วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เมื่อคนอยากรวยเลือกหุ้น IT : SiS

ธุรกิจ IT เป็นหนึ่งในธุรกิจที่หลายๆคนมองว่าเป็น "Megatrend"(แม่ะ  คำว่า megatrend นี่เป็นคำหลอกขึ้นดอยที่เหมาะสมจริงๆ)
ธุรกิจไหนก็ตามถ้าอยู่ใน megatrend ขอแค่โตตามเทรนด์ไปได้ก็เยี่ยมแล้ว  ถ้ายิ่งเป็นผู้เล่นชั้นแนวหน้าที่โตได้มากกว่า trend ล่ะก็  มันคือ growth stock หรือ super stock ดีๆนั่นเอง


ธุรกิจ IT ถ้าใครเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับ VI ธุรกิจพวกนี้จะถูกด่าและไม่เป็นที่ถูกชะตาชาว VI สักเท่าไหร่  โดยเฉพาะช่วงที่หุ้นดอทคอมบูมและล่มสลายในเวลาอันรวดเร็ว  ทั้งนี้เพราะธุรกิจ IT เปลี่ยนแปลงเร็วมากๆๆๆๆๆๆๆ  คนอยากรวยยังจำได้ว่าตอนม.ปลายใครมีมือถือสักเครื่องนึงก็หรูแล้ว(กว่าคนอยากรวยจะมีมือถือไว้เจ๊าะแจ๊ะกับสาวๆก็ปาไปมหาลัยเลยนะ)  แต่สมัยนี้เชื่อว่าเด็กมัธยมมีเกือบทุกคน(ไม่นับเด็กที่ยากจนจริงๆนะครับ)  ทำให้บางบริษัทล้มหายตายจากไป  บางทีล้มแล้วลุกใหม่อย่าง apple บางทีกำลังล้มอย่าง nokia ทำให้มันจะดูเหมือนเป็น cyclical กลายๆ  เข้าไม่ถูกจังหวะเจ็บตัวเอาง่ายๆ



แล้วทำไมถึงสนใจ SIS  ตัวนี้มีอะไรน่าสนหรอ  คนอยากรวยวัดดวงแบบอสังหาตัวนั้นอีกรึป่าว
อยากรู้ต้องตามมาดูกันครับ


SIS เป็นบริษัทที่เป็น distributor หรือพูดภาษาบ้านๆคือรับของเค้ามาขายต่อนั่นเอง  แต่เป็นเฉพาะสินค้า IT เช่น smartphone, tablet, notebook, keyboard, mouse, monitor ตลอดจน accessory อื่นๆของคอม  รวมทั้งกล้องและ storage ด้วย
แน่นอนว่าพวกรับของเค้ามาขายกำไรไม่เยอะมากหรอกครับ  เรียกว่า gross profit บางแค่ 5-6% เท่านั้นเอง(บางทีก็น้อยกว่าด้วยซ้ำ)  และพอตัด SG&A ออก  จะเหลือ net profit แค่ 1.X%หรือน้อยกว่าด้วยซ้ำไป เรียกว่า margin บางมากเฉียบก็ว่าได้


อะไรวะ  margin ก็บางเฉียบ  ธุรกิจก็เปลี่ยนแปลงเร็ว  ของเสื่อมสภาพง่าย  มีเอี้ยอะไรน่าสนเนี่ย  ใช่ไหมล่ะครับ ^^


ประเด็นแรกเลยคือ distributor เป็นแค่คนรับของเค้ามาขายครับ  ไม่ได้ผลิตเอง  จึงแค่เลือกอุปกรณ์ที่น่าจะฮิตในแต่ละหมวด  มาขาย  ความเสี่ยงเรื่องการล้าสมัยไม่ใช่ไม่มี  เพียงแต่อยู่ที่ระบบ stock ของ(ออกตัวก่อนว่าส่วนมากสินค้า IT พวกนี้คืนไม่ได้นะครับ  การสั่งมาต้องใช้ความระมัดระวังมาก)  ถ้าสั่งมามากเกินไป  กำไรก็ลดน้อยลงเพราะขายไม่หมด  ต้องลดราคาไม่งั้นสินค้าจะล้าสมัยเร็ว(คิดเอาว่าเอา samsung SII มาขายช้าไปสัก 1 ไตรมาส  จนมีข่าวแพลมๆว่า samsung SIII หรือ note จะออกแล้ว  ยังงี้จะขาย SII ยังงัย  อยากขายได้ก็ต้องลดราคาลง  margin ที่บางอยู่แล้วมันจะบางไปใหญ่)  สั่งมาน้อยเกินไปค่า SG&A ก็ต้องโปรโมทในระดับนึงอยู่แล้ว(เหมือนมี fixed cost) ขายน้อยบางทีกำไรไม่พอค่า SG&A ก็เจ็บตัวไปเอง  ดังนั้นต้องตาแหลมคมว่าจะเอาสินค้าไหนปริมาณเท่าไหร่มาขาย

มีประวัติศาสตร์ที่อเมริกาตื่นทอง  มีคนมากมายไปขุดทองหวังรวย  ท่ามกลางฝูงชนมหาศาล  คนที่รวยได้มีเพียงหยิบมือเท่านั้น  แต่ไอ้ที่รวยแน่ๆทุกคนคือคนที่ขายพลั่วและกางเกงยีนส์ครับ

SIS ก็เปรียบเสมือนคนขายพลั่ว  ขอแค่ธุรกิจ IT ชนะได้  ไม่ต้องสนว่า apple, nokia หรือ samsung จะชนะ SIS ก็สามารถชนะไปด้วยได้ครับ

แต่ก็ต้องยอมรับนะครับว่า distributor ไม่ได้ผลิตเอง  จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะ margin น้อยมากๆ  บางทีการ stock ของผิดพลาดกำไรมันจะร่วงจาก 1.X% เป็น 0.X% ได้เลย  และจริงๆไอ้ 1.X% ก็ต่างกันมากนะครับ  แค่ 1.2% กับ 1.8% ขายได้เท่ากัน  กำไรต่างกันถึง 50% เลย  ดังนั้นระบบ stock ของจึงสำคัญมาก  เพราะกันของพลาดก็ต้องมาลดราคาระบายของอย่างที่บอก



ประเด็นที่ 2 คือธุรกิจ IT เป็นธุรกิจที่ถูกคาดหวังการโตระดับ 2 digit คือ 10%+ มาหลายปี  และก็ทำได้ทุกปี  และคาดว่าจะโตระดับนี้ได้อีกหลายปี
อันนี้ลองดูจากคนใกล้ตัวก็ได้ครับ  การบริโภคของคนเมืองมีทั้ง smartphone, tablet และ notebook บางคนมี PC อีก  เรียกว่าค่า gadget ตรงนี้เครื่องละ 10,000+ ทั้งนั้น

คนอยากรวยยอมรับว่าการบริโภค notebook จะลดลง  แต่อะไรที่มันขนาดเล็กลงๆ  มันจะขายง่ายขึ้นเรื่อยๆ  smartphone ตอนคนอยากรวยอยู่ปี1 ปี2  ราคาแพงมาก  หาคนใช้นับคนได้  พอมาปีท้ายๆเท่านั้นแหละ  ใครไม่ใช้สิแปลก  ยิ่งตอนไปทำงานนี่ทุกคนใช้ smartphone ก็ว่าได้  แต่ notebook มันไม่ค่อยเปลี่ยนกันหรอกนะ  ทั้งๆที่บางที smartphone แพงกว่าด้วยซ้ำ  บางคนเปลี่ยน smartphone ทุก 1-2 ปี  บางคนหนักกว่านั้นมี smartphone 2 เครื่อง  เรียกว่าการบริโภคพวกนี้เป็น lifestyle ในสังคมเมืองไปแล้ว  ถ้าถามว่าใช้ function ที่ให้มาได้ครับมั๊ย  คนอยากรวยว่าแค่ 50% ยังไม่ถึงเลย  ยิ่งเพื่อนผู้หญิงคนอยากรวยนะไม่ต้องพูดถึง  เอาแค่ 20% ใช้ให้มันเกินก่อนเถอะ  ใช้ให้ได้มากกว่าเปิด FB, ถ่ายรูป, เปิดเว็บ(เครื่องสำอาง) หรือเล่น flash game ก่อนแล้วกัน

แต่คนอยากรวยว่านะ  การใช้มือถือมันคือ lifestyle ไปแล้ว  มันเป็นการบอกบุคลิกหรือเล่าตัวตนผ่านมือถือ  คล้ายๆกับการแต่งกายอย่างนึง  อันนี้ใครอยากรู้ลองไปอ่านเกี่ยวกับธุรกิจเพิ่มเติมดูนะ  เพราะคนอยากรวยไม่ได้เรียนมากทางด้านนี้อาจจะพูดศัพท์วิชาการมากไม่ได้  เพราะพูดมากก็ผิดมาก   เอาเป็นว่ามันเป็นการบ่งบอกตัวตนอย่างนึงคล้ายกับการนั่งแด๊กกาแฟ starbuck(แพงชิบหาย)  หรือการไปเดิน terminal 21 แล้วต้อง check-inให่ชาวบ้านรู้นั่นแหละ  เทียบกับการไปกินกาแฟโบราณตามข้างถนน  หรือการไปเดินประตูน้ำ  จะเห็นว่ามันบ่งบอกตัวตนได้แตกต่างกัน(คนอยากรวยไม่ได้ว่าคนไหนกระแดะหรืออะไรนะ  มันอธิบายได้ด้วยหลัดเศรษฐศาสตร์จริงๆ  แต่คนอยากรวยลืมไปแล้ว 555+)

ไหนจะ tablet อีก  ซึ่ง tablet เป็นการบอก lifestyle อีกอย่างนึงเช่นกัน  และตอบได้ในขณะนี้เลยว่ายังมาแทน notebook ไม่ได้  และคนอยากรวยก็มีทั้ง tablet และ notebook แต่ก็ไม่คิดว่าจะเอา tablet มาแทน notebook เช่นกัน  เพราะ tablet เหมือนเอามาพกติดตัวไว้เล่นมากกว่า  ทำงานหรือเล่นเกมหนักๆจริงต้อง notebook หรือ PC เท่านั้น(แต่ในอนาคตไม่กล้าฟันธงนะ  เพราะถ้า 3-4 ปีก่อนมีคนคิดว่า tablet จะบูม  คนอยากรวยคงหัวเราะฟันหลอแหงๆ  มาตอนนี้อึ้งเลย)

ส่วนกระแส notebook หรือ PC อาจจะแผ่วๆหน่อยเมื่อเทียบกับ smartphone และ tablet  แต่ขอบอกเลยว่าปัจจุบันครัวเรือนที่มี PC มีแค่เพียง 25%  เรียกว่ายังมีที่ให้โตได้อีกเยอะในยุคที่สินค้า IT มีราคาถูกลง  คนชนชั้นกลางค่อนต่ำเข้าถึงได้มากขึ้น  ยิ่งเด็กยุค Gen Y และ Z ที่เกิดมาพร้อม internet และ technology รอบด้าน  คิดไม่ออกเลยว่าจะอยู่โดยไม่มี notebook สักเครื่องกันได้อย่างไร(ไม่งั้นก็ต้องมี gadget สักตัวล่ะเอ้า !!!)  อันนี้คนอยากรวยว่ามันขายได้เรื่อยๆนะ  อาจจะไม่หวือหวามาก  โตบ้างไม่โตบ้าง  แต่คงไปได้เพราะยังไม่มีอะไรมาแทน notebook ได้ ณ ตอนนี้


คนอยากรวยแอบขอเสนอแนวคิดหน่อยว่า  พวก IT เนี่ยเมื่อไหร่ที่สามารถดึง"ผู้หญิง"เข้ามาเล่นได้  การเติบโตมันจะเพิ่มขึ้นมหาศาล  อย่าง iphone, ipad, BB หรือพวก smartphone หรือ tablet เนี่ย  พอมีผู้หญิงเข้ามาร่วมวงด้วยก็โตเอาๆ  เพราะผู้หญิงมีกำลังซื้อมากกว่าผู้ชาย(เคยอ่านจาก brandageสักเล่ม)  ซึ่งคนอยากรวยว่าจริงมากๆเลยฟร่ะ  เพราะ PC และ notebook ยังไม่สามารถดึงผู้หญิงมาเล่นได้เท่าไหร่(นอกจากสีสันกับยี่ห้อ)  จะบอกว่า"รุ่นนี้ Quad Core เร็วสุดๆ  หน้าจอระดับ HD การ์ดจอระดับเทพ" เชื่อเหลือเกินว่าผู้หญิงคงไม่มาสนใจด้วย  แต่กับ smartphone หรือ tablet ที่มี app ถ่ายรูปโน่นนี่  มี social network ไว้ chat กับเพื่อนฝูง  แทบไม่ต้องดู spec อย่างอื่นเลยครับ  ผู้หญิงซื้อตามกันทั้งนั้น  เอาคำเดิมมาโม้อีกที  "มันเป็น lifestyle"ไปแล้วครับ  แต่ถ้าวงการ notebook หรือ PC ดึงผู้หญิงลงมาด้วยได้  คงจะได้เห็นการโตระดับเทพกันอีกทีน่ะครับ
ลองดูอย่างวงการเกมส์ครับ  เครื่อง Wii ยอดรายระเบิดระเบ่อเพราะดึงกลุ่มผู้หญิงมาเล่นเกมติงต๊องๆได้  sony กับ microsoft ที่เข้าถึงผู้เล่นเกมจริงๆได้นั่งมองกันตาปริบๆเลย


ทั้งหลายที่แหล่ที่โม้มาเพื่อที่จะสนับสนุนความคิดของคนอยากรวยว่าวงการ IT พวก gadget หรือ accessory ต่างๆน่าจะโตได้อีกหลายปี  ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยของ smartphone ยุคของ tablet หรือยุคของ ultrabook ที่คาดว่าจะมาในอนาคต(ใครสนใจลองดูข้อมูล ultrabook ดูนะครับ  คร่าวๆคือ notebook ที่บางมากๆแบบ macbook air นั่นแหละ)  IT มันก็น่าจะโตไปได้อีกหลายยุคหลายสมัย


หลายคนอาจจะสงสัยว่าของ IT มันขายได้เยอะขึ้น  แต่ราคาก็ลดลงด้วย  แล้วมันจะโตหรอ  ที่ผ่านมา 15 ปีก็โตมาตลอดในแง่ของรายได้ครับ  ปี 54 ขายได้ 95,000ล้าน(ทั้งอุตสาหกรรม)  โตมาจาก 80,000 ล้านและ 70,000 ล้านจากปีที่แล้ว  และปีนี้ก็คาดว่าน่าจะแตะ 100,000 ล้านได้  เรียกว่าได้ปีละ 2 digit ตามที่อุตสาหกรรมโม้ไว้แหละครับ
เลยขอตอบคำถามข้อนี้ว่า  พอมันราคาถูกลง  คนก็ซื้อและเข้าถึงมันได้มากขึ้น  ทำให้ใช้กันฟุ่มเฟือยมากขึ้น  สมัยก่อนมือถือเครื่องนึงใช้กันเป็นหลายปี  สมัยนี้ไม่กี่เดือนบางทีก็ขายไปซื้อเครื่องใหม่มากันแล้ว  เมื่อเทียบราคากับปริมาณ  ปริมาณยังวิ่งนำหน้าอยู่อีกมาก  และยิ่งของราคาถูกลง  เราก็จะซื้อมากๆอีก  สมัยนี้มี smartphone, tablet, notebook และ PCตั้ง 4 อย่าง  ขอถามเลยว่าเมื่อ 5 ปีก่อนมีกันกี่อย่างครับ  แล้วตอนนี้มีกี่อย่าง  และต่อๆไปอีกสัก 5 ปีจะมีกี่อย่างก็ยังตอบไม่ได้เลยครับ


โม้มาเยอะจริงๆแฮะวงการ IT เนี่ย  เพราะคนอยากรวยอยู่คาบเกี่ยวระหว่าง Gen X กับ Gen Y ทำให้รู้เรื่องพวกนี้บ้าง  และเชื่อว่าหลายๆคนก็เชื่อว่ามันไปต่อได้เหมือนคนอยากรวยใช่ม้า 555+



กลับมาดูที่ SIS กันบ้าง  SIS นับเป็น distributor ที่มี marketshare อันดับ 1 และชิง marketshare มาได้ทุกปี โตจาก 19% มาเป็น 24% ในปีที่แล้ว(แต่กำไรว่ากันอีกทีนะ)
มีอันดับ 1 ก็ต้องมีอันดับ 2 ตัวที่ขับเคี่ยวกันมาคือ Synex หรือที่หลายๆคนรู้จักในชื่อ Synnex ประกันเทพของอุปกรณ์ IT  ซึ่ง Synex ก็มี marketshare ระดับ 2X% เช่นเดียวกับ SIS เรียกว่าศึกษา 2 ตัวเทียบกันได้เลยครับ  คล้ายๆ BLA กับ SCBLIF นะคนอยากรวยว่า  ของที่คล้ายก็คล้ายๆกัน  แต่ deep in details จะต่างกันนิดนึงคือ
- Synex ขายพวก HDD และ accessory ต่างๆมากกว่า SIS
- Synex เน้นตลาด ตจว ส่วน SIS เก่งใน กทม และปริมณฑล
- Synex ระบบ stock ของทันสมัยมาก  เรียกว่าดีกว่า SIS อยู่บ้าง
- Synex เน้นลงทุนใน Asset แต่ SIS เน้นเช่าที่มากกว่า

คนอยากรวยว่า SIS ดู underperform กว่า Synex อยู่นิดนึง  ทั้งปัจจุบันและอนาคต  แต่อย่างไรก็ต้องไม่ลืมว่ายอดขายของ SIS มากกว่า Synex  ดังนั้นถึงจะให้ SIS underperform Synex ก็ไม่ควรให้มากเกินไป


และที่ SIS น่าสนใจกว่าเพราะ SIS stock ของพลาดตอน Q3 โดยสั่ง BB มามากเกินไปเพราะคิดว่าจะขายดี  แต่แล้วก็ stock ผิด  ครั้นจะระบายของก็เจอน้ำท่วมมา double kill อีก  ทำให้ของเก่าระบายไม่ออก  ของใหม่ก็ขายไม่ได้  แถมเก่งตลาด กทม  เจอน้ำท่วมแทบไม่ต้องทำมาหากิน  ราคาก็ต้องร่วงตามระเบียบ  แต่เจอหนักกว่า Synex ก็ร่วงหนักกว่า

Synex เรียกว่าทั้งเก่งและเฮง  เพราะ Synex stock ของไม่พลาด  แถมมี stock HDD ไว้เยอะ(พี่แกดังด้านนี้อยู่แล้ว)  นอกจากจะระบายของได้แล้วยังระบายได้ราคาดีอีก  เลยไม่ทรุดมาก  แถมยังมีตลาด ตจว ไว้รองรับด้วย  ยอมรับว่าเก่งและมีโชคครับ  นัดนี้ Synex ชนะแบบ RSC outcalss SIS เลย  และจากเหตุการณ์ดังกล่าว Synex ใน Q1 ฟื้นแทบจะสมบูรณ์แล้วครับ  แต่ SIS ยังต้องลุ้นอีกเยอะครับ 555+

จะบอกว่า SIS ราคาต้องตกมากกว่า Synex ก็ไม่ผิดครับ  แต่ตอนนี้ SIS market cap 2,200m แต่ Synex market cap 3,500m  เรียกว่าต่างกัน 60% เลย  คิดยังงัย SIS ก็ไม่น่า underperform Synex ขนาดนั้นครับ  และถ้าถามว่าปัญหาของ SIS จะใช้เวลาแก้ไขนานแค่ไหน  และปัญหาจะ sustain หรือไม่  คนอยากรวยแอบตอบแบบมั่นใจนะครับว่าน่าจะแก้ได้ในปีนี้ค่อนข้างแน่นอน  ถ้าไม่เกิดอาเพศน่าจะแก้ได้ตั้งแต่ 2H55 แหละน่า


โม้มายาวมากๆๆๆๆๆๆๆ  คนอยากรวยว่าเรามาวิเคราะห์กันดีกว่านะครับ



วิเคราะห์เชิงปริมาณ


1. ธุรกิจพวกนี้  งบดุลจะมีความสำคัญตรงลูกหนี้การค้า  และเจ้าหนี้การค้าครับ  ขอใช้ศัพท์หรูๆว่า account recievable และ account payable ครับ  ย่อๆได้ว่า A/R และ A/P ครับ  หลักการจำง่ายๆคือ recieve แปลว่าได้รับเงิน  คนที่เราจะได้รับเงินก็คือลูกหนี้การค้า  ส่วน pay ก็คือจ่ายเงิน  และคนที่เราต้องจ่ายเงินให้ก็คือเจ้าหนี้การค้าครับ
มาแนะนำให้คิดตามหลักความเป็นจริงอีกแล้วครับ  เวลาเราติดหนี้ใคร  ชอบคืนช้าหรือคืนเร็วครับ  แล้วเวลาใครติดหนี้เราอยากให้คืนช้าหรือคืนเร็วเช่นกันครับ
ตอบง่ายๆเลยว่าเวลาเราติดหนี้ใคร  เราชอบคืนช้าๆ  แต่เวลาเก็บหนี้เราชอบเก็บเร็วๆครับ(เหี้ยมั๊ยล่า)

ดังนั้นทางบัญชีเลยคิด financial ratio มาให้ใช้คือดูว่าเราให้เครดิตลูกค้ากี่วัน  และเจ้าหนี้ให้เรากี่วันครับ  โดยเอารายได้คิดเป็นเดือน(คือถ้างบไตรมาสก็หาร 3  งบปีก็หาร 12)  มาหารด้วยเจ้าหนี้การค้าหรือลูกหนี้การค้า  เทียบบัญญัติไตรยางค์ออกมาเป็นเดือน  หรือจะเป็นวันเป็นวินาทีก็แล้วแต่ชอบครับ  อิอิ

เช่น งบ Q1 มีรายได้ 5,500m  มี A/R 2,100m และ A/P 1,700m  ก็แปลว่าขายได้เดือนละ 1,830m  ดังนั้นเราให้เครดิตลูกหนี้ 1.14 เดือนหรือประมาณ 34 วัน  ส่วนเจ้าหนี้จะมาเอาตังเรา 0.93 เดือนหรือ 28 วันครับ

ซึ่งในธุรกิจพวกนี้  วันจะอยู่ที่ 30-40 วันครับ  ปกติระดับ SIS หรือ Synex ควรจะอยู่ที่ 2X วันด้วยซ้ำ  แต่อาจจะเพราะ SIS ยอมๆลูกค้าให้แปะโป้งนานขึ้นนิดนึง  วันอาจจะเลยเถิดไปบ้างแต่ไม่น่าเกลียดอะไร  ส่วนเจ้าหนี้ถ้าจ่ายเร็วอาจจะได้ส่วนลดเลยต้องกดเงินจากแบงค์มาจ่ายครับ(ยอมเสียดอกว่างั้นเหอะ)

ซึ่งเงินกู้ยืมระยะสั้นจากแบงค์เพื่อเอามาเพิ่มรอบในการทำกำไรครับ  เพราะถ้ามัวแต่รอให้ลูกหนี้จ่ายครบก็ไม่ต้องเอาเงินไปซื้อของกันพอดี(ในความเป็นจริงไม่ได้จ่ายตรงทุกคนนะครับ)  ทำให้ต้องยอมเสียดอกกู้จากแบงค์บ้าง  ซึ่งเงินกู้พวกนี้ไม่มีสินค้ากู้ไม่ได้นะครับ  ไม่เหมือน O/D ซะทีเดียว

อันนี้เท่าที่กวาดสายตาดูในงบก็ไม่มีปัญหาอะไร  อาจจะมีดอกจากเงินกู้แบบที่ว่าเยอะนิดนึง  คือเสียถึง 19m จากกำไร 60m  แต่ทำยังงัยได้  มันต้องหมุนสินค้า  และคาดว่าถ้ากลับสู่สภาวะปกติ  กู้เสียดอกเยอะๆแบบนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกนะครับ


ส่วนที่ต้องดูอีกก็คือ  การ stock ของ  เพราะสินค้า IT เป็นสินค้าล้าสมัยเร็ว  stock มาเกินไปกำไรจะหดเยอะครับ  บางทีต้องมาขายขาดทุนด้วยซ้ำ  วิธีการดูคือเอางบดุลเนี่ยแหละส่วนสินค้าคงเหลือ  มาหารด้วยต้นทุนสินค้า  อันนี้อย่าไปสับสนกับ A/R และ A/P เพราะเวลาเราขายของให้ชาวบ้านได้มาเป็นรายได้  ต้องเอารายได้ไปหาร  แต่สินค้าคงเหลือเราบันทึกเป็นราคาทุน  เราต้องเอาต้นทุนมาหารครับ  ขอพูดอีกทีนะครับ  "เข้าใจแบบพ่อค้า"ครับ ^^

จากงบ Q1 ต้นทุน 5,275m และสินค้าคงเหลือ 3,760m  แสดงว่าต้นทุนต่อเดือนคือ 1,758m  แสดงว่า stock สินค้าไว้ 2.14 เดือนหรือประมาณ 64 วัน  ถามว่ามากมั๊ย  ตอบสั้นเลยว่ามากโขอยู่ครับ  สินค้า IT stock ไปตั้งขนาดนั้นล้าสมัยง่ายมาก(เทียบกับ Synex แค่ 33 วัน  เรียกว่า Synex ฟื้นตัวแทบจะเต็มที่แล้ว  และระบบ stock ของดีกว่าชัดเจน)  และนี่เองที่เป็นปัญหาให้ SIS ต้องแก้อีกอย่างน้อย 1Q  และ Q นั้น margin น่าจะยังไม่ปกติด้วย  เพราะต้องระบายของออก


ส่วนตรงนี้ก็จะมีสูตรเล็กๆน้อยครับ  ทางบัญชีเค้าชอบยัดเยียดอะไรมาให้เยอะแยะเลย  คือคำว่า inventory day ก็คือวันที่ stock ตามสูตรข้างบนแหละครับ  ส่วนอีกคำคือ inventory turnover คือการทำรอบใน 1 ปี  พูดง่ายๆว่าเวลาเราขายของ  เราก็อยากขายหลายๆรอบ  วิธีคิดก็แค่เอา ต้นทุนมาหารด้วยสินค้าคงเหลือ  แล้วคูณ 365  ดูคุ้นๆไหมครับ  ก็แค่เอาวันที่ stock ของมาหาร 365 นั่นแหละ
อธิบายตามแบบพ่อค้าคือ  แก stock ของไว้เดือนนึง  แสดงว่า 1 ปี  แกขายของได้ 12 รอบ  ถ้า stock แค่ 15 วันก็จะขายได้ 24 รอบ  แค่นั้นเองครับ  บัญชีชอบทำอะไรให้งง 555+
ฉะนั้นเราก็อยาก stock ของน้อยๆ  เพื่อทำรอบเยอะๆครับ(แต่บางธุรกิจอาจจะแปลกออกไปบ้างคือบางทีต้อง stock ของกันราคาผันผวน  โดยเฉพาะพวก commodity)  และ inventory day X inventory turnover = 365 ครับ
ถ้าเข้าใจหลักการพวกนี้  จะไปประยุกต์ใช้ยังงัยก็ตามสะดวกเลยครับ

งบดุลคร่าวๆก็ดูประมาณนี้แหละครับ

สรุปว่าเรื่อง A/P และ A/R ของ SIS ดูไม่ผิดปกติ  แต่ stock ของเยอะมาก  ต้องหาทางระบาย  ซึ่งอาจจะทำให้ได้ margin ต่ำลง(ไปอีก)  และอาจจะต้องกู้เงินเสียดอกมาขึ้นเพื่อเร่งทำรอบ  ซึ่งตรงนี้คือปัญหาทั้งหมดของ SIS ตอนนี้แหละครับ  คิดว่าในอนาคตอันใกล้แก้ได้หรือไม่ได้ล่ะครับ ^^



2. งบกระแสเงินสด  ขอผ่าน  เพราะธุรกิจพวกนี้ต้องกู้เงินเพื่อจะโตอยู่แล้วครับ  ไม่งั้นมัวแต่รอเงินจากลูกหนี้มาจ่าย  จะทำให้ทำรอบได้น้อยและโตช้าครับ  การกู้จะคล้ายๆ OD แต่ต้องมีสินค้าถึงจะกู้ได้  รู้สึก SIS จะสามารถกู้ได้ถึง 6,000m  อาจจะเสียดอกมากน้อยแล้วแต่ครับ  ดังนั้น CF ติดลบอยู่แล้ว = ="



3. ยอดขาย Q1 ได้ถึง 5,500m เป็นที่ 1 ของอุตสาหกรรม  แต่กำไรบางเฉียบแค่ 0.48% หรือ 27m เท่านั้น  (ในขณะที่ Synex ราวๆ 5,100m แต่ขานั้นกำไร 1.6%  โฮ่ๆๆๆๆ  ต่างกันกว่า3เท่า )  สาเหตุก็เพราะอย่างที่บอกแหละครับ  ส่วน Synex ฟื้นกลับมาเร็วมากเช่นกัน
คาดว่า Q2 น่าจะฟื้นนิดนึง  แต่ยังไม่เต็มที่  ยอดขายเห็นว่าเดือนเมษาและต้นพฤษภาตกทั้งอุตสาหกรรมโดยไม่ทราบสาเหตุ  แต่คิดว่า 5,000m น่าจะขายได้  เอา margin สัก 1% ก็จะได้กำไรสัก 50m
โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า 2H55 น่าจะฟื้นตัวเต็มรูปแบบ(ถ้าไม่มีน้ำท่วมอีก)  ยอดขายพวกนี้ปกติจะมาบวม Q3 แต่ Q4 จะ drop ลง  แต่ขอคิดแบบไม่ conservative มากว่าน่าจะได้สัก 12,000m margin 1.5%(จริงๆถ้าฟื้นเต็มที่ควรจะได้ 1.7X% แบบที่เคยทำได้ด้วยซ้ำ)  ก็จะได้กำไร 180m

และ 27+50+180 =377m หาร 232ล้านหุ้นก็จะได้ EPS 1.1 บาท

ซึ่งขอบอกว่าที่ประมาณตรงนี้ยอดขายประมาณปีที่แล้วเอง  ซึ่งขนาด Q1 ที่ดูซบเซายังโต  เลยคิดว่าทั้งปีน่าจะได้มากกว่านี้  โดยแอบหวังไว้ว่าน่าจะได้ 24,000-25,000m ครับ  ส่วน %margin ขอบอกว่ากะเอา  แต่ conservative แล้ว(นิดนึง)

ซึ่งราคาวันนี้ 9.7 บาท  PE ก็ประมาณเกือบๆ 9(ซึ่งปกติ PE SIS อยู่ที่ 7-8  แต่ต้องยอมรับว่าเจอสถานการณ์ไม่ปกติ  ทำให้ครึ่งปีแรกออกมาไม่ดี)


แอบแถม Synex ให้  รายนี้ฟื้นเต็มที่แล้ว  คาดว่ารายได้รวมกัน 3Q น่าจะได้เท่ากันคือสัก 16,000m-17,000 m ขอคิด 16,000 แล้วกันนะครับ  คิดว่าน้อยกว่า SIS สักนิดนึง  ส่วน margin เอาเท่า Q1 คือ 1.6% ก็จะ EPS ออกมา 0.49 บาท  ซึ่งราคาวันนี้ที่ 5.35 บาท  PE 11 ครับผม

ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือปีต่อๆไปหลังจาก SIS ฟื้นเต็มที่ต่างหาก  สมมติปีหน้ายอดขายสัก 25,000m margin สัก 1.7% EPS จะออกมาถึง 1.8บาท  ซึ่งราคาที่ 9.7 นี้คือ PE 5.4 เองนะครับ  ซึ่งจริงๆคนอยากรวยยังมองว่าธุรกิจ IT ยังโตได้  จริงๆยอดขายหวังเกือบๆ 30,000 ยังไม่ฝันเปียกเลย  ส่วน margin ถ้าไม่เกิดอาเพศอีกก็คิดว่าน่าจะกลับมาที่ 1.7X% ได้ โดยต้องไม่ stock ของผิดพลาดแบบครั้งนี้อีกแล้ว  ส่วนน้ำท่วมยอมรับว่าช่วยไม่ได้จริงๆครับ


เชิงคุณภาพโม้เรื่อง IT ไปหมดแล้ว  จะมาบอกเล่ากันอีกนิดคือปกติคู่ค้ากับ distributor จะช่วยเหลือกันนะครับ  เค้าจะไม่กดราคาจน margin ต่ำติดดินและอยู่ไม่ได้  เพราะเค้ามาขายเองก็ไม่คุ้มครับ  จะมีการแอบช่วยกันอยู่ภายใน  เช่นของอันนี้ขายไม่ได้คู่ค้าก็อาจจะช่วยออกเงินสนับสนุนการขายให้บ้าง  หรือบางทีก็มีฝากขายไอ้โน่นไอ้นี่มาบ้าง  เรียกว่าพึ่งพิงกันมากกว่าเอาเปรียบกันครับ



ข้อเสียของธุรกิจนี้หรือ SIS คือ
1. ไม่มี DCA คุณไม่มีวันรู้จัก SIS หรือ Synex หรอก  แล้วก็ไม่เลือกด้วยว่าเป็นของใคร  ซื้อไปหมดนั่นแหละ  บางทีของหิ้วทำให้ distributor ต้องปวดหัวมาก  อันนี้ก็ตามแก้กันไปนะของเถื่อน
2. barrier of entry มีบ้าง  คือเข้ามาทำน่ะไม่ยาก  แต่รอดยาก  มีอย่างที่ไหนขายของ 20,000m กำไร 300m  เรียกว่าขายคอมเครื่องนึง 20,000 กำไรออกมา 300 บาท  เอาเวลาไปขายข้าวยังได้เยอะกว่าเลย ทำให้สายป่านต้องยาวเล็กน้อย  ธุรกิจพวกนี้เหนื่อยและต้องรับผิดชอบเยอะ  นอกจากจะกำไร 300 แล้วบางทีต้องคอยดูแลต่อด้วย(แต่จริงๆของ margin เยอะก็มีอยู่นะ  พวก smartphone margin เยอะอยู่  รู้สึกจะราวๆ 5% เลยมั๊ง)
3. margin บางเฉียบ ทำให้ stock ของพลาดทีเข้าตัวลึกเลย  แต่ในระยะเวลา 10ปี  SIS เพิ่งจะมาพลาดเอง  ส่วน Synex ยังเอาตัวรอดได้ตามปกติ
4. หูตาต้องไวและคม  เลือกของผิดทีก็เป็นแบบ SIS ได้  จริงๆการคาดการณ์ผิดในวงการนี้คงมีอยู่เรื่อยๆ(ใครจะไปเดาออกหมดว่าอะไรจะฮิตบ้างจริงไหม)  แต่ระบบ stock และระบายของต้องดีพอจะไม่ทำให้ margin เสียหาย  แต่ถ้าเลือกมาไม่ดีบ่อยก็แย่เกินไป  อันนี้ต้องตามดูกันนิดนึง




สรุปคร่าวๆที่ SIS น่าสนใจเพราะราคาร่วงมาเยอะ  ทั้งที่พื้นฐานไม่ได้เปลี่ยน  และปัญหาที่เกิดขึ้นแม้จะยังแก้ไม่หมด  แต่แก้ได้น่าจะแน่นอน
ที่สำคัญคือคนอยากรวยว่า IT คือธุรกิจผู้ชนะ  และ SIS น่าจะชนะตามไปด้วย



ฟันธงแบบไม่กลัวเงิบว่า SIS EPSไม่น่าจะต่ำกว่า 1.1 บาท  เอาแบบไม่ conservative คิดว่าจะได้ยอดขาย 24,000m และ EPS 1.36 บาท ครับผม



หมดปีมาดูกันเช่นเคย  หุหุ

วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ความลับแห่งกาลเวลา คำตอบว่าทำไมถึงรวย ???

มีคนเคยบอกว่า  "เวลาเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด"  เพราะมันมีจำกัด

อันนี้คงดูเป็นคำคมคำนึงที่บาดใจใช้ได้



แต่ในแง่ของการเงิน  เวลาเป็นสิ่งที่มีค่ามากเช่นกันครับ  ถึงกับมีการบัญญัติศัพท์ว่า time value หรือมูลค่าของเวลากันเลยทีเดียว

แล้วทำไมเวลาถึงมีค่า  มีค่ายังงัย ????


คนอยากรวยก็เคยสงสัยครับ  และพบว่าสิ่งนี้แหละที่ทำให้เกิดคนรวย



สิ่งที่ทำให้เวลามีค่าได้คือ "ผลตอบแทนทบต้น"ครับ  มันเป็นเรื่องง่ายๆที่เคยเรียนมาในชั้นประถม  แต่เชื่อเถอะว่าในโลกแห่งความเป็นจริงถ้าใครไม่ได้เล่นหุ้นหรืออยู่กับธนาคาร  จะไม่เข้าใจถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของเวลาครับ !!!



มาลองดูตัวอย่างที่ปิดบังสายตาเราเอาไว้กันครับ
ตอนเด็กๆถ้าเรายังจำกันได้  อาจารย์จะสอนว่า  ถ้าเรามีเงิน 100 บาท  เอาไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 3%
หมดปีที่ 1 เราจะมีเงิน 103 บาท
หมดปีที่ 2 เราจะมีเงิน 106.9 บาท
หมดปีที่....................

แต่ในชีวิตจริง  เรากลับมองว่า  เรามีเงิน 1ล้านบาท  ฝากธนาคารได้ดอกเบี้ยปีละ 3%  แปลว่าเรามีเงินใช้ปีละ 30,000 บาทแทน  เราไม่ได้พยายามให้มันทบต้นออกมา  แต่กลับดูว่าธนาคารจะให้ดอกเบี้ยเพื่อให้เราใช้ปีนึงเท่าไหร่(หรือจริงๆคิดแล้วมันไม่มากมากกว่า)



หรือเราอาจจะคิดว่า  เราลงทุน 1ล้าน  ได้เงินปีละ 2 แสน  ถ้าทำ 5 ปีก็คืนทุน  จากนั้นก็มีเงินเก็บปีละ 2 แสน  เก็บ 10 ปีก็ได้ 2 ล้าน

นี่คือที่คนเราคิดกันครับ



แล้วดอกเบี้ยทบต้นมันมีอะไรที่มากกว่านี้ไหม  จริงๆก็ไม่มีหรอกครับ  แต่เราไม่เคยคำนวนดูว่า  จริงๆถ้าเราใช้อัตราทบต้น 10% หรือ 20%, 30% ผลที่ออกมาจะเป็นอย่างไร

ถ้าเราสามารถสร้างผลตอบแทนปีละ 30% ได้  เงินเราจะเป็น 2 เท่า(กว่าๆ)ในทุกๆ 3 ปี  หรือได้ถึง 10 เท่าในทุกๆ 10 ปี
น่าสนใจไหมล่ะครับ  ถ้าเรามีเงิน 1ล้าน  แล้วสามารถหาผลตอบแทนได้ 30% ต่อปี  อีก 30 ปีข้างหน้าเราจะมี 1,000ล้าน(โดยไม่ต้องเติมเงินเข้าไปแม้แต่บาทเดียว)

หรือถ้าได้น้อยหน่อย  ได้ 15% ต่อปี  ผ่านไป 50 ปีก็มีพันล้านได้เหมือนกันครับ

น่าสนใจไหมครับ  ผลตอบแทนทบต้นเนี่ย ^^



มีโจ๊กเรื่องนึงเกี่ยวกับผลตอบแทนทบต้นของฝรั่งครับ

เป็นเรื่องในปี 1626 เมื่อผู้อพยพจ่ายตังซื้อเกาะแมนฮัตตันจากอินเดียนแดงท้องถิ่นด้วยอัญมณีและเครื่องประดับที่มีมูลค่าเพียง 24 เหรียญเท่านั้น  จากนั้นตำนานนี้ก็ล้อถึงความโง่ระดับ 10 ของชาวอินเดียนแดงครับ
แต่แล้วก็เอามีคนหัวใสเอาเรื่องผลตอบแทนทบต้นมาบอกว่า  รู้ไหมว่า  ถ้าสมมติชาวอินเดียนแดงคนนั้น  เอาเครื่องประดับทั้งหมดไปขาย  แล้วเอาเงิน 24 เหรียญไปสร้างผลตอบแทนแค่ 8% เป็นเวลาสัก 362 ปี  ตอนนี้ลูกหลานของเค้าจะมีเงินเท่าไหร่ ???

ลองเดาเล่นๆดูครับ

คำตอบคือประมาณ 30ล้านล้านเหรียญครับ !!!

และบอกอีกว่าเกาะแมนฮัตตันมีค่าตอนนี้ราวๆ 28,000ล้านเหรียญ  ก็คือลูกหลานเค้าสามารถซื้อเกาะอย่างนี้ได้เป็นร้อยๆเกาะเลยครับ
หรือต่อให้ชาวอินเดียนแดงเก่งน้อยกว่านั้น  ได้ดอกเบี้ยแค่ 6% ผ่านไป 362 ปีก็จะมีเงินถึง 35,000ล้านเหรียญเหมือนกันครับ

ที่ยกเอามาเล่าไม่ได้ต้องการแก้ต่างแทนชาวอินเดียนแดง  และผมคิดว่าชาวอินเดียนแดงก็โง่จริงๆนั่นแหละ  และไม่คิดด้วยว่าเค้าจะเอาเงินไปหาผลตอบแทนแบบทบต้นด้วย

แต่ต้องการจะให้ดูพลังของผลตอบแทนทบต้น  แน่นอนว่าวันนี้เราคงไม่ได้มีเงินกันแค่ 24 เหรียญ  ก็อาจไม่ต้องใช้เวลานานขนาด 362 ปี  และเราคงไม่ได้หวังผลตอบแทนแค่ 8% ต่อปีเป็นแน่ครับ


นี่แหละครับพลังของผลตอบแทนทบต้น

แม้แต่ไอสไตน์ยังบอกเลยว่า  "ผลตอบแทนทบต้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์ลำดับที่ 8 ของโลก" !!!



ดังนั้นเวลามีค่าครับ  ถ้าเราปล่อยให้เวลาผ่านไปเฉยๆโดยเงินเราไม่เพิ่มมูลค่า  นั่นคือเราไม่ได้ใช้พลังของเวลาให้เต็มที่ครับ


นี่ก็คือคำตอบของคนรวยว่า  ทำไมเค้าถึงให้เงินอยู่นิ่งๆไม่ได้  เค้าต้องลงทุนอยู่ตลอดเวลา  เพราะเค้ารู้มูลค่าของเวลาว่าจะทำให้เงินเค้างอกมาได้



สรุปออกมาสั้นๆเลยนะครับ  อยากรวยต้องลงทุนครับ !!!


นอกจากจะเป็นการใช้เวลาให้เงินงอกแล้ว  ปัจจุบันยังมีสิ่งที่เรียกว่าเงินเฟ้ออีกต่ะหาก
ตอนเรียนเศรษฐศาสตร์เราคงจะเคยได้ยินคำว่าเงินเฟ้อ  หรือ inflation ใช่ไหมครับ  แต่คงจะงงๆ
ขอสรุปง่ายๆว่า  เงินเฟ้อคือการที่เงินในระบบมีมาก  ทำให้มูลค่าของเงิน"ลดลง"ครับ  ปกติเงินจะเฟ้อราวๆ 3% ทุกปีอยู่แล้วครับ

อาจจะยังงงๆสำหรับบางคนที่ไม่ค่อยรู้เรื่องเงิน
สมมติง่ายๆก็เช่น  ตอนเด็กๆก๋วยเตี๋ยวจานละ 5 บาทก็ซื้อได้  มาตอนนี้ราคา 20-30 บาทแล้ว  บางร้าน 40 ก็มี  ซึ่งนี่แหละเงินเฟ้อ  ของทุกอย่างราคาแพงขึ้น
ตอน 40 ปีที่แล้ว  ใครมี 1ล้านอาจจะรวยมาก  แต่ตอนนี้ก็เฉยๆครับ  ก็ถือว่ามีเงินอยู่บ้าง  เพราะอำนาจของเงินลดลง


นี่ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนรวยต้องลงทันครับ  เพื่อปกป้องมูลค่าเงินของเค้า  หากเงินเค้าเท่าเดิม  มูลค่าการซื้อของเค้าจะลดลง



คนรวยไม่ใช่ทั้งหมดต้องโลภมากไม่เคยพอ  แต่เค้าพอไม่ได้  เพื่อปกป้องเงินของเค้า  และการมีเครื่องจักรผลิตเงินอยู่ตรงหน้า  ใครจะไม่กดล่ะครับ  แต่สำหรับคนชั้นกลางและคนจนส่วนมาก  ไม่ได้รู้หรอกว่าเงินถูกกัดกร่อนเข้าไปทุกวัน  แถมมีเครื่องกดเงินอยู่คือเวลาอยู่ด้วย  แต่กลับไม่เคยใช้เลยครับ !!!!




คนอยากรวยเชื่อว่าถ้าเข้าใจ 2 เรื่องนี้(ที่โรงเรียนไม่เคยสอน)  จะเข้าใกล้ความรวยเข้าไปอีกขั้นครับ




พอมีความรู้ 2 เรื่องนี้  ก็สามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้อีกบานเลยครับ  ซึ่งโรงเรียนก็ไม่เคยสอนอีกแล้ว = ="

เรื่องนี้ง่ายมากๆ  เช่น  มีคนจะให้เงินคุณ 1 ล้าน  แต่ให้เลือกระหว่างให้ปีนี้  กับให้ปีหน้าคุณจะเลือกอะไร


ถ้าเข้าใจเรื่องผลตอบแทนทบต้น  น่าจะได้คำตอบนะครับ


คำตอบคือเอาปีนี้ครับ  ไม่ใช่คำตอบว่าอะไรก็ได้ครับ  เพราะเอาเงินปีนี้  อย่างทุเรศๆก็เอาไปฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 2-3%  อย่างน้อยก็ได้เงิน 1,030,000 บาทครับ

ดังนั้นคนอยากรวยต้องตอบว่า  เอา 1 ล้านมาปีนี้  ไม่งั้นปีหน้าเอามา 1ล้าน3 หมื่น


โลภไหมล่ะครับ ???
แต่ในความเป็นจริงมันก็โหดร้ายเช่นนี้ล่ะครับ

ดังนั้นการยืมเงินต้องให้ดอกเบี้ย  เพราะคนให้เงิน"เสียโอกาส"ไปลงทุนครับ


สิ่งนี้เค้าเรียกกันว่า time value of money หรือค่าของเงินตามเวลาครับ


เริ่มเห็นภาพใช่ไหมครับ


งั้นมาดูกันต่อเลย
คนทั่วไปชอบให้ลูกเรียนสูงๆ  จบมาทำงานดีๆ  แต่เคยสังเกตไหมครับว่าปริญญาตรีหรือปริญญาโทเงินเดือนมันแช่ที่เท่านี้มากี่ปีแล้ว  ในขณะที่ของขึ้นราคาเอาๆ

คนอยากรวยไม่ได้เก็บสถิติละเอียด  แต่ที่แน่ๆเงินเดือนไม่ได้ขึ้นหลายๆ % แน่นอนครับ  อย่าง 20-30 ปีที่แล้วเงินเดือน 10,000 บาท  ผ่านมาถึงปัจจุบันเงินเดือนไม่ได้ขึ้นไป 3-4 เท่าอย่างราคาข้าวของแน่ๆครับ

ความเชื่อว่าทำงานดีๆ  เงินเดื่อนสูงๆ  เก็บออม  อาจจะไม่พอถ้าไม่รู้จักลงทุนครับ


ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว  ยอมรับเสียเถอะ

เก็บออมอย่างเดียวมีแต่เหนื่อยครับ  พอเหนื่อยมากๆก็ตีโพยตีพายว่าคนรวยเอาเปรียบ  ไม่ทำงานก็มีเงินกิน 
จะโวยทำไมล่ะครับ  เวลาก็มีเท่ากันแต่ไม่ใช้กันเอง ????




บ่นมากเดี๋ยวก็มีคนไม่เห็นด้วย  มาต่อที่เรื่องหุ้นดีกว่า  แล้ว time value of money เกี่ยวข้องกันไหม ???

เกี่ยวแน่นอนครับ  บอกแล้วว่าพื้นฐานของสิ่งนี้ประยุกต์ได้จนมันมือไปหมด

ถ้าใครเคยศึกษาแนว VI หรืออ่านเกี่ยวกับบัฟเฟตคงจะเคยได้ยินคำว่า DCF หรือ discount cash flow มาบ้าง
แปลเป็นไทยแบบงงๆและไม่น่าแปลเลยว่า "กระแสเงินสดคิดลด"  ยิ่งแปลยิ่งงงไปใหญ่เนอะ ^^


DCF เป็นหนึ่งในวิธีการที่บัฟเฟตชอบใช้  เพราะเป็นการหามูลค่าที่แท้จริงของกิจการได้แม่นยำมากๆ
บทความนี้เริ่มยาวละ  มาดูกันก่อนดีกว่า


คนอยากรวยย้ำเสมอๆๆๆๆๆว่า  อัตราส่วนหรือสูตรอะไรให้เข้าใจแบบพ่อค้า  อย่าไปจำแบบนักบัญชี  เดี๋ยวจะเจ๊งหมด  เพราะมีก็ใช้ไม่เป็น  ไม่รู้ข้อดีข้อเสียหรือข้อจำกัด  ถ้าเราเข้าใจจะเอาไปพลิกแพลงยังงัยก็ได้
ขออธิบายความสำคัญของกระแสเงินสดกันก่อน  กระแสเงินสดที่ใช้หลักๆจะมี 2 ตัวคือ OCF ย่อมาจาก operation cash flow และ FCF หรือ free cash flow

OCF คือกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน  เช่น  เปิดร้านกาแฟ 1ร้าน  ปลายปีมีเงินสดเหลือ 300,000 บาท  ก็นั่นแหละคือ OCF จะบอกว่าเป็นกำไรแบบพ่อค้าก็พอได้
แต่ถ้าจะดูจากงบการเงินตรงนี้หลักๆจะเกิดจากกำไรบวกกับด้วยค่าเสื่อมต่างๆ  และดูว่าลูกหนี้การค้าจ่ายเงินหรือเปล่า  เพราะถ้ากำไรมากๆ  แต่จริงๆไม่มีเงินสดเข้าก็ลำบากกันแล้ว  จะทวงได้ครบตามที่ลงไว้หรือเปล่าก็ไม่รู้
สาเหตุที่ต้องดู OCF เพื่อจะดูว่าสัมพันธ์กับกำไรไหม  ถ้า OCF นิดเดียว(คือเงินในมือไม่มาก)  แต่กำไรออกมาบานเลย  อันนี้ต้องเริ่มคิดแล้วว่า  เอ๊ะ!!! มีอะไรผิดหรือเปล่า  เพราะถ้าเราเป็นเจ้าของบริษัทคงอยากจับเงินสดๆมากกว่าเขียนกำไรในบัญชีเยอะๆแต่ไม่มีเงินใช่ไหมครับ ???  พูดให้ดูหรูๆก็คือดู"คุณภาพของกำไร"นั่นเอง


ส่วน FCF คือเอา OCF หักออกด้วยค่าใช้จ่ายปีต่อไป  หรือพูดให้หรูหน่อยก็คือลบด้วย capital expenditures(CAPEX) และ changes in working capital(CWC)
สูตรและศัพท์อาจจะดูงงๆ  แต่จริงๆไม่ยากเลย  คือร้านกาแฟเดิม  ต้องแต่งร้ายใหม่  ใช้เงิน 20,000บาท  ตรงนี้ก็คือ CAPEX หรือซื้อพวกสินทรัพย์ถาวร  และต้องซื้อเม็ดกาแฟใหม่มาทำปีหน้าอีก 30,000บาท  ตรงนี้ก็คือ CWC คือพวกสินทรัพย์หมุนเวียน
ทำให้ FCF ต้องเอา OCF มาหักออกจากค่าใช้จ่ายทั้ง 2 อย่าง

อันนี้คิดตามพ่อค้าแม่ค้าก็เข้าใจได้ครับ  ที่ต้องหักเพราะไม่งั้นปีหน้าไม่รู้จะขายอะไร  OCF อาจจะได้มาเยอะ  แต่ถ้าต้องเอามาลงทุนต่อเยอะกำไรจริงๆก็นิดเดียว  เช่นกำไร 300,000 บาท  แต่ต้องซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อแข่งขันทุกปี 400,000 บาท  อย่างนี้จะเอาเงินมาจากไหน  เอากำไรยังงัย
ดังนั้นดูบริษัทก็ต้องดู FCF ด้วย  ถ้าเกิดว่ากำไรเยอะ OCF เยอะ  แต่ต้องลงทุนเพิ่มเพื่อให้ปีต่อไปธุรกิจดำเนินไปได้เยอะด้วย  กำไรหรือเงินสดในมือจริงๆก็คงเหลือไม่มาก  ยังงี้ไม่ดีแน่นอน  อย่างน้อย FCF ก็ควรจะเป็นบวก(แต่ FCF ไม่เท่ากับเงินสดในมือของงบนะครับ)


จุดตายคือ  อย่าพยายามเอา financial cash flow มารวมด้วยครับ
แน่ะ!!! มีศัพท์ใหม่อีกแล้ว  ตัวนี้เดาง่ายครับ  คือกระแสเงินสดที่กู้ยืมมานั่นเอง  เพราะถ้าเอามารวมด้วยยังงัยมันก็เป็นบวกครับ  เช่นมีกำไร 300,000บาท  แต่ต้องซื้อเครื่องจักร 400,000บาท  ก็เลยกู้มาซะเลย 500,000 บาท  สรุป FCF 400,000 บาท  อย่างนี้คงไม่ดีแน่ๆใช่ไหมครับ  เพราะจริงๆไม่มีเงิน  แต่ไปกู้มาได้ยังงัยก็ทำให้มันดีขึ้นได้ครับ(ถ้ากู้แล้วยังติดลบอีกก็เห้อออออออออออออออ)


จริงๆชนิดของ cash flow มีมากกว่านี้  แต่ยกเฉพาะที่จำเป็นมาให้ดูครับ  อย่าลืมนะครับ  เข้าใจแบบพ่อค้า  อย่าอ่านแบบนักบัญชีครับ(พูดคำนี้บ่อยๆจะเจอเด็กบัญชีด่าไหมเนี่ย)



ถึงไหนแล้วหว่า

อ้อ DCF ว่ามันคิดลดจาก FCF จากเหตุผลดังกล่าว


ทีนี้สมมติต่อว่า  ร้านกาแฟสามารถทำเงินได้ 1ล้านบาทเป็นเวลา 5 ปี  และจะปิดกิจการ  เราควรจะซื้อที่เท่าไหร่ดี ????

อันนี้โจทย์ไม่สมบูรณ์ครับ  เพราะจริงๆต้องบอกผลตอบแทนที่เราอยากได้ด้วย  แต่คนอยากรวยจงใจให้ไม่สมบูรณ์  เพราะมีอะไรให้เล่นอีกเยอะเลย
ทีนี้สมมติว่าคนอยากรวยอยากได้ผลตอบแทนสัก 10% ต่อปีนะครับ  พูดแบบแปลกๆว่า  เงินส่วนนี้ถ้าชั้นไม่ซื้อร้านแกก็มีปัญญาไปลงทุนอย่างอื่นได้ผลตอบแทน 10% เหมือนกันย่ะ

ทีนี้เรามากันทีละปีนะครับ

ปีแรก เงิน 1 ล้านก็เท่ากับ 1ล้านครับ

ปีที่ 2 เงิน 1 ล้านจะไม่เท่ากับ 1ล้านบาทแล้ว  จะน้อยกว่า 1 ล้าน  เพราะมูลค่าลดลงตามกาลเวลา  จะเหลือเท่าไหร่คิดออกไหมครับ  จะเหลือแค่ 1ล้าน/1+10%
ตรงนี้งงไหมครับ  เพราะจากตัวอย่างข้างบนๆ(ลองหาดูนะ)  บอกว่า"ถ้าเอาเงิน 1 ล้านมาให้ชั้นปีหน้า  ชั้นไม่เอา  จะเอาก็ต้อง 1ล้าน1แสน  เพราะชั้นหาสามารถเอาเงินไปหาผลตอบแทนได้ 10% ย่ะ"
แต่ทีนี้เรากลับกันว่า  ถ้าเธอหาผลตอบแทนได้ 10% ต่อปี  ปีหน้าเธอได้ 1ล้าน  แปลว่าปีนี้เธอได้เท่าไหร่
เทียบบัญญัติไตรยางค์กลับดูนะครับ  ไม่งั้นลองถามอาจารย์คณิตศาสตร์ดูแล้วกัน(ไม่ใช่คาบเลขนะคร๊าบบบบบบบบบบ)

ปีที่ 3 เงิน 1ล้าน  ก็ไม่เท่ากับ 1 ล้านอีกแล้วครับ  จะน้อยกว่า 1 ล้านและน้อยกว่าปีที่ 2 อีกด้วย  จะเหลือแค่ 1ล้าน/(1+10%)^2 ครับ
งงไหมเอ่ย  ถ้างงลองอ่านปีที่ 2 อีกทีดูนะครับ  เหมือนกันเลยแค่เปลี่ยนตัวเลข

ปีที่ 4 ถ้าเข้าใจแล้วลองดูสิว่าเงิน 1 ล้านจะมีค่าเท่าไหร่  ตั้งสมการกันได้ไหมครับ  ก็คือ 1ล้าน/(1+10%)^3 ครับ  เหตุผลลองย้อนกลับไปอ่านข้างบนดูเหมือนเดิมแล้วค่อยๆทำความเข้าใจนะครับ

ปีที่ 5 ลองคิดเองเลยครับ  ไม่เฉลยด้วยเอ้า ^^


แปลว่าถ้าเราอยากได้ผลตอบแทน 10%  เราจะต้องจ่ายเงินทั้งหมด=  1ล้าน +  1ล้าน/1+10% + (1+10%)^2 + (1+10%)^3 +ปีที่ 5(ไม่เฉลยนะครับ  อิอิ)

เห็นไหมครับว่าสูตรที่ยากๆ  พอเราเข้าใจมันก็ไม่ได้ยากพิสดารแบบนั้น


แล้วทีนี้คำถามตามมาคือ  เราจะ discount rate เท่าไหร่ดีล่ะ  ถ้าผมอยากได้ผลตอบแทนจากหุ้น 30% ก็ discount ไป 30% เลยดีไหม
โอ  ไม่ดีแน่ๆครับ  ราคานั้นคงไม่มีใครยอมขายให้

ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนจากหุ้น 30% เราต้องหาหุ้นที่ undervalue สัก 30% นะครับ  ไม่ใช่ discount 30%  แต่ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนจากกิจการ 30%(ถ้าเราไปซื้อกิจการ)  discount 30% ได้ครับ


จริงๆการ discount มันจะมีสูตรอยู่  โดยใช้งบดุลระหว่าง %หนี้และทุนมาคิด  หรือที่เรียกว่า WACC
ยังงัยลองหาอ่านเพิ่มเติมดูนะครับ  รู้สึกบทความนี้ชักยาว  เดี๋ยวไม่จบสักที 555+


การ discount แบบง่ายๆเลยคือ  ปกติจะใช้ที่ 10% ครับ  แต่ถ้าบริษัทไหนเสี่ยงกว่านั้นจะใช้ discount ให้สูงขึ้นราวๆ 12%(เพราะยิ่ง discount มากแปลว่ามูลค่ากิจการจะน้อยลงหรือหุ้นถูกลงนั่นเอง)  ที่เราต้อง discount เยอะๆเพราะเราเสี่ยงมากขึ้น  เราเลยต้องต่อหน่อย  เหมือนซื้อมือถือที่ร้านตู้กับศูนย์นั่นแหละครับ  ราคาเท่ากันไปซื้อเครื่องศูนย์ดีกว่า  ถ้าร้านตู้อยากขายก็มีโอกาสโดนย้อมแมว  ดังนั้นมันต้องลดให้อีกหน่อย  แต่ถ้าบริษัทไหนแข็งแกร่งมากๆ  ไม่เสี่ยงเลย  รายได้มาแน่ๆ  เช่น CPALL, PTT, ADVANC พวกนี้เราอาจจะ discount แค่ 8% ครับ
ตรงนี้ยอมรับว่าค่อนข้างจะ controversy หรือแล้วแต่คนจะลดครับ  ปกติไม่คิดอะไรมากก็ 10% ไปครับ  หรือจะลอง WACC ก็ได้ครับ  มันจะออกมาราวๆนี้แหละ


ประเด็นต่อมาก็คือ  คิดลดไปกี่ปีดี  เพราะนอกจากยิ่งหลายปียิ่งมีโอกาสผิดมากแล้ว  ยิ่งคิดหลายปีเราจะได้ราคาหุ้นสูงๆอีกด้วยครับ  เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่งของต่างประเทศบอกให้ใช้ 5-7 ปีครับ  เพราะ 10 ปียาวไป  น้อยกว่านั้นสั้นไปเพราะคงไม่มีใครขายราคานี้ให้
แต่ถามอาจารย์  อาจารย์บอกว่าใช้ 10 ปี  หรือคิดลด 5 ปีคูณ 2 ครับ

ประเด็นนี้คนอยากรวยก็ยังงงๆอยู่นะครับ  แต่ปกติไม่ค่อยชอบ DCF ถึง 10 ปีเพราะนานไปครับ  อยู่ที่ราวๆ 7-8 ปีมากกว่าครับ  อันนี้ก็ฟังหูไว้หูแล้วลองคิดดูกันเอานะครับ  เชื่ออย่างไรก็ทำอย่างนั้น  เพราะที่ถูกจริงๆ  ยังไม่มีครับ



แต่มีอีกเรื่องนึงที่น่าสนใจคือ  ร้านกาแฟเดิม  บอกว่าเปิดได้ 10 ปีนะ  ได้ FCF ปีละ 1ล้าน(แน่ะ  ร้านกาแฟรู้จัก FCF ด้วย)  อยากได้จ่ายมา 7 ล้าน  เอาป่าว ???
ทีนี้แหละครับ  กลายเป็นมีราคาตั้งมาให้  ขาดแต่ตัว discount rate หรือในแง่ซื้อกิจการคือ % ผลตอบแทน  หรือชื่อหรูๆอีกอันนึงว่า IRR(internal rate of return)  คล้ายๆเรื่อง DCF เลยครับ  แต่อ่านที่อื่นเค้าจะเขียนแยกกันนะ  กลัวเรารู้ว่าเรื่องเดียวกัน
ทีนี้ก็แค่ตั้งสมการ DCF นั่นแหละครับ  แต่เปลี่ยนตัวแปรนิดหน่อย  โดยให้ 1ล้าน/1+X% ครับ  ดูว่าออกมาได้กี่ % และเรายอมรับได้ไหมกับผลตอบแทนนั้น  สมมติออกมา 5% พอใจไหม 10% ล่ะ  หรือ 20%

ตรงนี้ขี้เกียจคำนวนให้นะครับ  รีบไปนอนเก็บแรงดูนัดชิง UCL ดีกว่า  จริงๆเพราะเลขมันเยอะ  ปวดหัว 555+



แต่ถ้าทางบัญชีจะมีประมาณว่า  จ่าย 7 ล้าน  ร้านกาแฟเปิดได้ 10 ปี ได้ปีละ 1 ล้าน  อยากได้ผลตอบแทน 8%  คุ้มไหม  ประมาณนี้อ่ะครับ  ก็พลิกแพลงกันไป  ตรงนี้มาเล่าสู่กันฟังเฉยๆ  ไม่ได้ต้องการให้คิดเยอะถึงขนาดนั้นครับ




จากบทความนี้คงพอจะเข้าใจบ้างนะครับว่าทำไมคนรวยถึงรวยขึ้น  และทำไมเราถึงไม่รวยสักที  เพราะเค้าใช้"เวลา"ให้เกิดประโยชน์น่ะสิครับ

และจากเรื่องผลตอบแทนทบต้นก็ประยุกต์ไปต่อที่ DCF ได้  จะเห็นว่าสิ่งต่างๆมันก็มาจากที่เราเคยคิดกันนั่นล่ะครับ  ไม่ได้วิจิตรพิสดารอะไรเลย  ไว้ถ้าว่างๆจะแฉ P/E และ P/BV ให้ดูว่าจริงๆเราทุกคนคิดได้ครับ  ขนาดสูตรบ้าๆอย่าง DCF ยังอยู่ในพ่อค้าแม่ค้าได้เลย  แล้วทำไมสูตรง่ายๆอย่าง P/E หรือ P/BV จะคิดกันเองทุกคนไม่ได้ครับ  จริงไหม ???



ดังนั้นนอกจากเราจะต้องลงทุนแล้ว  ยังจะต้องลงทุนให้เร็วที่สุดด้วยครับ  เพราะเวลาจะทำให้ผลตอบแทนเรามหาศาล  คนที่ลงทุนตั้งแต่ม.ปลาย  อาจจะทำผลตอบแทนได้มหาศาลจนจบมหาลัยอาจจะไม่ต้องทำงาน FT เลยก็ได้นะครับ(สำหรับคนที่ขี้เกียจทำงานประจำ)
และสำหรับคนแก่  อย่าท้อครับ  ตำนานคนที่ลงทุนตอนแก่  แต่รวยมีมาแล้วครับ  คือแอนน์ ไชเบอร์  ขอเล่าสั้นๆนะครับ  ถ้าสนใจลองไปอ่านประวัติแกเพิ่มเติมดู

แอนน์เป็นเสมียนครับ  เงินแกเดือนน้อยมากๆๆๆๆคือประมาณปีละ 3,000 เหรียญ  หรือเดือนละไม่เกิน 10,000บาท !!!  ความรู้ก็เสมียนอ่ะครับ(ไม่ได้ดูถูกนะ  ก็ว่าไปตามจริงครับ)  ตอน 38 ปีเธอเอาเก็บทั้งหมดให้น้องชายที่เป็นโบรกเกอร์เล่นครับ  ปรากฏว่าเจ๊งครับ 555+  โห  เงินทั้งชีวิต  เจ๊งหมดเลย TT^TT
ต่อมาอีก 12 ปี  เธอเก็บเงินทั้งชีวิตอีกได้แค่ 5,000 เหรียญหรือราวๆ 200,000 บาทไทยเทียบเวลากันครับ(คิดดูสิ 10 กว่าปีได้แค่ 2แสน  เงินเธอน้อยจริงๆนะ)  โดยใช้หลักจะเรียก VI ก็ได้ครับ  ลงทุนไปได้ปันผลก็เอามาลงทุนต่อ  เก็บเงินจากงานก็มาลงทุนต่อ
คิดดูนะครับว่าคนแก่อายุ 50 ปี  ลงทุนเริ่มต้น 200,000 บาท  เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท  สุดท้ายจะได้เงินกี่บาท
จนวันสุดท้ายของชีวิต  แอนน์เสียชีวิตตอนอายุ 101 ปี  มีเงินทั้งหมด 20 ล้านเหรียญหรือราวๆ 800ล้านบาทครับ !!!
ผลตอบแทนทบต้นระดับปรมาจารย์ถึง 20% ต่อปี  แต่เธอไม่ได้จบการเงิน  ไม่ได้เกิดมาบนกลีบกุหลาบ  เธอเป็นแค่เสมียนและลงทุนตอนอายุ 50 ปี


เอาล่ะสิครับ  แล้วเราที่เงินเดือนมากกว่า 10,000 บาท  อยากรวยทำยังงัยดีครับ  ซื้อหวยใช้ buy and pray หรือจะลงทุนแบบแอนน์ครับ  ผมเชื่อว่าหลายๆคนมีเงินเยอะกว่าแอนน์ตอนเริ่มต้น  มีอายุน้อยกว่าแอนน์ตอนเริ่มต้นเสียอีก
อยากรวยแบบคนอยากรวยและแอนน์ไหมครับ(แต่เงินคนอยากรวยยังไม่ได้เศษเล็บตีนของเงินแอนน์เลยนะครับ 555+)


ไหนๆก็โม้มาเยอะแล้ว  ขออีกนิดว่า  ใครว่าคนรวยขี้เหนียว  งกและใจดำบ้างครับ
คนอยากรวยก้เคยคิดอย่างนั้น  จนเวลาผ่านไปทำให้รู้ว่าทุกสังคมมีหลายอย่างปะปนกันไปครับ  คนจนขี้งกก็มี  คนอยากรวยใจบุญก็มีครับ(แต่คนรวยขี้งก  และคนจนใจบุญก็มีเช่นกันนะ)

สุดท้ายเงินกว่า 800 ล้านบาทของแอนน์  ก็บริจาคให้มหาลัยทั้งหมดครับ
บัฟเฟตบอกว่า  ถ้าเค้าตาย  เงิน 99%จะบริจาคให้การกุศลทั้งหมด  หรือราวๆ 1ล้านล้านบาทเลยครับ
บิล เกตต์เคยบริจาคทรัพย์สิน 50% ให้การกุศล  ทำให้ตอนนี้เสียอันดับ 1 คนที่รวยที่สุดในโลกให้กับเศรษฐีชาวเม็กซิโกไปแล้วครับ
ไหนจะคุณตันอีกล่ะ

คนรวยๆมากๆพอรวยเค้าก็กลับมาทำ CSR ให้สังคม  ตอบแทนสังคมทั้งนั้นครับ  ขนาดคนที่คนไทยตราหน้าว่าเป็นคนทำเศรษฐกิจไทยพังอย่างโซรอสก็มีมูลนิธิของเค้าเองเช่นกัน(จริงๆไม่มีโซรอสก็พังอยู่ดีแหละ   อวดเก่งดีนักพี่ไทย)  แล้วเราล่ะครับ  ถ้าเราไปถึงขนาดนั้นจะทำเพื่อสังคมได้ขนาดคนที่เราตราหน้าเค้าว่าเป็นคนงกหรือเปล่า ???



บ่นมาตั้งนานสรุปว่า  พลังของผลตอบแทนทบต้นและ time value of money ทำให้เราต้องเริ่มลงทุนกันตั้งแต่วันนี้ครับ  เดี๋ยวนี้ครับ  จะกี่บาทไม่สำคัญ  ขอแค่มี"ความรู้"ก็พอ
บางคนบอกว่าเริ่มแค่ 10,000 พอไหม 50,000 ล่ะ หรือ 100,000 นึงล่ะเมื่อไหร่จะรวย  ถ้าแค่นั้นแล้วหวังเป็น 9 หลักไปนั่งเล่นเกมกดสูตรปั๊มเงินดีกว่านะครับ  คนที่ทำได้เค้าเติมเงินกันลงไปทีละเล็กนะน้อยกันทั้งนั้น
เริ่มอ่านหาความรู้  แล้วลงทุนได้แล้วครับ  หรือจะนั่งน้อยใจว่ารูปไม่หล่อแบบณเดชน์  พ่อไม่รวยแบบเจียรวนนท์  ก็ตามใจครับ


สิ่งหนึ่งที่นักลงทุนระดับอ.นิเวศน์  หรือแม้กระทั่งบัฟเฟตไม่มีคือเวลาในการลงทุนครับ   สำหรับคนหนุ่มสาวที่อายุ 20-30 ปี(หรือน้อยกว่านั้น)  เวลาในการลงทุนยาวนานมากจนเปลี่ยนฐานะกันได้เลย
เสมียนอย่างแอนน์  เด็กมหาลัยอย่างพี่ฮง  หรือวินมอไซด์อย่างพี่มี่  เค้าลงทุนจนตอนนี้ระดับ 8-9 หลักกันแล้วครับ

แล้วเราจะรออะไร  และเมื่อไหร่ครับ
คนอยากรวยขอนำไปก่อน 2 เดือนแล้วนะครับ  ใครอยากรวยตามมาครับ 555+

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เมื่อคนอยากรวยเลือกหุ้น OEM : SNC

ตามสัญญาว่าถ้าจะซื้อหุ้นอะไร  จะมาเขียนเล่าให้ฟังว่าเพราะอะไรถึงซื้อ
เผื่อผ่านไป  จะได้กลับมาดูว่าไอ้ที่ซื้อไปน่ะ  สมเหตุสมผลแค่ไหน 
(แต่ตัวอสังหาก็ยังไม่ได้ cut สักที -15% แล้ว  ถ้าเป็นของเพื่อนหรือของชาวบ้านคงบอกให้เค้า cut ไปแล้วล่ะ)


เข้าเรื่องดีกว่า  คนอยากรวยย้ำเสมอว่าการจะไปศึกษาธุรกิจอะไรจะต้องเจอศัพท์ใหม่ตลอดเวลา  ซึ่งเปิดหัวเรื่องมาก็เจอเลย  นั่นก็คือ OEM
สำหรับคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตหรือธุรกิจพวกนี้คงพอจะรู้ว่า OEM ย่อมาจาก original equipment manufacturer
ซึ่งศัพท์พวกนี้พวกนี้จะหมายถึงการรับจ้างผลิตและประกอบครับ  จะมี 3 ขั้นตามลำดับคือ OBM>ODM>OEM จะ add value ตามเครื่องหมายครับ(คือ OBM ดีสุดว่างั้นเหอะ)  โดยตัวย่อคือเปลี่ยนตรงกลางมาเป็น D=disign และ B=brand ครับ
มาดูแต่ละตัวกันครับ

- OEM คือรับจ้างปลิตและประกอบตาม order ลูกค้าครับ  เช่น  ประกอบแอร์  ประกอบรถ  ประกอบพัดลม ฯลฯ  งานกรรมกรมากๆ  margin บางเฉียบครับ 1-2% ก็หรูแล้ว
- ODM คือช่วยออกแบบด้วยครับ  คือเสือกไปถามลูกค้าเพิ่มว่า   ทำอย่างนี้ดีไหม  ลายนี้สวย  เอาอย่างนี้สิ  ก็เป็นการ add value ให้งานครับ
- OBM คือเพิ่มให้เป็นแบรนด์ของตัวเองเลยครับ  เช่น  หน้าจอจากบริษัท YK(yak-rauy)  เป็นการ add value ที่ดีที่สุดครับ


จบคำศัพท์บทที่ 1 แล้ว  มาดูที่ SNC กันครับ

SNC ตัวนี้เป็นหุ้น turnaround จาก subprime ด้วยราคาไม่ถึง 3 บาท  มาแตะที่ 30 บาทหรือวิ่งมา 10 เด้งในระดับเดียวกับ SPALI หรือ CPF !!!  เพียงแต่ประเด็นคือหลังจากมันรอดตายมาแล้ว  มันมาแปลงร่างเป็น growth stock น่ะสิครับ(ทำไมคนอยากรวยต้องมาสนใจหุ้นที่ขึ้นมา 10 เด้งด้วยล่ะเนี่ย 555+)


SNC เป็นธุรกิจ OEM นั่นแหละครับ  โดยเริ่มมาจากการรับจ้างประกอบแอร์  แค่ฟังดูก็ทุเรศทุรังแล้วใช่ไหมครับ  แต่ภายหลังก็มีการเพิ่มเติมมากขึ้น  โดยธุรกิจหลักๆของ SNC มี 4 อย่างครับคือ

1. OEM & ODM  เป็นรายได้หลักของ SNC มากกว่าครึ่งมาจากทางนี้ครับ  คือทำ OEM และพยายามขาย ODM ให้ลูกค้าด้วย  โดยผู้บริหารบอกว่าจะพยายามลดงานที่ขันน็อต  ขันสกรูที่ margin บางเฉียบลงไป  และพยามรับทำงาน"ต้นน้ำ"คืองานที่ให้เราผลิตสินค้าให้ด้วยครับ
โดยท่านเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆว่า  "ถ้ามาซื้อปลากับเราเราจะทอดให้ฟรีก็ได้  แต่ถ้าเอาปลามาให้ทอดจะไม่ทำแล้วครับ  หรือถ้ามาซื้อปลากับเราแล้วเอาไปทอดเองได้ก็วิเศษไปเลย"
ดูน่ากินใช่ไหมครับ  แต่แปลง่ายๆว่าถ้าซื้อวัตถุดิบจากเรา  หรือให้เราช่วย ODM เราจะช่วยทำ OEM ให้ก็ได้(จริงๆคงไม่ฟรีหรอกครับ  แต่อาจจะราคาถูกมากๆ)

ซึ่งตรงนี้ถ้าใครเคยศึกษาพวกสินค้า commodity มาก่อนอาจจะสงสัยเรื่องราคาวัตถุดิบ  ตรงนี้ SNC บอกว่าจะไม่มีการ stock วัตถุดิบครับ  คือผลักภาระตรงนี้ไปให้ลูกค้า  คือถ้าวัตถุดิบแพงก็คิดแพง  วัตถุดิบถูกก็คิดถูก  ทำให้ไม่มีปัญหาสินค้าราคาผันผวนครับ

ซึ่งรายได้หลักมาจากตรงนี้  แต่กำไรบางเฉียบครับ  เข้าใจว่าเพิ่ง break even(คุ้มทุน)มาได้แค่ 1-2 ปี  margin ตอนนี้ราวๆ 2-3% ครับ


2. PART คือผลิตชิ้นส่วนเครื่องทำความเย็นครับ  ซึ่งก็มีแอร์, compressor, โลหะแผ่นขึ้นรูป, ชิ้นส่วนพลาสติกและอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนครับ  มันจะมีกรรมวิธีการผลิตมากมาย  แต่คนอยากรวยก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่หรอกครับ เลยไม่รู้จะโม้ยังงัย
ซึ่งรายได้ตรงนี้จะประมาณ 30-40% ครับ  แต่ margin ดีมากคือ 8-10% ทำให้กำไรออกมามากกว่า OEM อีกครับ

ทั้ง PART และ OEM&ODM เนี่ยจะโตตามอุตสาหกรรมแอร์ครับ


3. AUTO หรือผลิตแอร์ในรถยนต์ครับ  ตัวนี้กรรมวิธีการผลิตคนอยากรวยก็ไม่ค่อยรู้เหมือนกันครับ  เอาเป็นว่าโตได้ตามอุตสาหกรรมยานยนต์เช่นกันครับ  ซึ่งแว่วมาว่าจะเริ่มขยายไปยังมอร์ไซด์ด้วยครับ
margin ตรงนี้เยอะถึง 15% เลยครับ  แต่รายได้ค่อนข้างน้อยคือราวๆ 10% ครับ


4. OTHER หรือแปลว่าอื่นๆซึ่งหลักก็คือรับจ้างทำชิ้นส่วนเครื่องซักผ้า  และคงมีอะไรก็ไม่รู้มาอีกนิดๆหน่อยๆครับ  ซึ่งรายได้และกำไรตรงนี้ติ่งนึงมากๆ  ซึ่งเนื่องจากทำน้อยทำให้มีขาดทุนหรือกำไรนิดหน่อย  เอาแน่เอานอนไม่ได้ครับ


มาถึงตรงนี้คงมีคำถามแนวเย้ยหยันมากมาย  เป็นต้นว่าธุรกิจอย่างนี้มันจะเจริญได้ยังงัยวะ  มันน่าลงทุนตรงไหน  ไม่เจ๊งหรอวะ  คู่แข่งล่ะ


ตอบทีละข้อไปพร้อมๆกับเหตุผลที่ผมก็บ้าจี้ซื้อ SNC นะครับ

1. SNC ไม่มีคู่แข่งแบบเต็มรูปแบบนะครับ  คู่แข่งก็คือลูกค้านั่นเอง  เพราะบริษัทพวกนี้มันจะผลิตเอง  ประกอบเอง(ถ้าใหญ่พอ)  แต่ถ้ามีมารับทำให้ก็เอา  แต่ต้องราคา"ไม่แพงกว่า"เค้าทำเองครับ  คือขอแค่ราคาเท่าๆกันก็เพียงพอที่จะทำให้ลูกค้าโยนงานมาให้เราทำแล้วล่ะครับ  เพราะไม่ต้องเสียเวลาจ้างคน  ดูแลการผลิต  เอาเวลาไปนวดกระปู๋ดีกว่า
ถ้าจะมีคนมาแข่งก็ต้องทำให้ได้ดีกว่า  หรืออย่างน้อยก็พอๆกับ SNC  ซึ่งตอนนี้ SNC มี market cap อยู่ราวๆ 9,000m  การจะเข้ามาทำแข่งต้องทุนหนานิดนึงครับ  เพราะ SNC ทำได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงกลางน้ำ  คือผลิตและประกอบเลย  ซึ่งกว่า SNC จะมาถึงวันนี้ได้นอกจากเงินแล้วยังมี know how ที่ดีอีกด้วยครับ

แต่ถ้าคู่แข่งจิปาถะคือ SME ทั่วไปที่แข่งผลิตชิ้นส่วนบ้าง  รับจ้างประกอบบ้าง  อันนี้ก็พอมีครับ  แต่สเกลพลังคงคนละระดับ

กวาดสายตาทั่วแผ่นดิน  คู่แข่งคงมีแต่"ลูกค้า"นี่แหละครับ

แต่คำเตือนคือ  ระวังต่างประเทศนะครับ  เพราะผมไม่รู้ว่ามีบริษัทอย่าง SNC หรือเปล่า


2. มันจะโตยังงัย  ใครมันจะบ้าใช้แอร์เพิ่มขึ้นทุกปี ???
อันนี้ผมก็เคยสงสัยนะครับ  แต่จริงๆแอร์หลักๆเค้าผลิตเพื่อส่งออกด้วยครับ  การใช้ในประเทศไทยไม่ได้เพิ่มมากเท่าไหร่  แต่ผลิตเพื่อส่งออกครับ  โดยลูกค้าของ SNC ส่วนมากผลิตเพื่อส่งออกแถวเอเชียนี่แหละครับ(อาจจะมียุโรปบ้างส่วนน้อย)  ทำให้วิกฤตในยุโรปอาจจะไม่ได้ก่อปัญหาเท่าไหร่นัก
ส่วนการโตของอุตสาหกรรมแอร์คาดการณ์กันที่ปีละ 10%  และ SNC ก็พยายามจะโตไปพร้อมๆกับอุตสาหกรรม  และกิน marketshare จากลูกค้าให้ได้มากขึ้นครับ

ส่วนธุรกิจรถยนต์ก็เช่นกัน  เราพยายามโตไปพร้อมกับอุตสาหกรรม  ขนาดคนอยากรวยไม่ค่อยตามข่าวเศรษฐกิจยังพอรุ้เลยว่ามีหลายๆที่ย้ายแหล่งการผลิตรถยนต์มาไว้ที่เมืองไทยบ้างแล้ว  ถึงจะมีไม่ค่อยมาก  แต่แค่นี้ก็ยังพอมี room ให้ SNC เจาะตลาดรถยนต์อีกเยอะครับ

และจริงๆที่ฐานการผลิตรถและแอร์อยู่ที่เมืองไทย  คนอยากรวยอ้างตาม 56-1 ว่า SNC บอกว่าทองแดงจะทนความชื้นจากประเทศอื่นไม่ได้  พี่ไทยนี่แหละเจ๋งแล้ว  ส่วนประเทศจีนยังมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์, สาธารณูปโภคและอื่นๆอีกมาก  พี่ไทยก็ยังเจ๋งกว่า
สรุปว่าฟังหูไว้หู  แต่ตามข่าวดีๆนะครับ  ฐานการผลิตย้ายอาจจะมีผลต่อ SNC ค่อนข้างมาก
นอกจากนั้นยังต้องตามอุตสาหกรรมยานยนต์และแอร์  ซึ่งตอนนี้ก็เป็นที่ดีของทั้งคู่ครับ


อีกอย่างคือการเติบโตจากภายใน  หรือการเน้นงานต้นน้ำและ ODM มากขึ้นกว่า OEM ธรรมดาครับ  ทำให้สามารถเร่งจาก 4% เป็น 6% แค่นี้กำไรก็พุ่ง 50% แล้วครับ  ปีนี้คาดว่าน่าจะได้ 7.X% โดยที่รายได้อาจจะทรงๆตัว  แต่ผู้บริหารบอกว่าอยากได้สัก 2 digit อันนี้ก็ต้องดูกันนะครับ  จริงๆแค่ 7-8% คนอยากรวยก็ดีใจมากแล้วครับ  ถ้าได้ 2 digit จริง  จะขอบคุณ SNC อย่างสุดๆเลยครับ


แน่นอนว่าโตจากภายในมันจำกัด  เต็มที่ก็คงราวๆ 1X% เราจะไปหวังตลอดคงไม่ได้ครับ
แต่จากภายนอกที่เราลุ้นได้เลยคือ JV หรือ joint venture คือการร่วมทุนครับ  คือจะไปลงทุนร่วมกับบริษัทอื่นที่ทำให้ SNC ได้ know how หรือ technology เพื่อมาติดอาวุธให้ SNC เพิ่มครับ  และเป็นการเพิ่มรายได้และกำไรด้วย  แน่นอนว่าต้องมีลงทุนเพิ่ม  แต่ผู้บริหารบอกว่าจะไม่รบกวนกระเป๋าผู้ถือหุ้นนะครับ  อันนี้ก็ดูๆกันไปว่าจะรบกวนหรือเปล่า  ฮี่ๆ  ถ้าทำได้จริงๆ  รับรองหุ้นวิ่งอีกรอบครับ  เพราะรายได้เพิ่ม  กำไรเพิ่มอีก

ซึ่งที่ผ่านมา SNC มี payout ratio ที่สูงมากถึง 5-6% เพราะเครื่องจักรยังเดินกำลังผลิตไม่เต็ม capacity ทำให้ไม่ต้องลงทุนเพิ่มอีกสักพักครับ  แต่ถ้ามี JV ออกมาอาจจะทำให้ payout ratio ลดลง  แต่ในระยะยาว capital gain จะได้เยอะกว่านั้นแน่นอนครับ


3. ธรรมภิบาลผู้บริหาร  อันนี้ตอนศึกษาหุ้นใหม่ๆคนอยากรวยก็เห็นมีคนชอบบอกว่าต้องดูสิ่งนี้ด้วย  แล้วจะดูยังงัยฟระ  มันมีเขียนแปะไว้หรอว่าคนนี้ดี  คนนี้เลว  แต่พอเข้ามาสักพักคนอยากรวยก็ว่ามันก็เหมือนดูบอลนั่นแหละ  ดูไปดูมาเดี๋ยวก็เดานิสัยนักบอลได้  เช่น  รูนี่เป็นคนยังงัย  ขี้โม้หรือเปล่า  หรือเมสซี่นิสัยดีมั๊ย  กาก้าล่ะ  ถ้าเราคลุกคลีกับบริษัทนั้นสักพัก  เราจะมองออกกลายๆครับ
ผู้บริหาร SNC นั้นเป็นคนดีมาก  ท่านเคยบอกว่าจะพยายามปันผลมามากๆ  เพราะโอเคว่าท่านถือหุ้นใหญ่  เงินเยอะๆท่านชอบครับ  แต่ท่านก็เป็นห่วงคนติดดอยด้วยครับ  อย่างน้อยก็เลยพยายามปันผลเท่าที่จะปันได้  โดยจะพยายามไม่ให้น้อยกว่าบอนด์ครับ(มีปีนึงที่ราคาตกลงมามาก  ท่านก็เลยปันผมมากว่า 100% ไปเลย)
หรือตอนซับไพรม์ที่บริษัทท่านและลูกค้ากำลังแย่  ท่านก็ยอมขาดทุนเพื่อให้ลูกค้ารอด  เป็นการซืิ้อใจครับ  ในขณะที่บริษัทท่านเพิ่มทุน  หุ้นก็ตกกระจายจาก 12 บาทมา 3 บาท  ท่านก็เลยเอาเงินสดมาซื้อหุ้นเพื่อให้ราคามันขึ้นครับ  แต่เผอิญราคามันขึ้นไปก่อน  ก็เลยซื้อได้ไม่มาก
ล่าสุดเลยก็เรื่องน้ำท่วม  ทำให้กำไรหด  ท่านก็เลยบอกว่างั้นผู้บริหารไม่เอาโบนัสครับ  ถือว่าทำไม่ได้ตามเป้า(จริงๆมันก็เหตุสุดวิสัยอ่านะครับ)

บริษัทที่ดีกับผู้บริหารที่ดี  มันคนละเรื่องกันนะครับ  แต่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ SNC น่าสนใจ

จริงๆบัฟเฟตบอกด้วยซ้ำว่าระหว่างผู้บริหารที่ดีกับบริษัทที่ดี  เลือกบริษัทครับ  เพราะบริษัทที่ดีมันรันตัวของมันต่อได้  อย่าง oishi ในวันที่ไม่มีคุณตัน  apple ในวันที่ขาด steve jobs  แต่บริษัทที่เลวสุดท้ายจะชนะผู้บริหารที่ดีครับ


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น SNC ไม่ใช่บริษัทที่เลว  แต่ทำในธุรกิจที่เหนื่อย  หากแต่วันไหนถ้า SNC ไปถึงจุดที่คุมได้ทั้งต้นน้ำและกลางน้ำ  วันนั้น DCA อันยิ่งใหญ่แบบไม่มีคนสู้ได้ก็จะเกิดขึ้นตามมา  และคนที่มีหุ้นตั้งแต่ซับไพรม์หรือวันนี้ก็จะกลายเป็นตำนานบทใหม่ครับ  แต่ถ้า SNC ทำไม่ได้ก็เป็นเพียงบริษัทดาดๆทั่วไป  หรืออาจจะล้มอีกก็ได้



เหตุผลทั้งหลายทั้งปวงก็ประมารนี้ล่ะครับ  ถ้าอ่านๆดูจะพบว่าอ่อนกว่าประกันชีวิตของคนอยากรวยเยอะ คนอยากรวยเลยตั้งจุด stop loss ไว้แล้วครับ  อย่างไรก็ขอไม่เจ็บมากไว้ก่อน(เจ็บจากอสังหาเยอะครับ)


SNC โอกาสล้มก็มี  โอกาสรวยก็มี(อย่างน้อยขึ้นมา 10 เท่าคนที่รวยก็มีเยอะแล้วแหละ)  growth ยังมีแต่ต้องตามดีๆครับ  ธุรกิจค่อนข้างจะเหนื่อยและต้องนับ 1 คือหารายได้ใหม่ทุกครั้ง  ต่างจากประกันชีวิตหรือ CPALL(ที่แม้จะนับ 1 แต่ได้นับแน่นอน)  เพราะถ้าลูกค้ารายใหญ่ยกเลิกขึ้นมา  หุ้นก็วอดวายล่ะครับ เพราะ SNC trade กันที่ PE ค่อนข้างสูงคือ 12-15  ซึ่งถือว่าสูงมากสำหรับ OEM  แต่จะไปสูงไปหรือเปล่าสำหรับ growth stock  ขอให้ Mr.market กับเวลาตัดสินแล้วกันครับ(ตัวนี้ไม่ขอโชว์การคำนวนนะครับ  เพราะไม่รู้จะคิดจากอะไรดี  ได้แต่"เชื่อ"ว่ามันจะโต)


สำหรับประมาณการต้องขอบอกว่ายากนิดนึง  เพราะไม่มีฐานอะไรมาประมาณสักเท่าไหร่  แต่ขอใช้จิตสัมผัสว่ารายได้น่าจะประมาณๆเดิมคือ 8,XXXm อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าปีที่แล้วนิดหน่อย  แต่ margin น่าจะอยู่ที่ 7.5%  net margin น่าจะสัก 620m  หรือ EPS 2.1-2.2 ครับ  อันนี้ขอเชื่อผู้บริหาร  แต่ตามดูติดๆครับ  แต่ถ้า JV ได้  ต่อให้ปีนี้หลุดเป้าไปนิดก็น่าตามดูต่อครับ


ส่วนงบดุลไม่น่าห่วง  เพราะบริษัทไม่มีหนี้เลย  มีแต่เจ้าหนี้การค้าซึ่งก็คงจะวนๆอยุ่กับลูกหนี้การค้าแหละครับ  เรียกว่าแข็งแกร่งระดับ CPALL เลยครับ  ไม่มีปัญหาใดๆทั้งสิ้น



เหตุผลที่ให้อาจจะไม่หนักแน่นมาก  ไม่ขอเชียร์เหมือนประกันชีวิตที่เป็น megatrend ครับ  ตัวนี้ขอตีตั๋วตามไปดูและศึกษาเพิ่มเติมไปเรื่อยๆครับ(แต่ตั้งจุด cut loss ไว้สั้นมาก  วันนี้เกือบได้ cut แล้ว  ขอเอาตัวรอดก่อนครับ)


ทิ้งคำทำนายไว้แล้ว  อีกครึ่งปีมาตามดูกันต่อครับ ^^

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กับดักราคา ที่มาของพญาเม่า

รู้สึก 2 บทความในเดือนพฤษภาคมก่อหน้านี้  คนอยากรวยจะเขียนไม่ดีเท่าไหร่(แต่อันอื่นก็ไม่ได้เขียนดีนะ)


วันนี้เลยจะมาเขียนแก้ตัวและเตือนในตัวเองครับ


เกริ่นก่อนเลยเคยอ่านหนังสือการลงทุนพอสมควร  เข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง  อ่านจบบ้างไม่จบบ้าง

ถ้าเป็นแนว VI จะมีเขียนเล่าประมาณว่า  "ซื้อหุ้น XXX ที่ราคา 10 บาท  จากนั้นมันตกไปที่ราคา 8 บาท  ก็ยังซื้อต่อจนตกไปที่ราคา 5 บาท  ก็ซื้อไปเรื่อยๆเพราะมันยัง undervalue อยู่มาก  จากนั้นอีก xปี  มันก็วิ่งที่ไปราคา 30 และ 40 บาท  ผมก็ขายออกมาและได้กำไรอย่างมหาศาล"


หรือที่ปู่บัฟบอกว่า "ถ้าทนเห็นหุ้นตัวเองตกลงไป 50% ไม่ได้  อย่ามาเล่นหุ้น"


ไอ้ตอนอ่านก็คิดว่าทำได้อยู่หรอกครับ  แต่พอมาเจอกับตัวนี่มันอึ้งแดกครับ !!!

ต้องมาย้ำตัวแดงๆกับตัวเองเลยว่า  เฉพาะกับหุ้นที่เรามั่นใจในพื้นฐานเท่านั้นนะครับ !!!


คนอยากรวยโดนมาแล้วครับ  สดๆร้อนๆ  กับหุ้นแนวอสังหาที่ยอมรับว่าไม่ได้ศึกษาละเอียดมากครับ  ซื้อตอนแรกต้องมานั่งเฝ้าจอทุกวัน  แต่ราคาขึ้นไปร่วมๆ 10% ก็สบายใจสิครับ  ถือรอรับ W ดีกว่า  ตกลงมาเท่าทุน(รวมค่าคอม)ค่อยขายออก  ยังปลอดภัย  มันก็ลงมาแถวๆ +5% ก็โอเค 
นอนรอวันจันทร์ขึ้น XW ตื่นมาราคาร่วงไป -3% เลยครับ(รีบมาดูตั้งแต่ 10 โมงเลยนะ)
จากนั้นมันก็ร่วงไป -13% ในวันนั้น !!!(เทีบบกับราคาทุนโดนลบไป 11%) 
อึ้งครับ  อึ้งแดก  ไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจมาขนาดนี้  คิดไม่ออกบอกไม่ถูกเลยครับ 
เคยเห็นแต่ชาวบ้านโดนตบติด floor ก็แอบถากถางในใจว่า  "ฟายเอ๊ย  โง่นะเมิง"
พอมาเจอหุ้นตัวเองติด top loser แล้วมึนเลยครับ  เพราะไม่รู้พื้นฐานเท่าที่ควร  ซื้อถัวเฉลี่ยขาลงแบบที่ VI บอกก็ไม่กล้า  เพราะไม่รู้เลยครับว่าวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร  ถึงตอนที่คนอยากรวยมานั่งพิมพ์บทความก็ยังงงๆกับตัวเองอยู่  อารมณ์ติด stun มาถึงตอนเย็น  เลือดไหลซึมๆถึงพื้นแล้วจะ cut loss ก็ไม่กล้า  เข้าใจแล้วว่าอารมณ์คนติดดอยหรือไม่กล้า cut เป็นอย่างไร  บอกได้เลยนะครับ "ไม่เจอกับตัว  ไม่รู้หรอกครับ"


คือถ้าเป็น BLA ลงมาแบบนี้ก็เก็บไปเรื่อยๆครับ  เพราะรู้ว่ากำไรมันไม่หยุดแค่นี้  เดี๋ยวมันก็ฟื้นแน่ๆ  แต่กับไอ้บ้าตัวนี้นี่ไม่ค่อยแน่ใจเลยว่ามันจะไปยังงัยต่อ  เพราะใครถามว่าทำไมถึงซื้อก็จะตอบแนวๆว่า bet กับมันดูน่ะครับ(แต่ก็อาศัยดู back log กับพื้นฐานแล้วด้วยอ่านะ) 


บอกกับตัวเองเลยครับว่า กรุจะไม่เก็งกำไรอีกแล้ว  ถ้าไม่สามารถให้เหตุผลที่ดีพอโดยการเขียนบทความลงใน blog นี้ได้ว่าทำไมถึงอยากซื้อล่ะก็  ห้ามซื้อ !!!


ขอยืมคำคมนึงมาหน่อยนะครับว่า

คนตายไม่มีสิทธิ์พูดครับ

เวลาที่หุ้นขึ้น  คุณพูดอะไรก็ถูก  จะบอกว่าเห็นไหมมันลงแป็บเดียวแล้วก็ขึ้น  เห็นไหมแพงแล้วมีแพงอีก
แต่เวลาที่หุ้นตก  คุณพูดอะไรก็ผิดครับ  จะบอกว่า  ราคามันถูกลงนะไปเก็บเพิ่มสิเดี๋ยวมันก็ขึ้นมา  ถ้ามันลงไปนิ่งอยู่อีก 2 เดือน  จะยังเหลือคนเชื่อคุณไหมครับ


คนที่เก็บ CPALL ตั้งแต่ 10 บาท  จะอ้างเทคนิค  จะอ้างพื้นฐาน  หรือพูดมั่วๆคนยังเชื่อเลยครับ
แต่คนที่เก็บ N-PARK มาตั้งแต่ 3 หลัก  ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร  ก็ไม่มีใครเชื่อหรอกครับ

นี่แหละ

คนรวยเสียงดัง  คนตายไม่มีสิทธิ์พูดครับ !!!



เกริ่นเรื่องเม่าๆของตัวเองกะแถมคำคมไปแล้ว  มาดูเรื่องกับดักราคาที่เป็นหัวข้อหลักกันดีกว่าครับ


เรื่องแรกคือ "hindsight bias" หรือที่คนเค้าชอบพูดกันว่า  "มองกระจกหลัง"ครับ
การมองกระจกหลังเนี่ยง่ายๆเลยครับ  คือพวกที่ชอบบอกว่า "รู้งี้....."(คนอยากรวยก็เคยพูดหลายครั้งนะ)  เช่นดูราคา CPF ย้อนหลังไป 3 ปี  แล้วบอกว่า 
"รู้งี้ซื้อที่ 2.XX บาทก็ดี  ป่านนี้ 10 เด้งไปแล้ว" 
"รู้งี้ขาย BLA ไปก่อนก็ดี  กะแล้วว่าราคาจะต้องตก" 
"รู้งี้ไม่ขาย CPALL ที่ 40 บาทหรอก  ว่าแล้วว่าต้องไปต่อ"

แม่ะ  ถ้ารู้ขนาดนี้แล้วทำไมไม่ทำล่ะครับ  มามัว "รู้งี้" ตลอดเลย  เหมือนที่เค้าบอกกันว่า  "รู้อะไรไม่สู้  รู้งี้"ครับ

hindsight bias จะทำให้เรามองแต่กระจกหลัง  จะไม่กล้าซื้อหุ้นที่ราคาขึ้นไป 2 เด้ง 3 เด้งหรือ 10 เด้งแล้ว  เพราะคิดว่ามันไม่น่าจะไปต่อ  และจะร่วงกลับลงมา  แต่จะชอบหุ้นที่ราคาตกลงมาหรือราคานิ่งๆนานๆ  เพราะคิดว่ามันมีโอกาสจะขึ้นมากกว่า

ขอบอกเลยนะครับว่า  "ไม่เกียวครับ"  ท่องให่อีก 20 รอบเลยนะครับว่า  "ไม่เกี่ยวครับ" 
ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือ N-PARK จากราคา 100บาท  ไหลลง 20 บาท  ลงมา 1บาท  ลงมา 0.1บาท  มาจนบัดนี้ 0.01 บาท  และก็ไม่มีทีท่าว่าจะกลับไปจุดเดิมหรือแม้แต่เสียวนึงของความยิ่งใหญ่มันได้เลยครับ
อีกตัวอย่างนึงคือ SCBLIF จากราคา 5 บาท  เคยวิ่งไปถึง 50 บาท  100 บาท  และตอนนี้ไปอยู่ที่เกือบ 600 บาท  และมีทีท่าว่าจะยังวิ่งได้ต่อ

คนอยากรวยไม่ได้บอกว่า  ตัวที่ลงจะไม่มีโอกาสขึ้นนะครับ  แต่บอกว่า  สิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีต  ไม่ได้เกี่ยวกับปัจจุบันเลยครับ

หุ้นกี่เด้งก็ไปต่อได้ถ้ากำไรมากขึ้น  หุ้นนิ่งๆมาหลายปีไม่ได้ไปต่อถ้ากำไรลดลง(และเจ้าไม่ลากเล่น)


ปู่บัฟฝากมาบอกนะครับว่า "เหตุผลที่โง่ที่สุดในการซื้อหุ้นคือซื้อเพราะกลัวว่ามันจะขึ้น  และขายเพราะกลัวว่ามันจะลง"
ซึ่งเหตุผลนี้เกิดขึ้นแทบจะทุกนาทีเลยครับ  คิดดูสิ !!!



กับดักราคาอันที่ 2 อันนี้ยิ่งใหญ่มาก  ชื่อเก๋ๆว่า Anchoring
เป็นกับดักราคาที่เรามักจะเอาตัวเลขมายึดติดกับอะไรสักอย่าง

เคยมีคนทำวิจัย  โดยการถามว่า  คิดว่ามีคนแอฟริกันอยู่ในอเมริกากี่ % โดยแอบตุกติดพ่วงตัวเลขไป 2 ตัว  คือ 10% และ 60%
คนที่ได้ตัวเลข 10% คำตอบจะไปกองอยู่แถว 25%
ส่วนคนที่ได้ตัวเลข 60% คำตอบจะไปกองอยู่แถว 40%

เห็นไหมครับว่าคนเราจะยึดติดกับตัวเลขโดยที่ไม่รู้ตัว 


อธิบายจากการเล่นหุ้นง่ายๆเลยครับ  ถ้าหุ้นตัวนึงไหลลงมาจากราคา 10 บาทมาเหลือ 9 บาท 8บาทและ 7 บาท  เราก็ชอบจะ fix ตัวเลข 10 บาทหรืออะไรก็แล้วแต่ที่สูงกว่า 7 บาท  โดยคิดว่ามันเป็น fair value
และถ้าหุ้นอีกตัววิ่งขึ้นจาก 10 บาทเป็น 12 บาท  เป็น 15 บาท  เราก็จะยึดตัวเลข 10 หรือ 12 บาทเป็น fair value แทนครับ
ถ้าพ่วงกับ hindsight bias อีก  เราจะซื้อแต่หุ้นตัวแรก  และไม่ซื้อหุ้นตัวที่ 2 ครับ


สมมติกับชีวิตจริงว่า  ถ้าผมขาย iphone 4s ราคา 1แสน  ซื้อไหมครับ  ไม่ซื้อลดมาเหลือ 80,000 เหลือ 60,000 เหลือ 45,000 จะยังมีคนอยากซื้อไหมครับ 
ผมว่าไม่มีแน่นอนเพราะมัน"แพง"กว่าราคาที่ควรจะเป็นของมัน
แต่ถ้าผมขายรถ Ferrari ราคา 5แสน ไม่เอาเป็น 1ล้าน เป็น 2 ล้าน  เป็น 5 ล้าน  เอาไหมครับ
ก็ยังเอาอยู่ดีแม้ราคาผมจะเพิ่มไป 10 เท่า  เพราะมันยัง"ถูก"กว่าที่มันควรจะเป็น


คนมากมายแม้แต่คนอยากรวยก็ยังติดกับดัก anchoring เพราะเราต้องหาตัวเลขอะไรมายึดเหนี่ยวจิตใจเอาไว้ครับ


ทางที่ดีที่สุดของการหนีกับดัก anchoring คือการที่เราประเมิน Fair Value ด้วยวิธีต่างๆไม่ว่าจะเป็น Forward PE, DCF หรืออะไรก็ตามครับ

ตัวเลขหรือกราฟย้อนหลังดูได้  คนอยากรวยเชื่อว่า VI คนอื่นๆก็ดูประกอบครับ  แต่ให้น้ำหนักปานกลาง  เราซื้อบริษัทไม่ได้ซื้ออดีต  แต่ซื้ออนาคตครับ



หวยออก 87 งวดนี้  ไม่ได้แปลว่างวดหน้าจะไม่ออก 87  แต่ที่มันออกไม่ซ้ำกันเพราะโอกาสมันน้อยต่างหาก
คนอยากรวยกล้าขอทำนายแบบไม่กลัวเงิบว่า  หวยงวดนี้ออกอะไร  งวดหน้ากลับเลขกัน  ตัวนั้นจะไม่ออก  อิอิ

ปีที่แล้วน้ำท่วม  ปีนี้น้ำจะท่วมหรือเปล่าก็ไม่ได้ขึ้นต่อกันนะครับ  อาจจะท่วมหรือไม่ท่วมก็ได้


แล้ว iphone ราคา 100,000 ลดเหลือ 50,000 ก็ไม่มีคนซื้อ
แต่ Ferrari ขึ้นราคาจาก 5 แสน เป็น 5 ล้านคนก็ซื้อ 

อย่าลืม hindsight bias กับ anchoring นะครับ


ตลาดหุ้นมันขึ้นมาจาก 400 เป็น 1,200 ใน 3 ปี  ดู "easy money" คือจิ้มไปตัวไหนกำไรแทบจะทะลัก  ทำให้หน้าใหม่ๆเข้ามาในตลาดหุ้นมากขึ้น(คนอยากรวยก็เช่นกัน)
ที่น่ากลัวคือเหตุผลที่ผิดๆในการเลือกหุ้นแล้วคิดว่าถูก  ไม่ว่าจะเป็นแนว VI,VS หรืออะไรก็ตาม  บางทีดูแค่ EPS บางทีดูแค่ EMA หรือ fund flow อะไรก็ตาม  แต่ถ้าวิธีการมันผิด  ตอนหุ้นขึ้นมันอาจจะใช้ได้  แต่ใช้ได้ไม่ตลอดเพราะวิธีการมันผิด !!!

ฝากไว้นะครับ

"ยามเมื่อลมพัดแรงแม้แต่ไก่งวงก็บินได้  แต่เมื่อลมพัดหวนมีแต่พญาอินทรีย์เท่านั้นที่อยู่รอด"
และ
"เวลากระแสน้ำลดลง  คุณก็จะรู้ว่าใครล่อนจ้อน"


ขอให้โชคดีกับการลงทุน  และคนอยากรวยก็ขอให้ผ่านพ้นความเลวร้ายจากหุ้นตัวนี้สักที(ไม่ได้บอกว่ามันไม่ดีนะครับ  แต่ไม่รู้ว่ามันดีรึป่าวเนี่ยสิ)  ขอ buy and pray ครั้งสุดท้าแล้วจะเลิกเก็งกำไรเด็ดขาดแล้วครับ TT^TT  ขนาดไม่เจ็บตัวมากยังซึ้งเลย

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Growth Stock แพงเท่าไรก็ซื้อได้(จริงหรือเปล่า)

Growth Stock เป็นที่นิยมมากในตลาด  ด้วยสาเหตุหลายๆประการ  เช่น  ทำกำไรได้มากและต่อเนื่อง  ถ้าเลือกดีๆอาจจะไม่ต้องทำอะไรไปเลยอีก 10 ปี  แม้หุ้น cyclicals หรือ turnaround อาจจะให้กำไรในระยะสั้นมากกว่า  แต่เราก้ต้องหาตัวอื่นเมื่อ"หมดรอบ"การเล่นของมัน  แล้วจะหาเจอหรือเปล่าก็ไม่รู้(หุ้นมันคงไม่ turnaround แล้ว turnaround อีกหรอกเนอะ  แต่หุ้น growth มัน growth ได้เรื่อยๆ)


ทำให้หุ้น growth PE สูงเสียดฟ้า  ซึ่งหลายคนต้องซื้อแพง  แล้วไปขายแพงกว่า  แต่บางคนไม่กล้าซื้อ  ได้แต่ "รู้งี้....."


แล้วอย่างนี้ถ้าเจอ growth stock PE สูงทำงัยดีล่ะ ???

ม่ะ  เดี๋ยวคนอยากรวยสรุปให้เอง  เอาแบบฟันธงโช๊ะๆไม่กลัวหน้าแตกไปเลย ^^



ปกติ PE เป็นตัวกรองหุ้นที่นิยมใช้กันมาก  เพราะใช้ง่าย  ไม่ซับซ้อน  ความแม่นยำก็สูงพอควร  เรียกว่าใช้ดีๆ  ตัวเดียวหากินแบบไม่ต้อง DCF กันเลยทีเดียว


งั้นเรามาชำแหละ PE กันเล็กน้อย

PE หรือ PE ratio คืออัตราส่วนของ Price หารด้วย earning per share หรือ EPS  หรือถ้าเรากลับสมการอย่างง่าย(มันมีการกลับสมการแบบยากๆด้วยหรอวะ)  จะได้ Price = EPS x PE

EPS คือกำไรต่อหุ้น  ที่เป็นตัวเลขจากการดำเนินธุรกิจนั่นเอง  โดยมากเราจะมองไปที่อนาคต  หรือใช้ EPS ของปีถัดไปนั่นเอง  พูดให้หรูหน่อยก็ forward EPS(ซึ่งนักลงทุนต้องประเมินกันเป็นปกติอยู่แล้วนะจ๊ะ)


ส่วน PE คือค่าความคาดหวังของตลาดว่าตลาดจะให้ premium เป็นกี่เท่าของกำไร  แน่นอนว่าปกติเป็นที่รู้กันว่า PE =10 นอกจากจะแปลว่าได้ทุนคืนใน 10 ปีแล้ว  ยังแปลได้อีกอย่างว่าหวังกำไรโต 10%(คือถ้าปีนี้ได้กำไร 1บาท  ปีหน้าควรจะได้ 1.1 บาท  และปีต่อไปควรจะได้ 1.21 บาท)
แหมๆๆๆๆๆ  ถ้าตลาดมันมี"ประสิทธิภาพ"ขนาดนั้นก็ดีน่ะสิครับ  เพราะปกติ PE นอกจากจะขึ้นกับความคาดหวังของกำไรในอนาคตแล้ว  มันยังมี factor อื่นๆอีกมากมายทำให้ PE ตลาดไม่ออกมาเท่า % growth หรอกครับ  บางตัว growth ดี PE ต่ำ  บางตัว growth กลางๆ PE สูงมาก

แล้วอะไรล่ะที่ทำให้เราจะให้ PE บริษัทนึงสูงมากๆๆๆๆๆๆ  ลองคิดเล่นๆกันตามความเป็นจริงเลยครับ  คนอยากรวยจะเน้นย้ำเสมอว่า  อย่าดูสูตรเป็นตัวเลขทางบัญชี  ให้ดูแบบพ่อค้าแล้วจะรวยแบบพ่อค้าครับ
สมมติว่าถ้าบริษัทนึงกำไร 1ล้านบาทต่อปี  เราจะยอมจ่าย 5 ล้าน, 10 ล้าน  หรือ 20 ล้านเพื่อซื้อบริษัทนี้ล่ะครับ  และบริษัทแบบไหนที่เรายอมจ่ายเพียง 5 ล้าน  บริษัทแบบไหนที่เรายอมจ่าย 20 ล้าน
คนอยากรวยขอเฉลยแต่อาจจะไม่ครบนะครับ  บริษัทที่ผมจะยอมจ่ายเพียง 5 ล้านคือบริษัทที่กำไรโตไม่มาก  บริษัทที่หนี้เยอะๆ  บริษัทที่โอกาสเจ๊งสูงกว่า  บริษัทที่ไม่แข็งแกร่ง ฯลฯ  แต่ผมจะยอมจ่าย 20 ล้านในบริษัทตรงกันข้ามกับบริษัทแรกครับ

คิดง่ายๆนะครับ  ระหว่าง CPALL กำไร 1 บาทจ่าย 20 บาท  กับร้านขายเต้าฮวยตราคนอยากรวยกำไร 1 บาทเท่ากัน  จะยอมจ่าย 20 บาทเท่ากันไหมครับ  และเพราะอะไรถึงจ่ายไม่เท่ากัน
ถ้าผมสมมติให้ร้านเต้าฮวยมีโอกาสโตเท่าๆกับ CPALL ด้วยเอ๊า  ตอบกันได้ใช่ไหมครับ 
เพราะความแน่นอนหลายๆอย่าง  ถ้าเศรษฐกิจเจ๊ง  CPALL กับคนขายเต้าฮวยใครจะไปก่อน  ถ้ามีคนทำแข่ง 7-11 กับคนขายเต้าฮวยใครจะไปก่อน  โอกาสโตได้จริงๆ CPALL กับคนขายเต้าฮวยใครจะโตได้ชัวร์กว่า

ทั้งหลายทั้งแหล่นี้ทำให้เราสามารถเพิ่ม PE ให้กับบางบริษัทได้ครับ  แต่จะเพิ่มให้แค่ไหนบอกไม่ได้หรอกครับ  เพราะตรงนี้แล้วแต่คนแล้วล่ะ
อย่าง CPALL นี่ถือเป็นบริษัทระดับเทพ  ตัวนี้ถ้าอยากได้ต้องจ่ายมากกว่า %growth อยู่แล้วครับ  เพราะเค้ามีทั้ง DCA, งบดุลที่แข็งแกร่ง, barrier of entry, โอกาสทางธุรกิจ ฯลฯ(ศัพท์ตัวไหนไม่เข้าใจลองไปหาดูใน google นะครับ)

แล้วมากกว่า % growth แค่ไหนดีล่ะ ???


งั้นเรามาชำแหละ PE กันต่อนิดนึงนะครับ  จะได้เอามายำ CPALL ถูกว่าจริงๆคือ superstock หรือผีอีแพงกันแน่ !!!


Lynch(อีกแล้ว)บอกว่า  งั้นเราดู PE อย่างเดียวไม่ได้  เราควรดู PE เทียบกับ %growth ด้วย  เพราะหุ้น PE 25 อาจจะไม่แพง  แต่ที่แพงอาจจะเป็นหุ้น PE 8 ก็ได้  เค้าเลยคิดอัตราส่วน PEG ขึ้นมาครับ(คนอยากรวยว่าไอ้อันนี้เราก็คิดเองได้นะ  จริงๆ PE เราทุกคนเคยคิดขึ้นมาเองด้วยซ้ำครับ  แต่ไม่ได้ตั้งชื่อให้มัน)
อันนี้อธิบายง่ายครับ  เช่นหุ้น PE 10 growth 10% ก็ได้ PEG =1 หรือ PE 20 growth 30% ก็ได้ PEG = 0.66 ครับ
ทายสิว่ามากหรือน้อยดี ???
อันนี้ตอบผิดไม่ต้องอ่านต่อเลยนะครับ  รบกวนใช้เหตุผลกันนิดนึง  อย่ายึดติดกับสูตรมาก  แล้วจะพบว่าน้อยๆยิ่งดีครับ


คงต้องเกิดคำถามต่อแน่ๆ  ว่า  ถ้าสมมติหุ้นตัวนึง PE 10 growth 10% กับ PE 30 growth 30% ได้ค่า PEG เท่ากัน  อันไหนดีกว่ากันใช่ไหมครับ


งั้นตามคนอยากรวยมา  คนอยากรวยจะชำแหละต่อให้ละเอียดเลยครับ  หึหึ
กลับมาที่สูตรแรกว่า price = PE x E  สมมติว่าผม fix ค่า PE ให้คงที่  ไม่ว่าเราจะให้ PE 4, 10 หรือ 50 ก็ตาม  จะเห็นว่าราคาจะขึ้นกับตัวแปรเดียวคือ E หรือกำไรครับ
แปลว่าอะไร  ยกเอาสมการนี้มาให้ดูครับ

price ปีหน้า/price ปีนี้ = PEปีหน้า/PE ปีนี้ x Eปีหน้า/Eปีนี้  จะเห็นว่าเรา fix PE ให้เท่ากัน  ดังนั้น PE จะตัดกันได้ 1
ส่วน price/price ตรงนี้คือ capital gain ครับ  เช่นปีนี้ราคา 50 ปีหน้าราคา 55 ก็แสดงว่าเราได้กำไร 55/50 หรือ 10% นั่นเองครับ
และ E/E ก็คือ % growth ครับ  เช่นกำไรปีนี้ 1 บาท  ปีหน้า 1.2 บาท  ก็แสดงว่า growth มา 20%

คนอยากรวยว่าถ้าคนเก่งเลขคงพอเข้าใจละครับ  และคงจะตอบคำถามข้างบนได้แล้วว่าตัวที่ PEG เท่ากันจะเลือกตัวไหน
ถ้าไม่เข้าใจ  มาฟังต่อครับ(ถ้าไม่เข้าใจลองอ่านอีกรอบหรือหลายรอบหน่อยก็ดีนะ  มันจะงงๆนิดนึง  แต่ทำให้เข้าใจอะไรอีกเยอะเลยนะคนอยากรวยว่า  นี่แหละน้า  ตอนอาจารย์สอนเลขไม่ยอมตั้งใจเรียน)

จากสมการแปลว่า capital gain = % growth โดยไม่ขึ้นกับ PE ครับ  แปลว่าปัจจัยที่ทำให้ราคาขึ้นมีอย่างเดียวคือ % growth เช่น growth 30% ก็ได้กำไร 30%

(ถ้าไม่เข้าใจลองนั่งเขียนดูก็ได้ครับว่า
ปีนี้กำไร 1บาท  ตัวนึงราคา 10 บาท  อีกตัวราคา 30บาท
ผ่านไปอีก 1 ปี  ตัวแรกกำไร 1.1 บาท  ราคา 11 บาท  อีกตัวกำไร 1.3 บาท  ราคา 39 บาท  แล้วก็นั่งติงต๊องเขียนไปหลายๆปี  ดูซิว่า capital gain จะเท่ากับกำไรที่คนอยากรวยอุตส่าห์นั่งทำสมการแทนค่าให้ดูไหม  เชอะๆ  สมการไม่โกหกใครแน่นอนครับ  อย่าไปนั่งติงต๊องขนาดนั้นเลย)


สรุปตรงนี้ก่อนยกนึงว่า  เราชอบเลือกหุ้นที่โตมากๆครับ  ด้วยเหตุผลดังสมการข้างต้น  โดยไม่ต้องสนใจ PE ด้วยซ้ำว่าจะให้มากให้น้อย  อยากให้มากก็ตามใจ  อยากให้น้อยก็ ok
growth ได้ 30% ก็กำไรปีละ 30% สามปีก็ double time ครั้งนึงครับ  โฮะๆ


แต่หลายคนคงแย้งว่า  เฮ้ย!!! แล้วตลาดบ้านป้าเอ็งจะให้ PE เท่ากันเป๊ะหรอฟระ 

ตลาดบ้านป้าผมก็คงไม่ให้ PE สม่ำเสมอได้ขนาดนั้นหรอกครับ  เพราะ PE มันคือความคาดหวัง  อย่างสมมติผมให้ PE CPALL 30 แต่ผมอาจจะคาดหวัง %growth แค่ 20 ก็ได้  ที่เหลือที่ผมให้มาจากความแข็งแกร่งด้านอื่นๆอย่างที่เคยบอก  ถ้า CPALL โตได้ 20% เสมอตัว  ผมอาจจะให้ PE "ประมาณๆเดิม"  แต่ถ้าโตไม่ได้  ผมก็พร้อมจะลด PE ลงมาใช่ไหมครับ  ซึ่งถ้าโดนทีนึง  ต่อให้กำไรไม่ลดลง  เราก็จะขาดทุนจาก PE ที่ลดลงครับ(ลองแทนสูตรในสมการก็ได้นะ)

แต่ผมก็ไม่รู้หรอกนะครับว่าไอ้ PE 30-40 ที่ให้ CPALL กันตอนนี้  เค้าหวังระดับการโตกันขนาดไหน  เพราะตลาดมันเกิดจากคนหลายคน  ผมอาจจะหวังแค่ 15% เพื่อนๆคนอื่นหวัง 20% ถ้า CPALL โตได้ 15% ผมก็อาจจะให้ PE เพิ่ม  แต่ถ้าไม่ถึง 20% คนอื่นๆก็อาจจะลด PE ลงมา  แต่อยู่ที่ว่าคนที่มองว่าถูกหรือแพง  ทำได้ตามเป้ามีเยอะกว่ากัน


สำหรับบางคนที่ conservative มากๆอย่างผม  อาจจะไม่ค่อยชอบหุ้นที่ PEG>1 เพราะมองว่ามันมีความเสี่ยงจากการถูกลด premium ได้ทุกเวลาที่ตลาดจะให้(จริงๆต่อให้ PEG <1 ก็ยังมีนะ  แต่น้อยกว่าเยอะอ่ะ)  แต่จริงก็ไม่ถูกซะทีเดียว  Lynch ยังเคยซื้อหุ้น PE 40 โดยหวัง growth ราวๆ 25-30% มาแล้ว  และก็กำไรซะด้วย
อย่าง CPALL คนอาจจะบอกว่า  ตอน 10 บาท PE มันก็เท่านี้แหละนะ  30บาท PE เท่านี้ก็แพง  ไป 60 บาทก็ว่าแพงอีกแถม PE มากกว่าเดิมซะด้วยซ้ำ  ได้แต่รอเมื่อไหร่จะซื้อ  จะรอสามหลักหรือมา 60 อีกทีอ่ะหรอ(หลัง XD)
แต่คนอยากรวยว่าโอกาสทางธุรกิจมันไม่เหมือนเดิมแล้วนะ  ไอ้ตอน 1,000 สาขา  เปิดอีก 200 สาขาก็เพิ่มกำไรได้ราวๆ 20%และ(อาจจะมีปัจจัยอื่นด้วยอ่านะ)  แต่ตอนนี้มี 6,000 สาขา  จะเพิ่ม 20% ต้อง 1,200 สาขาแล้วนะเฟร่ย  ไม่ง่ายๆ

แต่คนอยากรวยจะเดาใจตลาดไม่ได้หรอกนะ  CPALL อาจจะได้ PE 30-40 ไปอีก 5-6 ปี  หรือ PE50 PE80 เลยก็ได้ 



คนอยากรวยอาจจะจบแค่นี้ก็ได้  แต่ไหนๆก็ไหนแล้ว  ขอสรุปให้ถึงพริกถึงขิงไปเลย  แค้นมานานตามอารมณ์คนไม่มีหุ้น


จากสมการและบทความข้างต้นเราจะได้ว่า  หุ้นที่ PE 80 growth 30% กับหุ้นที่ PE 8 growth 30% เท่ากัน  ผ่านไป 20 ปี  หาก PE ยังคงเท่าเดิมตลอด  เชื่อหรือไม่ว่า capital gain จะเท่ากันเป๊ะๆ(ถ้าเข้าใจสมการข้างบนต้องเชื่อคนอยากรวยนะ  ถ้าไม่เข้าใจจะลองนั่งเขียนติงต๊องไป 20 ปีก็เอา)

โอเคว่าหุ้นตัวแรกคนที่เข้าก่อน PE จะเป็น 80 คงได้กำไรเป็นกอบเป็นกำแบบเละเทะ  แต่คนที่มาทีหลังตอนที่ PE ไม่เพิ่มแล้วก็ไม่ได้เสียหายอะไรมาก  แถมกำไรบานเช่นกัน

แต่ถ้าสมมติให้ growth เท่าเดิมตลอด  แต่ PE อาจขึ้นลงได้ตามตลาด  จะเลือกตัวไหนครับ ???
ระหว่าง PE 80 โดยหวังว่าอย่างน้อย PE มันจะไม่ตกมาอีก  ถ้าโชคดีมากๆก็อาจจะขึ้นไปอีก
กับ PE 8 ซึ่งโอกาส PE เพิ่มมากจนไม่รู้จะมากยังงัย  แต่โอกาสโดนลด PE น้อยสุด(ไม่ได้บอกว่าไม่มีนะ)


ที่ growth เท่าๆกัน  ตัว PE น้อยนอกจากจะเสี่ยงน้อยกว่าแล้ว  ยังมีโอกาสบวก premium ไปได้มากกว่าด้วยครับ
แต่ตัวที่ PE มากๆ  นอกจาก premium จะไม่เพิ่มแล้ว  ยังมีสิทธิ์โดนลดสูงอีกด้วย


ถ้าคุณหวังให้ CPALL อย่างน้อย PE เท่านี้ไปหลายๆปี(ซึ่งก็เป็นไปได้นะ)  แสดงว่าคุณหวัง capital gain เท่ากับ % growth ของ CPALL
เอาเท่าไหร่ดีครับ capital gain 15% 20% หรือ 25% บนความเสี่ยง PE 40

กับหุ้น growth stock ตัวอื่นๆ  ที่หวังการโตระดับ 20% เช่นกัน  บน PE 10,15 หรือ 20 ก็ตาม
เป็นอย่างไรกับหุ้น capital gain 15% 20% หรือ 25% บนความเสี่ยง PE 15


คนอยากรวยไม่กล้าฟันธงโช๊ะไปหรอกครับว่า CPALL PE จะไม่สูงกว่านี้  ความคาดหวังของฝูงชนคนอยากรวยเดาไม่ได้  แต่คนอยากรวยว่า CAPLL เสี่ยงเกินไป  ถ้าคาดหวังการโตที่ 2X% (จริงๆหวังโต 20% CPALL ก็เหนื่อยแล้วนะ)  หรือแปลแบบฟันธงเลยว่า


CPALL แพงไปแล้วโว้ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยย !!!


สำหรับตัวที่ PE 15 คนอยากรวยก็ไม่ได้ฟันธงว่ามันปลอดภัยไร้กังวล  โตได้ 20%ชัวร์ ไม่โดนลด PEชัวร์  แต่คนอยากรวยมองว่าโอกาสเกิดมันน้อยกว่าตัว PE 40 เยอะนะ  ถึงงบจะไม่แข็งแกร่งเท่า, DCA จะไม่สูงเท่า
และยังโอกาสถูกเพิ่ม premium ด้วยซ้ำ(CPALL ก็มีแหละ  แต่น้อยนะ  จะเอา PE เท่าไหร่กันล่ะครับ)


อธิบายไปขนาดนี้ก็คงเข้าใจแล้วล่ะมั๊ง  คนอยากรวยไม่ได้บอกว่าคนซื้อ CPALL น่ะรวยอย่างเดียวไม่ได้ต้องโง่ด้วย  แต่ทำให้เห็นว่าหุ้นที่มันขึ้นจากค่า premium ทั้งนั้น แทบไม่เกี่ยวกับ E เลย
มันเหมือน buy and pray ที่บัฟเฟตบอกนั่นแหละว่า  ซื้อแล้วอธิษฐานให้มันขึ้น  แล้วจริงๆมันมีพื้นฐานมาเกี่ยวมาน้อยแค่ไหน
CPALL คงไม่เจ๊งหรอก  CPALL กำไรคงไม่ลดลงหรอก  แถมมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆด้วย  แต่ PE จะลดหรือเปล่าสิน่าคิด
ซื้อแล้ว PE ไม่ลด  ตลาดยังให้ premium สูงก็ดี  แต่ถ้าลด ???



ธุรกิจ CAPLL ยังโตได้อีกพอสมควร  แต่ไม่มีทางโตได้ตลอดกาล  แต่จะโตได้อีกนานแค่ไหนก็ไม่รู้  อาจจะ 3 ปี 5 ปี 20 ปี  ซึ่งมองดุปีนี้ก็ยังสดใสสำหรับ CPALL
แต่เราก็ต้องแยกบริษัทที่ดีกับการลงทุนที่ดี  บริษัทที่ดีซื้อในราคาที่แพงก็จะกลายเป็นการลงทุนที่ไม่ดี

หลายคนบอกว่า CPALL เป็นบริษัทที่ดี  โตได้  แข็งแกร่ง  คนอยากรวยไม่เถียง  แต่เงินที่ลงไปน่ะคุ้มหรือเปล่า  บริษัทที่ดีกับการลงทุนที่ดีมันคนละเรื่องกันนะคร๊าบบบบบบบบบบบบ


ฟันธงโช๊ะ !!!  สรุปอีกสักทีว่า CPALL แพงไปแล้ว  ถ้า PE ไม่โดนลด  การ buy and pray สำเร็จก็แล้วไป(แต่สำหรับคนทุนต่ำอย่าง ดร. ถือต่อได้นะ  เค้าทุนต่ำมากๆ)


สำหรับแนว VS หรือ trend follower คนอยากรวยไม่รู้เลย  แต่มันยังอยู่ในกระแส  ยังมีอะไรให้เล่นอีกพอสมควรเลย


ด่า CPALL ไปแล้วสบายใจ  หมั่นไส้ไม่มีหุ้น  กลับมาเชียร์หุ้นตัวเองดีกว่าครับ 555+

คนอยากรวยขอสมถะ  เล่นตัวที่ PE 10-15 อย่างกลุ่มประกันชีวิตดีกว่า  ดูแล้วอย่างน้อยอนาคตปีนี้ก็สดใส  ธุรกิจน่าจะ +20% ได้เลย  โดยเฉพาะ SCBLIF เล่นเอาซะการคำนวนคนอยากรวย conservative ไปเลย  ท่าทางจะได้เห็น EPS 5X ซะแล้ว  เรียกว่าราคาฝั่งขวาถูกไปทุกราคา  จะห่วงนิดนึงก็ตรง BLA ที่อาจจะโตน้อยกว่าธุรกิจเพราะคุณโชนสั่งหดเบี้ย  แต่กำไร 3.XX นี่ไม่น่าพลาดแล้วครับ

เรียกว่าโตได้ 20%+ เท่าๆกัน  แต่เล่นบนความเสี่ยงน้อยกว่าเยอะครับ(สรุปก็เชียร์หุ้นตัวเองนี่หว่า)




สุดท้ายขอสรุปนอกเรื่อง

มีคนบางคนเคยบอกว่า  หุ้นบางตัวที่เราดูแต่ PE ต่ำๆ  บางทีมันอาจจะเป็นหุ้นที่ถูกตลอดกาลก็ได้  ข้อความนี้อาจจะเป็นจริงกับหุ้นบางตัว
แต่ไม่เป็นจริงกับ growth stock แน่นอนครับ  คนอยากรวยขอนั่งยัน  นอนยันเลย

จริงๆถ้าเข้าใจสมการคนอยากรวยแทบไม่ต้องสมมติเลยครับ  แต่ยกไว้เผื่อๆก็ได้

เช่นหุ้น growth stock PE 6 growth 20% มันไม่มีทางเป็นไปได้  ที่ปีหน้าจะราคาเท่าเดิม  โดย PE เหลือ 4.8 และปีต่อไปก็ราคาเท่าเดิมใน PE 3 ปลายๆ (ลองสมมติให้ราคามันไม่ไปไหนดูนะครับ)

จริงๆหุ้น growth แค่รักษา PE เท่าๆเดิมไว้  ก็เพียงพอต่อการทำให้ราคาวิ่งแล้วล่ะครับ  ขอแค่มันเป็น growth stock ของจริงเท่านั้น  จะซื้อตรงไหนไม่สำคัญเลย  ตราบเท่าที่มันยัง growth อยู่(ถ้ามันเลิก growth ก็คงไม่เรียกว่า growth stock อ่านะครับ) 


growth stock อาจจะราคาถูกแค่ครั้งคราวเท่านั้น  
ดังนั้นคนอยากรวยขอสรุปแบบไม่มีตำราเล่มไหนเขียนว่า


"หุ้น growth stock ไม่มีวันถูกตลอดกาลครับ"


ถ้าเจอขอให้กอดให้แน่นนะครับ  และถือจนกว่ามันจะเลิก growth
ขอยกคำพูดเดิมๆจากบทความที่แล้วมาว่า  หุ้นแบบนี้ซื้อแล้วนอนหลับไปเลย 10 ปีไม่ได้นะครับ  ต้องดูด้วยว่ามันจะ growth ได้อีกนานแค่ไหน  ฟ้าสีทองไม่ได้อยู่ตลอดกาลครับ

และอย่าซื้อ growth stock ที่ราคาแพงเกินไป(เช่น CPALL)  เพราะมันคือ money game ที่ผลตอบแทนสูง  แต่เดิมพันก็สูงตามด้วย
ในตลาดมีโอกาสเสมอ  คือเกมที่ผลตอบแทนเท่าๆกัน  แต่เดิมพันน้อยกว่าครับ(เช่นประกันนั่นเอง  อิอิ)

จงเป็นเอ ศุภชัย  ตามหาณเดชน์นะครับ  อย่าเป็นแค่แฟนคลับที่เสียตังเข้าชม  เพราะ "ลุกคนสุดท้าย  จ่ายตังนะครับ"

ซื้อหุ้นอะไร เพราะอะไร ???

ขอเกริ่นก่อนตามระเบียบนะครับ

อะแฮ่มๆ

คนอยากรวยว่ามันเป็นปกติที่คนเราจะชอบแยกอะไรสักอย่างนึงเป็นประเภทต่างๆ  มันอาจจะทำให้สมองดูเป็นระเบียบมากขึ้น  และจดจำได้ง่ายขึ้น  หรือเพื่อการนำไปใช้ก็ตาม


กับหุ้นก็ไม่เว้นครับ  มีคนแยกหุ้นออกเป็นชนิดต่างๆมากมาย  บางคนแยกเป็น  หุ้นปั่นกับหุ้นไม่ปั่น  บางคนแยกเป็นหุ้นดีกับหุ้นเลว(แหม  ถ้ามีแค่นั้นคนอยากรวยขอรายชื่อหุ้นดีหน่อยสิครับ  อิอิ)  บางทีก็เอาชื่อสายมาเป็นประเภทของหุ้นเช่น  หุ้นเทคนิค  หุ้น VI ฯลฯ



สำหรับคนอยากรวยที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่อง technical สักเท่าไร  คงไม่ค่อยรู้ว่าสายโน้นเค้าแยกหุ้นเป็นอะไรบ้าง
แค่ในสาย VI เองยังแยกไม่เหมือนกันเลยครับ  ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีใครผิดใครถูก  ใครอยากจะแยกหุ้นเป็น 2 ประเภท  10 ประเภท  หรือ 200 ประเภท  หรือจะไม่แยกเลยก็ตามใจครับ



สำหรับคนอยากรวยตอนที่ยังละอ่อน(ตอนนี้ก็ยังละอ่อนอยู่อ่านะ)  เคยศึกษาแนว VI ก่อน  เลยโดนปรมาจารย์ปู่บัฟล้างสมองว่า "ถือยาวตลอดชีวิต"
แต่แล้วก็ได้ไปรู้จัก "เซียน VI" แนวหน้าคนนึงที่ผมนับถือเป็นอาจารย์ ผมพอจะรู้มาบ้างว่าอาจารย์เคยเข้าหุ้นในตำนานอย่าง JAS แล้วขายออกหมดไปแล้ว  ผมก็เลยสงสัยว่าขายทำไม  VI ไม่ได้ถือตลอดชีวิตหรอ ???
อาจารย์ก็ตอบมาว่า  ซื้อเพราะหวัง growth พอมันไม่ growth เราก็ขายครับ  "เราต้องรู้ว่าเราซื้อหุ้นตัวนี้เพราะอะไร  และหวังอะไรจากมัน"
ยอมรับว่าตอนนั้นคำพูดนี้ทำให้ผมงงๆอยู่บ้าง  มานึกๆดูก็เคยถามอาจารย์เกี่ยวกับตัวอื่นๆที่อาจารย์ถือ  เช่น CPN, AOT อาจารย์ก็บอกว่า  หุ้นพวกนี้ต้องซื้อตอนวิกฤต(พวกไหนวะ)  ถามตัว DTAC อาจารย์ก็บอกว่าซื้อเอาปันผลพิเศษ


พร้อมกับย้ำอีกทีว่า

"เราต้องรู้ว่าเราซื้อหุ้นตัวนี้เพราะอะไร  และหวังอะไรจากมัน"


เอ๊ะ !!! แล้วสรุปอาจารย์คนอยากรวยนี่ยังงัย  VI หรือเทคนิคเนี่ย  ไหนบอก anti-technical งัย  ทำไมเข้าๆออกๆ  ไม่เห็นจะถือนานเลย  บางตัวพื้นฐานก็ไม่เปลี่ยนนี่หว่า

จนเวลาผ่านไป  คนอยากรวยเก็บ EXP มากขึ้นก็เลยเริ่มเข้าใจที่อาจารย์เคยพูดลอยๆแต่เน้นย้ำ 
ก็เลยขอแยกหุ้นตามประเภทและการเล่น  ซึ่งไม่ได้คิดเอง  แต่เท่าที่อ่านมาชอบของ Peter Lynch มากครับ  แกเป็นหนึ่งในตำนาน VI ของโลก  ระดับปู่บัฟเลยครับ

เข้าเรื่องแล้วนะ 555+  คนอยากรวยเกริ่นนานมาก
Lynch แบ่งหุ้นเป็น 6 ประเภทคือ


1. Slow Growers แปลตามตัวเลยคือหุ้นโตช้า  หมายถึงพวกที่ไม่โตแล้ว  หรือโตช้ามากๆไปตาม GDP(ก็ประมาณ 1 digit อ่านะ)  พวกนี้จะปันผลเยอะเมื่อเทียบกับกำไร  เพราะไม่รู้จะเก็บเงินไว้ทำซากอะไร  กิจการก็ไม่ขยาย  ลงทุนเพิ่มก็ไม่ทำ  ถุย !!!
หุ้นพวกนี้ผลตอบแทนจาก Cap Gain จะไม่เยอะ  อาจจะดีกว่าฝากตัง Bank เล็กน้อย  
Lynch บอกหุ้นพวกนี้อย่าไปเล่นเลยคนอยากรวย
ไม่กล้ายกตัวอย่าง  เพราะรู้จักกิจการไม่เยอะ  เอาเป็นว่าถ้ากำไรมันนิ่งๆหลายปีก็น่าจะเป็นกลุ่มนี้นั่นแหละ  อย่าไปเล่นมันเลย
คนอยากรวยก็ไม่เล่นพวกนี้ครับ


2. Stalwarts  อันนี้แปลตามตัวไม่ได้  เพราะแปลไม่ออก  หุ้นพวกนี้คือหุ้นแข็งแกร่ง  อธิบายง่ายๆกว่านั้นคือหุ้น Blue Chip(เกร็ดความรู้กับคนอยากรวย  บลูชิพคือชิพสีน้ำเงิน(แปลให้)ที่ใช้เล่นในการพนัน  เป็นชิพที่แสดงถึงจำนวนเงินที่สูงที่สุดในบ่อนนั้น  ทำให้มันดูแข็งแกร่งมาก)  ที่โตได้เรื่อยๆ  สักปีละ 10%  จะไม่หวือหวาแบบพวรดเดียวเป็นเด้งๆ  พวกนี้จะใช้ double time นานมาก  อาจะเป็นสิบปี  แต่แข็งแกร่ง  ไม่เจ๊งแน่นอน(มั๊ง)  เช่น PTT, กลุ่มธนาคาร(เอาตัวใหญ่ๆหน่อยนะ), CPN, AOT 
Lynch บอกด้วยซ้ำว่าพวกนี้ถ้าปีนึงขึ้นมา 50% ให้เตรียมขายทิ้ง  เพราะขึ้นมาเวอร์ไปแล้ว
จุดเข้าเล่นของพวกนี้คือ  เจอวิกฤต  เพราะโดนไปมันไม่เจ๊ง  เดี๋ยวก็กลับมาได้  อย่างอาจารย์(ขออ้างชื่อหน่อยนะครับ)ก็เข้าซื้อ CPN ตอนไฟไหม้(ได้ราคา 18 บาท  ตอนนี้ไปอยู่ที่ 47 บาท  แต่อาจารย์น่าจะขายทิ้งไปแล้วแหละ)  AOT ตอนโดนปิดสนามบิน(ได้ราคา 35 บาท  ตอนนี้ราวๆ 60 บาท) 
คนอยากรวยคิดว่าพวกนี้เล่นได้  แต่อย่าหวังรวย  เพราะมันไปเรื่อยๆ  เว้นแต่เจอวิกฤตให้เข้าแล้วออกตอนฟื้นตัวเสร็จ  
แต่อย่างไรก็ดีต้องดูพื้นฐานมันด้วย  ไม่งั้นจะเหมือน AOT ที่ร่วงจาก 70 บาทมา 10 บาทตั้งหลายปีกว่าจะไปแตะที่ 60 บาทได้(ทุนเดิมยังไม่ได้เลย)  บริษัทน่ะไม่เจ๊งหรอก  แต่ผู้ถือหุ้นจะเจ๊งก่อน


3. Fast Growers  อันนี้แปลตรงตัวได้ว่าหุ้นโตเร็ว  หรือที่เราคุ้นเคยกันดีในชื่อ Growth Stock  หุ้นที่เป็นที่นิยมมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ(สังเกต ๆ อีกแล้ว)  ไม่ว่าตลาดที่ไหนก็ชอบหุ้นพวกนี้  นักลงทุนเกือบทุกคนชอบมาก  PE จึงจะค่อนข้างสูง  ขอเพียงแค่คุณเจอหุ้นนี้สักตัว  ถือให้นานพอแล้วหลายปีต่อมาคุณก็จะกลายเป็นเซียนทันที !!! 
คนอยากรวยเองก็ชอบหุ้นพวกนี้มาก  เพราะไม่ต้องจับ Timing  เห็นว่าโตได้ก็ใส่ไปเรื่อยๆได้เลย  แถมเจอตัวนึงสบายไปหลายปี  เซียนๆทั้งหลายทั้งแท้ทั้งไม่แท้  ต่างมาจากหุ้นเหล่านี้เป็นส่วนมาก  เช่น CPALL(อ.นิเวศน์  ปรมาจารย์ VI เมืองไทย), HMPRO(อ.นิเวศน์อีกแล้ว  อ.ไพบูลย์ อาจารย์ผมด้วยอ่ะ  และอื่นๆที่ไม่ได้เอ่ยนาม), SCBLIF, CPF ฯลฯ
หุ้นประเภทนี้มีเรื่องให้เขียนเยอะมากๆๆๆๆๆ  ขอยกไปรวมไว้ที่ตอนหน้า  เดี๋ยวจะมีแอบด่าหุ้นบางตัวแบบฟันธงไปเลย  บทนี้ขอคร่าวๆก่อนนะครับ  อิอิ
จุดเข้าเล่นของพวกนี้ไม่ต้องคิดครับ  เจอแล้วใส่ได้ทุกไม้  เคาะขวายาวได้เท่าที่ตังจะเอื้ออำนวย  หรือใครจะอยากจับ timing ดูก็เอา  แต่ระวังรถออกก่อนของครบนะครับ 
แต่เนื่องจากใครๆก็คิดว่าซื้อได้ทุกราคา  แพงเท่าไรก็ซื้อ  ขอเตือนด้วยคำพูดดีๆของคนอื่นครับ(เดี๋ยวจัดเต็มบทหน้าเกี่ยวกับ Growth Stock)

ปู่บัฟ "นักลงทุนส่วนมากชอบคิดว่าโลกที่สวยงามจะไปดำเนินไปต่ออย่างไม่มีที่สิ้นสุด  และโลกที่เลวร้ายก็จะเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ  ทั้งๆที่ความจริงมันมีขึ้นก็ย่อมมีลง  สักวันวันเหล่านั้นจะสิ้นสุดลง"

เซียน VI สักคน " การหาหุ้น Growth Stock คุณต้องทำตัวเหมือน เอ ศุภชัยคือเป็นแมวมอง  มองหาแบร์รี่ก่อนจะเป็นณเดชน์อย่างทุกวันนี้  แล้วคุณจะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ  แต่ถ้าคุณมาเจอหลังจากที่ใครๆรู้จักณเดชน์แล้ว  คุณจะเป็นแค่คนที่จ่ายตังเพื่อดู  ไม่ได้เป็นคนที่นับตังอยู่หลังเวที"

เซียน VI อีกสักคน "Growth Stock จะโตไปเรื่อย  และค่อยๆลดลงๆ  จนสุดท้ายมันจะโตเท่า GDP มิฉะนั้นมันจะโตจนกลืนกินทั้งโลก" 


4. Cyclicals แปลตามตัวได้คือ  หุ้นรอบๆ  หุ้นเล่นรอบ  หรือหุ้นวัฒจักรนั่นเอง หุ้นพวกนี้ส่วนใหญ่คือ Commodity หรือพวกโภคภัณฑ์(ไม่เกี่ยวกับเจ้าสัวนะครับ)  ยกตัวอย่างได้มากมาย  เช่น PTT, BANPU, UPOIC, PSL หรือพวกน้ำมัน  ยางมะตอย  น้ำตาล  นำมันปาล์ม  ทองแดง  ทอง  อะไรเทือกๆนี้แหละครับ  จริงๆก็รวมถึงพวกอสังหาอย่าง SPALI, LH, SIRI ฯลฯ ด้วยแหละครับ  ซึ่งถ้าจับจังหวะดีๆ  รวยเละครับ  เพราะสามารถทำกำไรระยะสั้นได้ดีเป็นอันดับที่ 2 เลยทีเดียวล่ะครับ(ไม่นับหุ้นปั่นนะ)
จุดเข้าเล่น Lynch แนะนำว่าพวกนี้ควรจะซื้อที่ PE ต่ำๆๆๆๆๆๆๆๆ(เริ่มจะฟื้นตัว)  แล้วไปขายที่ PE สูง(ก่อนที่มันจะขึ้นเต็มที่)  หุ้นพวกนี้ประเมินด้วย PE ไม่ได้ครับ  เพราะกำไรมันมาเป็นก้อนๆแล้วหายไป  ต้องอาศัยการรู้สภาวะเศรษฐกิจที่อิงกับหุ้นตัวนั้นๆด้วย  เช่นราคาน้ำมันโลก  ราคายางโลก  ราคาน้ำตาล ฯลฯ  ซึ่ง Lynch แกก็เล่นบ้างนะครับ  
สำหรับคนอยากรวยขอผ่านฮะ  รอ Level Up ก่อนแล้วถึงจะดู  เพราะโดยส่วนตัวมองว่าดูและเดาทางยาก  แต่ถ้าเล่นเป็น 10 เด้งก็มีมาแล้วครับ  เช่นช่วงนี้ที่อสังหาบูม SPALI และ RML วิ่งมาแล้ว 10 เด้งและดูเหมือนจะวิ่งต่อกันซะด้วย  แต่ money game นี้ง่ายๆครับ  "ลุกคนสุดท้าย  จ่ายตัง"


5. Turnarouds  แปลตรงตัวก็ได้ครับว่าหุ้นกลับตัว  หรือหุ้นฟื้นตัว  หุ้นแบบนี้ก็เป็นที่นิยมไม่แพ้ Growth Stock เหมือนกัน(จริงๆมันแพ้อยู่นะ)  เป็นหุ้นที่กำลังย่ำแย่ด้วยอะไรสักอย่าง  แต่กำลังจะฟื้นตัว  ซึ่งถ้า turnaround จริง  จะสามารถทำกำไรระยะสั้นได้ดีที่สุด  เรียกว่าเจอทีนึงเปลี่ยนฐานะกันเลยล่ะครับ  หุ้นพวกนี้เช่น JAS(ตำนาน 10 เด้งมากๆ  กำเนิดเซียนและเม่ามามากมาย), KAMART(ที่ตัดสินใจเปลี่ยนแนวธุรกิจจาก distar), RML(อาจจะนะ  รอดูก่อน), THCOM(มาแน่  แต่รับรู้ข่าวไปหมดและ) อะไรพวกนี้น่ะครับ
จุดเข้าเล่น เมื่อไหร่ก็ได้ที่ยังไม่มีคนรู้ตัวว่ามันจะฟื้นตัว  ตัวนี้ไม่ต้องจับ timing มากเช่นกัน  แต่เราต้องมั่นใจว่ามันจะ turnaround จริงๆ  ถ้ามาเทิร์นหลอกๆ  โชคดีก้อาจจะราคาไม่ไปไหน  แต่โชคร้ายเจ๊งกันไปใหญ่นี่เจ็บหนัก  พอฟื้นตัวแล้วก็ดูอีกทีว่ามันเป็นหุ้นแบบไหน  ถ้าโชคดีเจอว่ามันฟื้นว่าเป็น Growth Stock ด้วยก็ 2 เด้งล่ะครับ  เรียกว่ากำไรบานเลย  ตัวอย่างที่ดีก็ JAS อีกนั่นแหละ
คนอยากรวยกับ Lynch เห็นด้วยว่าควรจะมีสักตัวในพอร์ท  แต่ไม่ต้องถึงกับต้องมีให้ได้นะครับ  ถ้าหาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร  แต่ถ้าเจอทีนึงแล้วมั่นใจมากๆ  bet กับมันไปรอบเดียว  ออกมารวยเลยนะครับ(ต้องมั่นใจนะ)  Lynch บอกว่าถ้ามีหุ้นอย่างนี้สักตัวใน 10 ตัว  ที่เหลือจะกำไรไม่ค่อยดีก็ไม่เป็นไร  มีตัวนี้ตัวเดียวพอร์ทสวยครับ  แต่คนอยากรวยมองว่า  ถ้ามั่นใจกับมันจริงๆ  ใส่กับมันไปเยอะเลยครับ  ออกมารวยเลย(แต่ไม่ออกก็จนไปเลยนะ)  ไม่แน่ว่า JAS ตัวต่อไปอาจจะอยู่แถวๆนี้ก็ได้นะ


6. Asset Plays แปลตรงตัวได้อีกแล้วว่าเล่นสินทรัพย์  หรือหุ้นประเภทนั่งทับเงินอยู่นั่นเอง  พวกนี้อาจารย์บอกเลยว่าในเมืองไทยเล่นยาก  คือบริษัทที่สามารถซื้อทั้งหมดได้ในราคาสัก 20ล้าน  แต่แค่ที่ดินทั้งหมดก็ขายได้ 30 ล้านแล้ว  ไม่นับโรงงานเงินสดหรืออื่นๆอีก  หรือสายการบินที่ทั้งสายราคาเท่าเครื่องบิน 5 ลำ  แต่มีเครื่องบิน 20 ลำ อะไรประมาณนั้นแหละ  พวกนี้เล่นยากเพราะเราไม่รู้เมื่อไหร่มันจะ unlock value ตรงส่วนนี้ออกมา  ถึงเราจะรู้ว่าที่ดินตรงนี้มันขายได้ถึง 30 ล้าน  แต่บริษัทไม่ขายจะทำไม ???  ถ้าเป็นอย่างนั้นราคาที่เราถือมันก็ไม่ไปไหนสักทีสิครับ
จุดเข้าเล่น คนอยากรวยเข้าใจว่าเราจะเล่นหุ้นพวกนี้เมื่อเราพบตัว Catalyte ที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงในเวลาอันใกล้  เพราะถ้าไม่มีตัวเร่งหรือตัวปลดล็อคคุณค่า  ก็ไม่มีใครเห็นคุณค่านั้น  ถ้าไม่ปลดสักทีเราก็ไม่ได้กำไรสักที  โดยสรุปแล้วคนอยากรวยว่าเล่นอยาก  อย่าไปเล่นมันเลย(อ้าว  ซะงั้นอ่ะ)



เป็นงัยกันบ้างกับหุ้นทั้ง 6 ประเภทของนายลินซ์  จำไม่ได้ใช่ไหมครับ  ตอนแรกที่คนอยากรวยอ่านก็จำไม่ได้หรอก  พอเวลาผ่านไปมันก็ค่อยๆซึมและจำได้เองว่ามีอะไรบ้าง  และจะเล่นแบบไหนดี

คนอยากรวยว่า VI ไม่จำเป็นต้องถือตลอดชีวิตหรือถือเป็น 10 ปีนะครับ  ถ้าเราเข้าใจว่าหุ้นแต่ละตัวมันเป็นอย่างไร  และเราจะซื้อเพราะอะไร  แต่เราต้องดูจากพื้นฐานของมันก็พอจะเป็น VI ได้แล้วครับ

ไม่ต้องถือตลอดชีวิตอย่างปู่บัฟก็ได้  คนที่ได้ฉายา hardcore VI อย่างจอห์น เนฟที่ซื้อเฉพาะหุ้น PE ต่ำๆก็บอกว่า "หุ้นทุกตัวของเค้ามีไว้ขาย"  หรือหนึ่งในสุดยอด VI อย่าง Lynch ก็คิดหุ้นทั้ง 6 ประเภทขึ้นมา  และซื้อๆขายๆหลายครั้งมาก  แต่ทุกครั้งเค้าก็ดูพื้นฐาน


คนอยากรวยยังเชื่ออาจารย์ของคนอยากรวยนะครับว่า  "เราต้องรู้ว่าเราซื้อหุ้นตัวนี้เพราะอะไร  และหวังอะไรจากมัน" 




แต่ละคนก็อาจจะแบ่งหุ้นในแบบต่างๆกัน  ไม่จำเป็นต้องมี 6 ประเภทเหมือนคนอยากรวยและ Lynch นะครับ  แต่คนอยากรวยว่าส่วนใหญ่จะมี Growth Stock, Turnarounds และ Cyclicals แน่นอน  บางคนก็มี dividend stock หรือหุ้นปันผลเยอะๆ  บางคนก็มี Superstock หรือหุ้นเมพ  ซึ่ง Superstock คนอยากรวยเข้าใจว่ามันคือหุ้น growth ที่มีคุณลักษณะพิเศษบางอย่างเพิ่มเข้ามา  แต่จริงๆหลักๆก็คือ growth นั่นแหละ
และหุ้นตัวเดียวก็ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่หนึ่งอย่าง  เพราะตั้งแต่มันเกิดมาก็ไม่มีใครให้ประเภทที่แท้จริงมัน  มีแต่เราที่ไปตัดสินมันเอง  อย่าง CPALL ก็เป็นทั้ง growth stock ทั้ง dividend stock และเป็น blue chip ด้วย




สรุปบทนี้ว่า  ท่องไม่ได้ไม่เป็นไร  แต่ในพอร์ทควรจะมีหุ้นเติบโตหรือ Growth Stock เป็นหลักและจะดีมากถ้ามี Turnaround stock ด้วย  ส่วนประเภทอื่นๆคนอยากรวยไม่ค่อยแนะนำแฮะ  อยากเล่นก็ลองไปดูตามจุดเข้าเล่นละกันนะครับ  ถ้าเก่งหน่อยอาจจะพ่วง Cyclicals  และถ้าเกิดวิกฤตกับ blue chip ก็เล่นไปเลย  แต่พวกนี้ต้องมี timing ที่ดีด้วย
ถ้ายังไม่เจอ timing ที่เหมาะสมก็ไม่ต้องรอนะคนอยากรวยว่า  อัด growth stock กับ turnaround stock ให้เต็มพอร์ทแล้วมารวยกันดีกว่า !!! 

แต่ถ้าหาไม่ได้เลยแม้แต่ growth ก็เอาเงินไปเล่น blue chip ก่อนก็ได้นะครับ  สมมติว่ามันไม่วิกฤตก็ต้องดู timing ก่อนเข้านิดนึง  อย่างน้อยก็ดีกว่าเอาตังไปฝากธนาคาร  เพราะ blue chip ไล่ง่ายมาก  ไม่ต้องหาก็เจอเพราะมีคนจัดไว้ให้และมันอยู่ในความรู้สึกเราอยู่แล้ว 



สุดท้ายคนอยากรวยอยากย้ำอีกทีว่า


"เราต้องรู้ว่าเราซื้อหุ้นตัวนี้เพราะอะไร  และหวังอะไรจากมัน"

  
p.s. หาอ่านหุ้นทั้ง 6 ประเภทอย่างละเอียดได้จาก one up on wall street ของ Lynch นะครับ  มีแปลไทยและเป็นหนึ่งในหนังสือการลงทุนที่ดีที่สุด  ไม่ซื้อก็ยืมเพื่อนหรือหา pdf โหลดเอาครับ  อิอิ