วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กลับมาเขียนใหม่ ด้วยหุ้น turnarounds : KTC

หายหน้าหายตาไปนานเพราะติด FM2013 เกมบ้าอะไรทำคนอยากรวยเสียเวลาชีวิตจริงๆ

จริงๆช่วงที่หายไปมีการปรับพอร์ทเยอะมาก  แต่ขี้เกียจเขียน(แต่ศึกษาแล้วนะ)
เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา  เริ่มที่ตัวแรกก่อนเลยดีกว่า


turnarounds stock : KTC

ktc ตัวนี้ใครอยุ่ในวงการหุ้นคงจะได้ยินชื่อเป็นอย่างดี  ใครที่ไม่ได้อยู่ก็คงจะรู้จักในนาม"บัตรเครดิตธนาคารกรุงไทย"


คนอยากรวยเล่าประวัติคร่าวๆว่าตัวนี้ถูกอยู่นานมาก  เพราะมันไซฟ่_นกันไส้ไหล  เทรดกันที่ 0.5 book มา 2-3 ปี   NPL ทะลุ 6-7% เลยมั๊งตอนนั้นคนอยากรวยเข้าตลาดไม่ทัน


มาตอนนี้ story ของหุ้น turnarounds คือ turn around นี่แหละ(จริงไหมล่ะ)
แต่จริงๆคือเปลี่ยน ผบห คนใหม่  ซึ่งขอแค่ไม่ทำกันแบบคนที่แล้วก็พอจะทำให้ขยับมาเทรดที่ book ได้แล้วล่ะครับ


จะโม้ก่อนว่าคนอยากรวยได้ยินหุ้นตัวนี้เป็นตัวแรกๆที่รุ้จัก  โดยอาจารย์คุยกับใครก็ไม่รู้(น่าจะเป็นมาร์)  แล้วพูดว่ามันถูกมากนะ  0.5 book เอง   ตอนนั้นราคา 10 บาท
ผ่านไปครึ่งปีอาจารย์โทรมาบอกว่า  เออ ตัวนี้เหมือนจะ turn นะ  ตอนนั้ 18 บาท  ไม่กล้าซื้อ  เพราะขึ้นมาตั้ง 80%  อาจารย์ก็ย้ำว่า  เออน่า  มันยังถูกอยู่มาก !!!

สรุปได้เข้ามาแถวๆ 25-26 บาท  ใครมาแถวนี้ทุนก็เท่าคนอยากรวยล่ะครับ



โม้ไปนิด  เข้าเรื่องดีกว่า

จำ template การเขียนตัวเองไม่ได้และ  มั่วใหม่เลยละกันนะ

วิเคราะห์ตัวเลข

1. รายได้  มาจาก 2 ส่วนคือ

- MDR ยาวๆว่า merchant discount rate แปลว่าเวลาเรารูดบัตร 1,000 จะมีตังส่วนนึงหักแล้วส่งมาให้ ktc ครับ  เพราะอย่างนี้พ่อค้าเลยชอบรับเงินสดมากกว่า  ไม่ต้องเสียค่าต๋ง  แต่บางทีก็ต้องยอมเพราะของใหญ่  ลูกค้าไม่มีตังจ่ายรวดเดียว  ได้น้อยลงนิดหน่อยดีกว่าไม่ได้  ตรงนี้ได้ราวๆ 1-1.5% ของสินค้า  แล้วแต่ชนิด  ส่วนมากได้ 1.1-1.2%  ถ้าขี้เกียจคิดก็คำนวน normal ratio เอาครับ  จริงๆถ้า track รายได้มาจะเห็นมันเท่าๆกันหมดเลย  เพราะบัตรเครดิตมันโตตามการใช้จ่ายของคนในประเทศครับ  ซึ่งที่ผ่านๆมาก็ไม่มีปีไหนที่ย่ำแย่(จริงๆ hamburger crisis การแด๊กของคนไทยไม่ได้เปลี่ยนมากนะครับ  คนนอกวงการเศรษฐกิจแทบไม่กระทบเลย)  ซึ่งดูแนวโน้มปีหน้าก็น่าจะไม่แย่กว่านี้(น่าจะดีขึ้นนิดนึงด้วยซ้ำ)

- interest ที่แปลว่าสนใจ  เอ๊ย  ดอกเบี้ยครับ  คือคนที่จ่ายไม่ตรงกำหนดก็จะโดนดอกนั่นเอง  ซึ่งปกติถ้าเป็น target group เดิม  รายได้ตรงนี้ก็จะไม่เปลี่ยนเช่นกันครับ  เพราะลูกค้าแบบเดิมๆ  มันก็ไม่จ่ายแบบเดิมๆนั่นแหละครับ  ซึ่งถ้าตามดีๆก็จะเห็นว่ารายได้ตรงนี้เท่าๆเดิมทุกปีเช่นกัน  เพราะ positioning ของ KTC ยังไม่ได้เปลี่ยนเท่าไหร่นัก


ตรงนี้น่าสนใจว่า  ถ้า target group เป็น premium MDR จะสูงครับ  แต่ดอกจะไม่เยอะ(เพราะกูรวย  แต่ขี้เกียจพกตัง  ใครจะทำไม)  แต่ถ้าเป็นรากหญ้าหน่อย  ก็จะกลับกันครับ  ใช้ทีละน้อยๆ  แต่จ่ายได้หรือเปล่าว่ากันอีกที  ทำให้ดอกเยอะ  MDR น้อย

จริงๆถ้าตามรายได้มา  จะเห็นว่าไม่เปลี่ยนมาก  จริงๆบริษัทมีนโยบายจะเพิ่มรายได้ด้วยการอัดแคมเปญหรืองบการตลาดลงไป  บอกว่าจะโต 8-10%   แต่คนอยากรวย conserv ว่าเท่าเดิมครับ 11,000m (รวมอื่นๆและอัตราแลกเปลี่ยนด้วยนะครับ)



2. รายจ่าย

ตรงนี้คือ key ที่จะ turn around เลยครับ  รายจ่าย
บางคนที่มาดูงบถึงไม่สนใจตัวนี้  เพราะโตจากการลดรายจ่ายมันลดได้ไม่มาก  จริงหรือเปล่ามาวิเคราะห์กันครับ

- รายจ่ายแรกคือ cost to income เป็นคำศัพท์ใหม่ครับ  แปลตรงๆก็ต้นทุนต่างๆแหละครับ  หลักๆก็ marketing cost, salary, outsouce  ซึ่งเดิม KTC อยู่ที่ 47-48% ของรายได้(ก็คือราวๆ 5,500m)  ปกติอุตสาหกรรมเค้าต่ำกว่า 40% ครับ  เอาง่ายๆว่าถ้าลดได้ 40% อย่างเค้าบ้าง  กำไรโผล่มาดื้อๆ 800m ครับ

แน่นอน ผบห ก็มาบอกว่าจะลดเลยครับ  เป้าก็ตามอุตสาหกรรมอ่ะครับ  40%  ตรงนี้คนอยากรวยมองว่าลดได้แน่ๆครับ  แต่จะลดได้แค่ไหนมากกว่า  เพราะบางอย่างที่มันฟุ่มเพือยลดได้  เหมือนคนอยากรวยให้ประหยัดนั่นแหละ  รายจ่ายเราลดลงแน่ๆ  แต่จะลดได้มากแค่ไหน  เพราะมีบางอย่างที่ลดไม่ได้  บางอย่างที่ลดยาก  เช่นเงินเดือน  ไปลดของลูกน้องดื้อๆมีตีกันตายครับ  marketing cost ก็ลดยาก  เพราะบัตรเครดิตไม่มีโปรดีๆหน่อยคนก็ไม่อยากใช้  แต่อะไรที่ฟุ่มเพือยก็ลดได้ครับ  พนง สวยๆ(ที่จ้างแพง)ก็ไล่ออกไป  สาขาที่ไม่ effective ก็ปิดไป  outsource ก็ดึงกลับมาทำเอง

แต่การจะได้ 40% บางทีอาจจะต้องเพิ่มรายได้แทนการลดรายจ่ายอย่างเดียวด้วยครับ  ซึ่งมันเป็นความเสี่ยง  เพราะ marketing cost อัดไปแล้ว  คนจะใช้จ่ายหรือเปล่าต้องไปลุ้นอีกที


- ประเด็นรายจ่ายต่อมาคือ NPL ครับ  ตรงนี้คือเอาหนี้สูญมาลบกับหนี้สูญได้รับคืน  จริงๆโดนอยุ่ที่ 7-8%  แต่ที่ผ่านมาทำได้ลงมาเหลือ 3-4%  ดู % มันกระจิ๊ดเดียวครับ  แต่ถ้าดูตัวเลข  ไอ้หนี้เสีย 7-8% เนี่ยมันราวๆ 3,XXX m ต้นๆครับ  ถ้าลดลงเหลือ 4% ได้(เท่าอุตสาหกรรมเลยนะ 4% เนี่ย)  ก็จะลงมาได้อีก 1,500m ครับ(ปัดๆลงแล้วนะ)  เอาแค่หนี้สูญตรงนี้  บวกกับ cost to income ที่ลดได้ 40% อีก 800m  แค่นี้ก็ 2,300m โดยที่บริษัทไม่ต้องกำไรสักบาทเดียวก็ได้ครับ  ราคาก็ไปตีต่อกันเองครับ

แต่ประเด็นคือ NPL มันจะเป็นอย่างนั้นจริงหรือเปล่า  เพราะที่มันเก็บได้เยอะใน 2 ไตรมาสที่ผ่านมา  เพราะมันล้างบางไปเยอะมาก  เยอะจนแบบมึงควรจะเก็บกลับมาได้บ้าง
คำถามคือเก็บไปเยอะๆแล้ว  จะเหลือให้เก็บอีกไหม  ตอบตรงๆก็คงไม่เหลือน่ะครับ  แต่ว่าถ้าคุมหนี้ดีๆ  มันก็ไม่ควรเกินกว่าอุตสาหกรรมเท่าไหร่  ก็คือที่ 4%


- interest จ่าย  อยุ่ที่ราวๆ 2,000m ครับ



เอาคร่าวๆแค่นี้คงพอคำนวนกันได้

โดยส่วนตัวคนอยากรวยมองว่า cost to income 40% เป็นไปได้ยาก  เอาแค่ดีกว่าเดิมนิดหน่อยก็โอเคแล้ว  ผม discount 50% ขอแค่ 400m พอ
npl จาก 8% ลดลง 1% คือกำไรเพิ่มราวๆ 400m  ถ้าเหลือ 5%(ลดลง 3%) ก็ 3x400 = 1,200m ถ้า 6% ก็ 800m
ชอบเลขไหนใส่กันตามสะดวก


ผมมองแบบลดให้สุดๆ  กำไร 1,000m น่าจะพอไหว  แบบรายได้ไม่โตเลยนะครับ  ลดรายจ่ายอย่างเดียว ถามว่ากำไร 1,000m ให้ราคาเท่าไหร่ดี  ตอนนี้ marketcap เกือบ 7,000m PE 7
มองในแง่ดีกำไรอาจจะไปไกลกว่านี้ถ้าลดส่วนต่างๆได้โดยเฉพาะ NPL  และอาจจะดีมากขึ้นถ้ารายได้โต



ข้อควรระวังอย่างมากคือกลุ่มพวก bank มันตกแต่งตัวเลขง่าย
NPL แค่คุณจ่ายกลับงวดนึงก็ตีกลับหมดแล้ว  ดังนั้นวันร้ายคืนร้าย NPL มาตู้มเดียว 1,000m แบบที่เคยเป็นมาก่อนก็ทำได้  ถ้าเกิดน้ำท่วมคนจ่ายไม่ไหวอีก  economic crisis หรือ ผบห โกง


บางคนมองทั้งปีกำไรจิ๋มมดแค่ 60m  ต่อให้ q4 กำไร 150m ก็แค่ 210m, marketcap ตั้ง 7,000m บ้าไปแล้ว
ลองมอง story ก่อนครับ  q2 มี write-off outsource ส่วน q3 มี impairment 3XXm  ซึ่งเป็น one time loss คิดจาก q3 300x4 = 1,200m แล้วครับ


turnarounds ไม่ได้มองเป็นปีนะครับ  ต้องมองฟื้นตัว qoq ครับ  ผมว่าเริ่มชัดนะ  ราคามันไต่จาก 10->26 บาท  แต่ยังไปต่อได้อีก(ถ้ามันดีแบบที่ผมคิดไว้)  ไม่ซื้อตอนนี้รอไปซื้อปีหน้าอาจจะแพงครับ

ความเสี่ยงก็ตามที่ผมว่าไว้  รับได้ก็ลองมารับดูครับ



ตัวนี้คนอยากรวยมองกำไร 1,000m  PE ต่ำๆที่ 10  marketcap ก็ 10,000m ราคาไปลองคิดดูเองนะครับ
ถ้ากำไรออกมาเป็น 2,000m นี่ตัวใครตัวมันนะครับ  รวยกันอ๊วกแตก



ตัวนี้กะจะเก็บสัก 30% ครับ  ขอให้โชคดี ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น