ growth stock  ขอให้ Mr.market กับเวลาตัดสินแล้วกันครับ(ตัวนี้ไม่ขอโชว์การคำนวนนะครับ  เพราะไม่รู้จะคิดจากอะไรดี  ได้แต่"เชื่อ"ว่ามันจะโต)


สำหรับประมาณการต้องขอบอกว่ายากนิดนึง  เพราะไม่มีฐานอะไรมาประมาณสักเท่าไหร่  แต่ขอใช้จิตสัมผัสว่ารายได้น่าจะประมาณๆเดิมคือ 8,XXXm อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าปีที่แล้วนิดหน่อย  แต่ margin น่าจะอยู่ที่ 7.5%  net margin น่าจะสัก 620m  หรือ EPS 2.1-2.2 ครับ  อันนี้ขอเชื่อผู้บริหาร  แต่ตามดูติดๆครับ  แต่ถ้า JV ได้  ต่อให้ปีนี้หลุดเป้าไปนิดก็น่าตามดูต่อครับ


ส่วนงบดุลไม่น่าห่วง  เพราะบริษัทไม่มีหนี้เลย  มีแต่เจ้าหนี้การค้าซึ่งก็คงจะวนๆอยุ่กับลูกหนี้การค้าแหละครับ  เรียกว่าแข็งแกร่งระดับ CPALL เลยครับ  ไม่มีปัญหาใดๆทั้งสิ้น



เหตุผลที่ให้อาจจะไม่หนักแน่นมาก  ไม่ขอเชียร์เหมือนประกันชีวิตที่เป็น megatrend ครับ  ตัวนี้ขอตีตั๋วตามไปดูและศึกษาเพิ่มเติมไปเรื่อยๆครับ(แต่ตั้งจุด cut loss ไว้สั้นมาก  วันนี้เกือบได้ cut แล้ว  ขอเอาตัวรอดก่อนครับ)


ทิ้งคำทำนายไว้แล้ว  อีกครึ่งปีมาตามดูกันต่อครับ ^^

1 ความคิดเห็น:

  1. เขียนได้เยี่ยมมากเลยครับท่าน ผมชอบอ่านสำนวนท่าน เข้าใจง่ายและฮาด้วย :D

    ตอบลบ