วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

เมื่อคนอยากรวยเลือกหุ้นประกันชีวิต

ระหว่างที่ผมศึกษาหุ้นรอเวลาเปิดพอร์ทอยู่นั้น  ก็เหลียวมองซ้ายที  ขวาหลายๆที  และคิดอย่างที่ทุกคนเคยคิดว่า

"กรุจะเลือกหุ้นตัวไหนดีวะ" !!!

ว่าแล้วก็ไปนั่งอ่านไปเรื่อย  เผอิญเพื่อนคนนึงที่เรียนคณะเดียวกันบ้าหุ้นมาก(เพิ่งบ้าได้สักปีนึง)แถมชอบบอกว่าตัวเองเป็น VI  ได้ดึงคนอยากรวยไปเข้า group บ้าบออะไรไม่รู้ที่มีแต่คนในคณะที่ชอบเล่นหุ้น  ก็เลยนั่งอ่านไปเรื่อยๆดู post ย้อนหลังเจอโพสของเพื่อนคนนี้ว่า "เข้า BLA ไปแล้วล่ะ  เข้าตาม fundamental"

เอ๊ะ!!!  ทำไมถึงเข้าตัวนี้  ตัวนี้มันคือหุ้นบ้าอะไร  พื้นฐานมันดีหรอ ???

รู้ตัวย่อ 5 วิฯก็รู้ชื่อบริษัทแล้วครับ  ไปแอบเปิดดู  อ้อ "กรุงเทพประกันชีวิต"

ก็เลยนั่งหาข้อมูลดูว่า  ทำไมนะมันมีอะไรดี  ข้อมูลจากไหนน่ะหรอ  ไม่ยากครับ thaivi ใน ร้อยคนร้อยหุ้น  ไม่ต้องโพสนะ  อ่านอย่างเดียว  ย้อนหลังไปสัก 1-2 ปีก็รู้เรื่องแล้วครับ

แล้วก็อ่าน 56-1 งบการเงิน(แกะไม่เป็นหรอกนะ  ดูพอเป็นพิธีแบบมือใหม่) annual report และ slide presentation ของ opp day(คนอยากรวยชอบ 2 อันหลังมาก  สีเยอะดี) = ="


สรุปอุตสาหกรรมก่อนนะครับ 

1. ธุรกิจประกันชีวิตในตลาดหุ้นมีแค่ 2 ตัวคือ SCBLIF และ BLA ซึ่งจริงๆแล้ว BLA เพิ่งเข้าตลาดเมื่อปี 09(หรือ 3 ปีที่แล้วเอง  แต่ก่อตั้งมานานแล้วนะ) 

ซึ่งอันดับ 1 ในประกันชีวิตตอนนี้คือ AIA กิน market share ที่ราวๆ 20%+
ที่ 2 และ 3 คือ ไทยประกันชีวิต(สีน้ำเงิน)  และเมืองไทยประกันชีวิต(สีชมพู) ตามลำดับ  กิน market share ที่ 10%นิดๆทั้งคู่ครับ
อันดับที่ 4 และ 5 คือ BLA และ SCBLIF ตามลำดับเช่นกันครับ  กิน market share เกือบๆ 10%
ส่วน runner up ที่น่ากลัวคืออันดับที่ 6 และ 7 คือ กรุงไทยแอกซ่า(AXA) และ อยุธยา อลิอันซ์(AACP) เพราะตัวนึงเป็นธนาคารใหญ  สาขาเยอะ  ข้าราชการเยอะ  อีกตัวกำลังภายในสูงครับ  ตัวไหนเป็นตัวไหนลองเดาเองนะครับ  ทั้งคู่กิน market share ราวๆ 6% เท่ากับครับ


2. ธุรกิจประกันโตโดยอาศัยเงินชาวบ้านมาลงทุน  แล้วคืนเค้าพร้อมดอก  ถามว่า ROI เยอะมั๊ย  ไม่เยอะหรอก  ธุรกิจพวกนี้ ROI แค่ 5-6% อาจจะน้อยกว่าด้วย
-> จะคุ้มหรอ  ลงทุนเองดีกว่ามั๊ย ???
เอางี้  สมมตินะครับ
- ผมมีเงิน 1m ผมลงทุนเองได้ผลตอบแทน 20% ต่อปี  สิ้นปีผมได้ 1,200,000 บาท
- ผมมีเงิน 1m ยืมชาวบ้านมาลงทุนเพิ่มอีก 99m รวมเป็น 100m  ชาวบ้านบอกคิดดอกเบี้ย 4% นะ  แต่ผมเอาตัง 100m ไปซื้อ bond หรืออะไรก็ตามได้ผลตอบแทน 5%
มาคิดเลขกันหน่อย 5% ของ 100m ก็คือ 5m นั่นคือผมได้ผลตอบแทน 5m
แต่ผมต้องคืน 99m รวมกับดอก 4% คือ 3.96m
สิ้นปีผมมีเงิน 105m  ต้องคืนชาวบ้านรวมดอก 105-99-3.96=2.04 ล้าน

เห็นไหมครับว่าผมได้กำไรมากกว่าลงทุนเอง ROI 20% ตั้ง 840,000

นี่ขนาดปีเดียวนะครับ  ถ้าผมยืมได้ 10 ปี  แต่ก็ต้องให้ดอก 4%ทุกปี(คือ 3.96m ทุกปี)  ผมจะได้มากกว่ากำไรมากกว่า 1.04m อีกครับ

ซึ่งจริงๆธุรกิจประกันชีวิตก็เป็นการยืมมาหลายๆปีนั่นเอง  แต่มีความซับซ้อนกว่าสมการง่ายๆของผมอีกมากนัก  เช่น  ไหนจะต้องมีการจ่ายเงินชดเชยเวลาป่วย  ตาย  หรือค่าจ้างพนักงานจ้างผู้บริหาร
แต่จะซับซ้อนแค่ไหน  มาดูกันครับ

3. ธุรกิจประกันซื้อแล้วต้องซื้อเจ้าเดิมต่อ  เพราะจ่ายไม่ครบเสียผลประโยชน์  เอาคืนก่อนเสียผลประโยชน์  ยิ่งทำนานก็ต้องจ่ายเบี้ยกันยาว
มองในแง่คนทำ -> ได้ผลประโยชน์ทางภาษี  ได้ดอกมากกว่าฝากธนาคาร  ได้คุ้มครองชีวิตด้วย(แต่เอาเงินออกมาไม่ได้สะดวกเหมือนธนาคาร)  เป็นทางเลือกสำหรับคนออม  ประกอบกับธนาคารรับประกันเงินฝากแค่ 1m  ทำให้คนทั่วไปต้องนำเงินไปเก็บในรูปอื่นเช่น พันธบัตร  การทำประกัน ฯลฯ มากขึ้น

4. ประกันชีวิตขายกระดาษเปล่า  ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มมาก  อาคารก็มีไม่กี่ที่  อาศัยตัวแทนกับธนาคารเอา  สินค้าเป็นอากาศ  ไม่มีตัวตน

5. ไม่มีหนี้สิน  ไม่ต้องกู้  หนี้สินมีแต่เงินที่ต้องคืนชาวบ้าน  ไม่มีสินค้าคงเหลือ ขายออกมาได้เป็นเงินสด  โอกาสเจ๊งน้อยมากๆ(เว้นแต่คนตายเป็นเบือจริงๆ  แต่ต้องเป็นคนที่ทำประกันนะ  ซึ่งถ้ามีเวลานั้นจริงๆ  เอาตัวเองให้รอดก่อนเถอะ)  ทำให้ไม่ต้องสนใจหนี้สินมาก(คนแกะงบไม่เก่งอย่างคนอยากรวยชอบมากๆ)

6. ตลาดประกันยังมี room ให้โตอีกมาก(แค่ไหนไม่รู้)  ปัจจุบันประกันชีวิตมีอัตราถือครองหรือ penetration rate อยู่ที่ 28%  เทียบกับประเทศที่เจริญแล้วเค้าถือกันเกือบ 100% หรือบางที่อย่างญี่ปุ่นถือกันเกิน 100%
แต่ต้องระวังนิดนึงว่า  เราไม่รู้ว่า room เหลือเท่าไร  เพราะคนจนยังมีอีกมาก  และการให้ความรู้เรื่องประกันชีวิตยังต่ำมาก(คนมีความรู้เรื่องนี้น้อย  ต่อให้การศึกษาดีๆยังไม่ค่อยรู้เลย  ถ้าการศึกษาไม่ดีก็น่าคิดนะ)

***ปัจจัยนี้ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของประกันชีวิต*** 

เพราะถ้า room ยังมีอีกเยอะก็คือยังเป็น blue ocean ได้อยู่  เค้กก้อนตั้งใหญ่  ยังไม่ต้องแย่งกัน  ต่อให้ไม่ใช่อันดับต้นๆ  ขอแค่โตไปพร้อมกับอุตสาหกรรมก็พอ  แต่ถ้าเป็นผุ้นำได้ก็ดี
แต่ถ้า room ไม่เหลือแล้ว  การโตจะจำกัด PE จะเหลือแค่ราวๆ 7-8(อ้างอิงจากประเทศที่โตเต็มที่แล้ว)  ไม่น่าลงทุนแล้ว  ขายเถอะ TT^TT

7. ช่วงนี้เป็น growth stage ของธุรกิจ  จะโตแบบ snow ball
อธิบายคร่าวๆคือ
สมมติปีนี้มีเงินลงทุน 100,000m  ได้รายได้เข้ามาลงทุนเพิ่มปีนี้ 30,000m(รวมคนเก่าคนใหม่) เป็น 130,000m 
ปีหน้าอีกคนที่จ่าย 30,000m ก็ต้องมาจ่ายต่อ  แถมมีคนใหม่มาอีกสัก 10,000 ล้าน  รวมเป็น 130,000+30,000+10,000=150,000m
ปีต่อไป  คนที่จ่าย 30,000 และ 10,000 ก็ต้องมาจ่ายต่อ  คนใหม่ก็ต้องมาจ่ายอีก 11,000(สมมติอุตสาหกรรมโต 10%)  รวมได้150,000+30,000+10,000+11,000= 201,000m

หรือต่อให้แย่สุดๆ  ไม่มีคนมาทำประกันเพิ่มเลยแม้แต่คนเดียว  คนที่จ่าย 30,000m ก็ต้องมาจ่ายเพิ่มอีกในปีหน้าอีกหลายปี   ซึ่งแปลว่าต่อให้นอนนวดกะปู๋อยู่บ้านก็มีรายได้เข้ามาฟรีๆ
แต่นี้เค้าก็ต้องขายต่อ  ซึ่งจะทำให้รายได้เกิดแบบทบต้น

p.s. แต่จริงๆคนที่จ่าย 30,000 เค้าไม่จ่าย 30,000 ต่อในปีหน้าหรอก  ต้องมีส่วนนึงหมดประกันไม่ต้องจ่ายต่อ  กับอีกคนนึงไม่จ่ายแล้ว  กรุไม่มีตัง  ดังนั้น  มันจะน้อยกว่า 30,000 ครับ

8. FYP(first year premium) = เบี้ยรับปีแรก  ซึ่งจะบ่งถึงการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม  ซึ่งควรจะโตทุกปี  และหวังถึงเลขสองหลักได้ครับ
    RYP(renewal year premium) = เบี้ยต่อ  คือเอา TPของปีก่อน  หักเบี้ยจ่ายครั้งเดียว(single premium)คูณอัตราคงอยู่ของกรมธรรม์ครับ  ปกติอัตราคงอยู่ของกรมธรรม์อยู่ที่ประมาณ 90% ครับ  เพราะส่วนมากต้องต่อ  ไม่ต่อเสียผลประโยชน์ครับ
    TP(total premium) = เบี้ยรับรวม  คือเอา FYP + RYP ครับ  ปกติ TP มันควรจะโตทุกปีอยุ่แล้วครับ(ไม่ว่าธุรกิจจะทุเรศขนาดไหน)  ดังนั้นย้ำอีกทีว่า  เราจะไม่เอา TP มาวัดการโตของอุตสหกรรม
(ถ้า TP มันจะไม่โต  แสดงว่า FYP = ส่วนต่างของ TPปีก่อนลบ RYP ปีนี้ครับ  บ่งว่าอุตสาหกรรม room เริ่มเต็มแล้ว  และควรขายทิ้งได้แล้วครับ)
ซึ่ง 3 คำนี้ต้องจำให้ได้ครับ  เป็นพื้นฐานถ้าคิดจะศึกษากลุ่มประกันชีวิตเลยทีเดียว

ส่วนที่ต้องรู้ศัพท์เพิ่มเติมคือประกันแบบ endowment และไม่ใช่ endowment
ประกันชีวิตแบบ endowment คือสะสมทรัพย์หรือพูดแบบทางธรุกิจว่าแบบเราขาดทุนครับ  คือเค้าให้ตังเรามา 100 เราต้องให้ดอกเบี้ยเค้า 3 บาททุกปี  ปีสุดท้ายคือ 110 บาท  และน่าเสียใจตรงที่ว่าประกันแบบนี้คือตัวหลักของรายได้เลยประมาณ 60-80% ของรายได้ทั้งหมดเลยครับ(ก็เค้าซื้อมาหวังลดหย่อนภาษีนี่คุณ)  ซึ่งแปลว่าถ้าเราหา ROI ได้ 5% แต่เราต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 3% ทำให้กำไรเราเหลือแค่ราวๆ 1%เท่านั้น(ถัวๆหักค่าใช้จ่ายต่างๆไปด้วย)  ถึงแม้เงินที่เหลือจะอยู่ที่เรา  แต่เราก็ต้องเอาไปคืนเค้าในอนาคตอยู่ดี  และประกันแบบนี้ทำให้ต้องตั้งสำรองสูงด้วยครับ
ประกันชีวิตแบบ non-endowment คือแบบไม่สะสมทรัพย์  แบบนี้ธุรกิจชอบครับ  เพราะไม่ต้องจ่ายเงินคืน  จ่ายแต่ค่าสินไหมทดแทน  อารมณ์จะคล้ายๆกับประกันภัยครับ  เงินที่ไม่ได้จ่ายสินไหมอิ๊บไปได้เลย ^^
ซึ่งถ้าบริษัทไหนขายแบบ endowment มาก  แม้รายได้จะสูงในช่วงแรก  แต่กำไรในอนาคตปีหลังๆมันจะต่ำครับ(เพราะเงินจ่ายคืนตามกรมธรรม์จะสูงขึ้นมาก)  เพราะได้มาก็ต้องคืนเค้าไป

9. ย้ำอีกทีว่า ROI ธุรกิจประกันไม่สูงมาก  ประมาณ 5-6%(บางบริษัทอาจจะน้อยกว่านั้น)  ส่วนมากลงทุนในพันธบัตร(ระยะยาว)ประมาณ 60%+  หุ้นกู้เกือบ 20% ที่เหลือกระจายเป็นหุ้น  เงินลงทุนระยะสั้น  ส่วนน้อยมากๆเป็นเงินให้กู้ยืมและลงในกองทุน

10. ประกันชีวิตน่าจะเป็น megatrend เพราะสังคมไทยเข้าสู่วัยผุ้สูงอายุมากขึ้น  คนน่าจะสนใจทำประกันมากขึ้น  ประกอบกับนโยบายขึ้นค่าแรง  เงินเดือนต่างๆ  ทำให้คนมีโอกาสเสียภาษีมากขึ้น  สำหรับคนที่ไม่สนใจการลงทุน  ประกันคืออะไรที่ผลตอบแทนแน่นอนกว่า  ลดภาษีได้เหมือนกัน  ดูน่าสนใจกว่าครับ
และmodern trade ของธุรกิจนี้คาดว่าจะเป็น banc ครับ  คือการขายประกันผ่านธนาคาร  ซึ่งถ้าเป็น modern trade จริงๆ(เท่าที่ดูมันก็น่าจะเป็นอย่างนั้นนะ) Top Four ก็น่าจะเป็นธนาคารที่แข็งแกร่งที่สุดครับ  ซึ่งคือ กรุงเทพ  กรุงไทย  ไทยพาณิชย์  และกสิกรครับ  แต่อาจจะต้องใช้เวลาพักใหญ่ๆ  เพราะถูกอันดับ 1 และ2ทิ้งห่างเยอะมาก  คาดว่าอาจจะใช้เวลามากกว่า 5 ปีครับ(แต่อันดับ 4 กับ 5 โม้ว่าจะขึ้นที่ 3 ใน 3 ปีนะ  โฮะๆๆๆๆ)

11. การหามูลค่ายุติธรรมของธุรกิจประกันชีวิตทำได้ยากมาก  เพราะอย่างที่บอกว่าถ้าซื้อแล้วต้องมาซื้อทุกปี  ดังนั้นปีนี้ได้เงิน  ปีหน้าไม่ทำอะไรเลยก็ได้เงิน  การคำนวณธุรกิจพวกนี้จะใช้ Appraisal Value(AV) ครับ
ซึ่ง AV = EV + VNB

อย่าเพิ่งงงนะครับ  จะพยายามอธิบายให้ฟัง

EV หรือ Embedded Value (EV) = Net Asset Value (NAV) + Value In Force (VIF)
(มึนไหมครับ  มีมาอีก 2 ตัว)
ซึ่ง NAV คงไม่ต้องอธิบาย  มันคือ BV นั่นเอง
ส่วน VIF คือมูลค่าที่สะท้อนกำไรจากสัญญาหรือกรมธรรม์ที่ทำไปแล้วน่ะครับ  แต่มันจะมาในอนาคต  เหมือนที่บอกว่าคนที่จ่าย 30,000 ต้องจ่าย 30,000 ไปอีก 10 ปีนั่นแหละครับ  จริงๆปีนี้ผมได้มาแค่ 30,000 แต่เดี๋ยวมันมาอีกหลายแสนในอนาคตครับ

EV จะเป็นการอธิบายว่า  ถ้าบริษัทเรานอนนวดกะปู๋เฉยๆไม่หาลูกค้า  ทั้งบริษัทจะมีค่าเท่าไรนั่นเองครับ



ส่วน VNB หรือ Value of New Business คือบริษัทเราไม่นอนนวดกะปู๋เฉยๆครับ  แต่ออกไปหาลูกค้าด้วย  ซึ่งลูกค้าที่มาทำประกันเพิ่มนี่คือมูลค่าของธุรกิจใหม่นั่น  ซึ่งจะได้ VNB ต้องรู้จัก Value of 1 year new business ซะก่อน(อย่าเพิ่งปวดหัวนะครับ  ค่อยๆอ่านไป)  คือการดู 12 เดือน(ก็ 1ปีตามชื่อนั่นแหละ)ย้อนหลังว่าคุณหาลูกค้าใหม่มาได้แค่ไหน  และเอาตัว multiple มาคูณเพราะลูกค้าใหม่ไม่ได้มาจ่ายตังแค่ปีเดียว
สรุปว่า VNB = Value of 1 year new business x multiple ครับ

สรุปอีกทีคร่าวๆนะครับ
EV คือราคาหุ้นจากส่วนที่เป็นทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัททั้งที่มีอยู่ตอนนี้  และที่จะมาจากอนาคตครับ(โดยไม่มีการรับลูกค้าใหม่แล้วครับ)
VNB คือราคาหุ้นจากส่วนลูกค้าใหม่ที่คาดว่าน่าจะหามาได้ครับ
multiple คือตัวคูณ  ซึ่งไม่แน่ใจที่มาที่ไปเหมือนกันครับ 555+


แต่ไม่ต้องห่วงครับ  ทั้ง multiple, EV จะมีคนคำนวนมาให้ครับ(เพราะคิดเองไม่ได้แน่ๆ)
โดย multiple เห็นเค้าบอกว่าปกติจะอยู่ราวๆ 8-10

เช่นปี 53 ได้ EV 18.2 VNB 1.8
เข้าสมการจะได้ 18.2+(1.8x10)=36.2 บาทครับ

ย้ำอีกทีว่าเลขพวกนี้เราไม่มีปัญญาคิดนะครับ  ที่ทำได้ก็แค่ประมาณ EPS แล้วคิดกลับโดยใช้ PE เป็นราคาครับ  อาจจะใกล้เคียงมาอีกนิด




พอจะเข้าใจอุตสาหกรรมประกันชีวิตกันมากขึ้นหรือยังครับ(จริงๆคนอยากรวยเขียนมาเตือนตัวเองด้วย  เผื่อลืมครับ)




เดี๋ยวเราจะมา review หุ้นอีก 2 ตัวคือ SCBLIF และ BLA กันต่อครับ ^^

2 ความคิดเห็น:

  1. อืมก็น่าสนนะ :) กำลังศึกษารายละเอียดอยู่เหมือนกัน ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล

    ตอบลบ
  2. ขอแก้สูตรให้พร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมครับ....

    Embedded Value + Value of Future Business
    = (Adjusted Net Worth + Value of Inforce) + (Multiplier x Value of New Business)
    = ([Market Value Asset - Statutory liability] + Value of Inforce) + (Multiplier x Value of New Business)


    อีกทั้ง Return ของบริษัทประกันภัยนั้นส่วนใหญ่คำนวณจาก IRR ของ Distributable Earning ที่เป็นกำไรส่วนที่หัก required capital ที่เป็นเงินกองทุนขั้นต่ำ และภาษีแล้วครับ ส่วนใหญ่เราจะเรียกว่า Return on Capital ซึ่งก็คาดหวังว่าจะเกิน 10% กันทั่วโลก

    ทั้งนี้ Return on asset (ในบทความข้างบนเขียนว่า ROI) นั้นเป็นอะไรที่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์กันได้ เนื่องจากเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่นไม่ได้ครับ

    ตอบลบ