วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

Magic Formula มนตราแห่ง VI !!!

Magic Formula คือสูตรที่คิดค้นขึ้นโดย Joel Greenblatt ในหนังสือที่ชื่อว่า The little book that beats the market โดยเป็นการกรองหุ้นง่ายๆ  เพื่อเอาใช้ชนะตลาดครับ



วิธีการนี่ง่ายโคตรๆเลยครับ  คือใช้ P/E กับ ROA แค่ 2 ตัว

วิธีใช้คือ
1. เรียงลำดับตัวที่ P/E น้อยไปหามาก  และ ROA มากไปหาน้อย  โดยตัดกลุ่ม Finance Insurance พวกนี้ออก

2. ranking โดยการให้ตัวที่ P/E น้อยที่สุดเป็น 1 ไปเรื่อยๆจนถึงอันดับสุดท้าย  ส่วน ROA ทำสวนทางกันคือเอาตัวที่ ROA มากที่สุดให้ 1 และไล่ไปจนอันดับสุดท้าย
- ถ้ามีตัวที่กำไรพิเศษหรือหุ้นที่ไม่ดีแน่ก็ให้ตัดออกไปครับ(เรียกว่าตามใจฉันในระดับหนึ่งเหมือนกัน)

3. เอาลำดับ PE บวกกับลำดับ ROA  ตัวไหนเลขน้อยที่สุดเลือกมา 30 ตัวแรก
แล้วก็อัดตังไปเท่าๆกันทุกตัว  ครบ 1 ปีขายทิ้งหมด  ทำใหม่


เค้าบอกชนะตลาดชัวร์ครับ


ดูง่ายๆไหมครับ  ตอนแรกที่ผมอ่านผ่านๆก็คิดว่า  "ไอ้บ้า !!!"

มันจะชนะได้แค่ไหนกับไอ้สูตรสำเร็จนี้ฟระ  ผมก็ไม่ได้สนใจ  จนวันนึงได้เห็นมีคนเอามาโพสไว้ใน Pantip ว่า อ.ไพบูลย์ได้ลองทำการศึกษาย้อนหลังกับสูตรสำเร็จแบบต่างๆ(ซึ่งมีทั้งหมด 4 แบบ)  ปรากฏว่าแบบนี้ให้ผลตอบแทนดีที่สุด  และสูงมาก !!!


มากแค่ไหนลองเดาดูนะครับ  สมมติว่า 15 ปีที่แล้วคุณลงทุนด้วยสูตรนี้ไป 1 ล้านบาท  ผ่านมาจนถึงวันนี้จะมีกี่บาทครับ


มาเดาๆๆๆๆๆๆๆ


อ.ไพบูลย์ได้ศึกษาย้อนหลังตั้งแต่ปี 1995-2010 ปรากฏว่าจากเงิน 1ล้านบาทกลายเป็น 2,035,385,957 บาท หรือราวๆ 2,000 ล้านนั่นเอง !!!


15 ปี 2,000 เท่า  หรือเฉลี่ยทบต้น 66.18% ตลอด 15ปี !!! (บัฟเฟตกับลินซ์แทบจะกราบตีนอ่ะครับ)

อื้อหือ  ถ้าตอนนั้นพ่อตูลองเล่นสูตรนี้  ป่านนี้เจ้าสัวคงไม่ได้เกิด 555+



แต่อ.ไพบูลย์แกปรับนิดหน่อยคือใช้ ROE แทน ROA ครับ



เอาล่ะ  ทีนี้ถึงคราวผมลองของบ้าง  ผมจะลองจัดทัพด้วยเงินปลอมดูบ้างนะครับ ^^
****แต่ผมขอ modified มาอีกทีคือ****
1.ผมว่าจำนวนที่เหมาะสมกับประเทศไทยคือ 15-20 ตัว  เพราะผมคิดว่า 30 ตัวจากเกือบ 500 ตัวมันเยอะไปครับ  ที่ต่างประเทศหุ้นเค้าเยอะกว่าเราเยอะ  จึงมีแบบใช้ทั้ง 15 ตัว 20 ตัว และ 30 ตัวครับ  แล้วมาเทียบกัน
2. แบบ double modified คือผมแอบมั่นใจว่าหุ้นบางตัวที่ผมศึกษามันดีจริงๆ(ถึงจะไม่ติดใน rankingก็เถอะ)  จึงจะขอเอามาแทนอันดับสุดท้ายสัก 2-3 ตัวครับ




มาดูทัพผมบ้าง  *** อ้างอิงข้อมูลวันปิดที่ 20 เมษายน 2555***
1. ทัพ P/E และ ROE 15-30 ตัว(ตาม อ. ไพบูลย์)  ได้ทำการตัดหุ้นบางตัวที่อคติออกไป  แต่ส่วนใหญ่ผมไม่ค่อยรู้จัก


PTL
UVAN
AJ
RASA
QLT
UPOIC
PICO
SST
BANPU
SENA
TNDT
YUASA
MAX
ASIMAR
TKS ->15ตัว
AIT
TWFP
BCP
PATO
PM -> 20 ตัว
GRAND
LANNA
SAMTEL
SCP
MCS
SIRI
TNH
TPIPL
QTC
FORTH


ไล่ตามลำดับแล้วครับ  ก็เริ่มที่เงินทุน 1,000,000 สมมติซื้อที่ราคาปิด  ตัวละ 33,333 บาท(เดี๋ยวปัดเศษอีกที)



2. ตามหนังสือของนายเหม่ง Joel PE + ROA 15-30 ตัวแรกครับ


PTL
UVAN
TNDT
TWFP
UPOIC
QLT
SENA
TPIPL
SST
PM
BANPU
PICO
PATO
QTC
KYE -> 15ตัว
AIT
TNH
AJ
LANNA
GFM ->20ตัว
RASA
KWC
MCS
SIAM
CHOTI
SCP
WG
CSL
TCCC
BGT


ไล่ตามลำดับเช่นกันครับ



3. ทัพ P/E<10  P/BV<1 และ DES >3% และจัดอันดับโดยใช้ P/BVที่น้อยที่สุดอีกทีครับ(ตามอ.ไพบูลย์)

TTM
PRIN
MK
LALIN
AMC
THIP
TIW
CPL
LTX
TOPP
PRECHA
NCH
SFP
NOBLE
SVOA -> 15ตัว
TPI
TCB
SIAM
TNL
CITY -> 20 ตัว
P-FCB
ASIAN
HFT
SENA
SPG
TMD
BAT-3K
SUSCO
JCT
DCON



4. ทัพคนอยากรวย

BLA
SCBLIF



5. ทัพลูกผสม  Yak-Ruay Magic Formula สูตรนี้ผมขอแทง 20 ตัวพอครับ(เอา PE+ROE 18 ตัวแรกและตัวที่ผมเลือกเอง 2 ตัวครับ)

BLA
SCBLIF

PTL
UVAN
AJ
RASA
QLT
UPOIC
PICO
BANPU
SST
SENA
TNDT
YUASA
MAX
ASIMAR
TKS
AIT
TWFP
BCP





เผอิญลงตาราง Excel ไม่เป็นน่ะครับ


เดี๋ยวถ้าลงเป็นจะลงมาไว้เป็นหลักฐาน  พร้อมกับ study ของ  อ. ไพบูลย์  ซึ่งน่าสนใจตรงที่ว่า Magic Formula ใน 15 ปี  ติดลบแค่ปีเดียวคือช่วงซับไพรม์ครับ  (แม้แต่ช่วงต้มยำกุ้งก็ยังเป็นบวกได้)  และชนะตลาดได้อย่างมีนัยสำคัญได้ทุกปีเช่นกัน  เว้นปีที่ติดลบคือปีซับไพรม์เช่นเดียวกันครับ
ทำให้เห้นว่ามันน่าสนใจมากๆครับ  ใครจะลอกสูตรหรือลอกตัวที่ผมลงไว้ไปใช้ก็ลองดูนะครับ  แต่ไม่รับประกันผลสำเร็จ  เพราะขนาดผมเอง  ผมยังขอดุก่อนสักปีนึงเลยครับ  แฮ่ๆ ^^

แล้วมาดูกันว่า 5 ทัพของผมกับตลาด  ใครจะชนะ  โดยส่วนตัวเชียร์ทัพ 4 กับ ทัพ 5 ครับ 555+



เอาล่ะ  อีก 1 ปีรู้ !!!



Edit : study ของ อ.ไพบูลย์ครับ http://www.bizresearchpapers.com/1.%20Paiboon.pdf เอาไปรับชมกันได้  แต่เป็นการวิจัยแบบย้อนหลังนะครับ  ยังงัยก็ลงทุนด้วยความระมัดระวังแล้วกันครับ ^^

วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555

เมื่อคนอยากรวยเลือกหุ้นประกันชีวิต : BLA

BLA หรือกรุงเทพประกันชีวิต  เป็นหุ้นน้องใหม่ที่เข้าตลาดได้ไม่กี่ปี  แต่ตัวธุรกิจจริงผ่านร้อนผ่านหนาวมาไม่ได้น้อยกว่าประกันตัวอื่นเลย
หุ้นตัวนี้ IPO มาที่ปลายปี 52 ด้วยราคาประมาณ 15 บาท  จากนั้นก็โตอย่างรวดเร็วมาจนถึงราคา 60 บาทภายใน 2 ปี  แน่นอนว่าหุ้นประกันชีวิตคือ growth stock แต่ growth ในระดับที่มากเกินไปย่อมไม่ยั่งยืน  ราคาก็ร่วงกลับมาแตะที่ 40 บาทแบบในที่ๆมันควรจะเป็น  จากนั้นก็โดนเรื่องตั้งสำรองสูงเกินไปทำให้กำไรไม่ release ออกมาครับ  ทำให้ราคายังไม่ไปไหน  จนถึงตอนนี้ก็ราคาราวๆ 45 บาท  ซึ่งผมถือว่าเป็นราคาตรงนี้ค่อนข้างจะ fair value เลยทีเดียว

โดยส่วนตัวถือว่าโชคดีที่เข้ามาในหุ้นประกันชีวิตในช่วงที่โดนวิกฤตทั้ง 2 ตัว(ในขณะที่ตัวอื่นกำลังทะยานฟ้า  และ set ขึ้นมา 3 เท่าจาก 400->1,200)  ไม่งั้นหากคนอยากรวยได้เข้ามาก่อนหน้านี้สัก1-2 ปี  อาจจะได้ถือฟรีอีก 1 ปี


โดยส่วนตัวหาก BLA กลับไปที่ 60 บาทเดิมได้  จะได้กำไรถึง 33% เลยทีเดียว  ซึ่งไม่น่าพลาดครับหุ้นตัวนี้ ^^


[[[Review BLA]]]
เชิงปริมาณ
1. BLA มีทรัพย์สิน 110,000ล้าน  มีทรัพย์สินลงทุน 107,000ล้าน  ROI ประมาณ 5.3% ในรอบ 6-7ปีหลังมีแค่ปีเดียวเท่านั้นที่ ROI น้อยกว่า 5%คือ 4.9%  ซึ่งคิดว่า ROI ไม่น่าจะน้อยกว่า 5%  คิด 5%ก็ค่อนข้าง conservative แล้ว  หรือจะคิด 5.3% เลยก็ได้ครับ

2. BLA มี FYP ประมาณ 8,300m, RYP 23,000m TP จึงออกมาที่ 31,000m  ซึ่งคาดว่า FYP โต 10% พอไหว  จาก 2 เดือนแรกเบี้ยรับรวม BLA โตแค่ 15% ครับ  ในขณะที่เจ้าอื่นเค้า 20-30% กันทั้งนั้น(เดี๋ยวเอาไว้ค่อนบ่นต่อครับ  เฮ้อออออ)  ซึ่งคาดว่า FYP น่าจะได้ 9,130m และ RYP คือ 85%ของ TP จะได้ 26,350 ครับ  รวมกันจะได้ TP ราวๆ 35,000 ครับ

3. ค่าใช้จ่ายตรงนี้ของ BLA ต้องยอมรับว่าทำได้ดีมากๆครับ  จริงๆรายจ่ายต่างของเครือนี้ทำได้ดีมากอยู่แล้วครับ  พวกรายจ่ายต่างๆนี่แทบจะน้อยที่สุดในอุตสาหกรรมเลยครับ  รวมๆอยู่ที่ราวๆ 35% TP เท่านั้นเองครับ  แจงรายละเอียดได้ดังนี้
- กรมธรรม์จ่ายคืน  จะอยู่ราวๆ 20% TP หรือ7,000m ครับ
- ค่าสินไหม  BLA จ่ายราวๆ 1,500m มา 2ปีแล้วครับ  คาดว่าถ้าไม่มีอุบัติภัยหมู่หรือโรคระบาดขนาดใหญ่  อัตราค่านี้ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากครับเพราะคำนวณจากสถิติ  คาดว่า 1,600m "เอาอยู่"ครับ
- ค่าจ้างกรรมการ  ปีที่แล้วอยู่ที่ 2,4XX ปีนี้ปัดให้กลมๆเลยครับ  3,000m ซึ่งถ้าเกินมากไปเอาไปถัวกับค่าสินไหมเผื่อเกินก็ได้ครับ  หยวนๆน่า ^^
- ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  ปกติอยู่ที่ 3.x%ปลายๆครับ  ปีที่แล้วก็ 1,250m  ปีนี้ให้1,400m เลยครับ
- ค่าใช้จ่ายการขาย  เดิมราวๆ 320m  ปีนี้ปัดกลมๆเลยครับ 400m
รวมค่าใช้จ่ายราวๆ 7,000+1,600+3,000+1,250+400 = 13,250 m ครับ

4. เอา TP มาหักค่าใช้จ่ายต่างๆ  ได้เงินไปลงทุน 21,750 ครับ  นำไปหาร 2 เช่นเคย(รายละเอียดลองไปดูใน SCBLIF นะครับ)  จะได้เงินมาลงทุนเพิ่มอีกราวๆ 10,875 ครับ
รวมเงินลงทุน 107,000+10,875 = 117,875 ครับ

5. คิด ROI 5.3%(5% ก็ได้นะครับ  ถ้าจะ conservative หน่อย) จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน 117,875 x
5.3% = 6247.375m ครับ(ถ้าคิด 5% จะอยู่ที่ราวๆ 5,900m ครับ)

6. แต่เผอิญตัวนี้ผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เท่ากับกำไรน่ะสิครับ

ย้อนรอยสักนิดจะพบว่า  กำไร = (TP + ผลตอบแทนจากการลงทุน) - (ตั้งสำรอง + ค่าใช้จ่าย)
ซึ่ง SCBLIF ตรงส่วนของตั้งสำรอง + ค่าใช้จ่ายเค้าเท่ากับ TP เลย  แต่ BLA ไม่ได้ smooth กำไรขนาดนั้นครับ

ขอติดเรื่องกำไรไว้ก่อน  เรามาดูตั้งสำรองของ BLA ดีกว่าครับ
ปกติการตั้งสำรองของประกันชีวิต  จะพิเศษตรงที่นำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 60%(ก็เลยใส่สำรองกันเต็มตีนเลยว่างั้นเถอะ)  โดยประกันแบบ endowment จำเป็นต้องตั้งสำรองสูง(เพราะเราต้องจ่ายคืนเค้า)  ส่วนแบบอื่นๆจำตั้งสำรองไม่สูงครับ
ถ้าจำไม่ผิด  แบบ endowment ของ BLA จะอยู่ที่ 65% และแบบอื่นจะอยู่ที่ราวๆ 40%  พอมาเฉลี่ยกันต้องยอมรับว่าแบบ endowment มันเยอะจริงๆ  ประมาณ 70%+ เลยทีเดียว  ทำให้ตั้งสำรองของ BLA ออกมาที่ 61-62%(ส่วนเกินจาก 60% ถือว่าเสียภาษีฟรีๆ)  แต่ปีที่แล้วที่เป็นเรื่องเป็นราวกันมากคือตั้งสำรองไตรมาสสุดท้าย 78% !!! ทำให้ทั้งปีออกมาตั้งสำรองเฉลี่ยถึง 65%(จากที่คาดการณ์กันแค่ราวๆ 60%)  ซึ่งผู้บริหารบอกว่าที่ต้องตั้งสำรองเยอะเพราะขายประกันแบบ endowment ไปเยอะมากครับ(แล้วที่อื่นไม่ขายหรืองัยฟระ !!!)
ไอ้ 5% มันจะมีผลอะไรมากมายใช่ไหมครับ  มีแน่นอนครับ  เพราะมันคือ 5% ของTP หรือราวๆ 30,000m คิดออกมาเป็นเงินก็๋คือกำไรหายไปถึง 1,500m ครับ(คิดเป็น EPS เนี่ยเป็นบาทเลยนะครับ)  ซึ่งแน่นอนว่าถ้าตั้งยังงี้ในปีหลังๆ EPS จะหายไปมากขึ้น(เพราะ TP เพิ่มขึ้น)  อย่างปีนี้เราประมาณ TP ไว้ 35,000m ถ้า 5% ก็ 1,750m  เป็นกำไรต่อหุ้นเท่าไรลองคิดดูนะครับ
ถึงแม้ว่าตั้งสำรองจะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายจริงๆ(แถมเอาไปลงทุนได้ด้วยนะ)  แต่เราก็อยากเห็น EPS เยอะๆมากกว่าใช่ไหมครับ  และส่วนที่เกินมาจาก 60% ก็ต้องไปเสียภาษีทำให้ EPS ออกมาน้อยลงไปอีก  เรียกว่า 2 เด้งครับ

ซึ่งตัวนี้ต้องวัดใจหน่อยล่ะครับว่าจะตั้งสำรองเท่าไรดี  เราไม่เสี่ยง  คิดมันตั้งแต่ 60%-65% เลยครับ(เกินกว่านี้ถือว่าทำบุญมาน้อยละกันนะครับ)  ก็ 60%-65% ของ 35,000m = 21,000m-22,750m ครับ


ดังนั้นกำไรจะอยู่ที่
(35,000+6,247.375) - ([21,000-22,750]+13,250) = 5247.375-6,997.375
หักภาษี 23% -> 4,040.5-5,388 หรือ EPS 3.36-4.49

ว้าวววววววววววว~วว  ขนาดตั้งสำรองมหาโหด  ยังได้ EPS 3.36 ไม่เลวเลยใช่มั๊ยล่ะครับ(ปีที่แล้ว EPS 2.85)
แต่เตือนสตินิดนึงว่า  นี่คิดจาก ROI 5.3% นะครับ  ถ้า ROI ได้ 5% ล่ะก็ EPS จะเหลือราวๆ 3.13 ครับ


เชิงคุณภาพ
1. BLA มีการจัดการภายในที่ค่อนข้างดีถึงดีมาก  ค่าใช้จ่ายต่างๆถูกควบคุมให้อยู่แค่ประมาณ 3X% กลางๆค่อนๆปลายครับ  และ BLA ยังทำ ROI ได้ค่อนข้างสูงถ้าเทียบกับ SCBLIF  เพราะถ้าเงินลงทุนเท่าๆกัน  ที่ ROI 4.5% กับ 5.3% จะได้ผลตอบแทนต่างกันถึง 17% ครับ !!!

2. BLA พยายามเน้นขาย non-endowment มากขึ้น  ซึ่งจะทำให้ตั้งสำรองลดลง  และกำไรจริงๆจะเพิ่มขึ้นด้วย(เพราะแบบไม่ออมทรัพย์เราไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นคืน)  ซึ่งก็เห็นว่า BLA ทำได้เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นจริงๆ  แต่จะไปรอดหรือเปล่าต้องมาดูกันครับ
โดยส่วนตัวมองว่าการพยายามพลักดันการขายแบบ non-endowment มากขึ้นนั้น  อาจจะทำให้รายได้"ไม่โต"เท่าบริษัทอื่นๆ(ใช้คำว่าไม่โตนะครับ  คือเพิ่มแน่นอน  แต่อาจจะไม่มากเมื่อเทียบกับ SCBLIF หรือที่อื่นๆ)  แต่ในระยะยาวสักหน่อย  กำไรจะเป็นเนื้อเป็นหนังมากขึ้นครับ  เพราะไม่ต้องจ่ายเงินตามกรมธรรม์เพิ่มขึ้นมาก  แต่กว่าวันนั้นจะมาถึง  อาจจะนานหน่อยนะครับ  จะรักก็ต้องรอหน่อยนะครับตัวนี้

3. BLA ตั้งเป้าหมายค่อนข้าง conservative คืออาจจะดูไม่เวอร์  แต่ให้มาก็มักจำทำได้  เช่นเบี้ยปีนี้คาดว่าจะโต 12% ก็ลองมาดูกันครับ(แต่อุตสาหกรรมเค้าหวัง 15% เลยนะครับพี่โชน)

4. BLA เป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากเกือบจะที่สุดของโสภณพานิชย์  เชื่อว่าเค้าต้องพยายามทำออกมาให้ดีที่สุดครับ(แต่อาจจะมีเล่นรอบบ้างนะเม่าทั้งหลาย)



สรุป  รายได้จากการลงทุนน่าจะได้ 6,000m(มีลุ้นเลข 7 แต่ไม่มากหรอกนะ  ส่วนตัวคิดว่าราวๆเลข 6 กลางๆ)  แต่ตั้งสำรองขอบอกว่าคาดเดาไม่ได้  จากการคำนวณคร่าวๆ 3.36-4.5 ก็ไม่น่าหลุดเช่นกัน(ถ้าหลุดส่วนตัวมองว่าจะหลุดขึ้นมากกว่าหลุดลง)  แต่ก็ขอคิด conservative ไว้ก่อนที่สำรอง 65%


ปีนี้ EPS น่าจะ 3 ปลายๆ  และตลาดก็น่าจะตอบสนองด้วยราคาที่ 5X กลางๆค่อนต่ำครับ




เดี๋ยวต้นปีหน้า  มาดูกันอีกทีกับคำทำนายนี้ครับ ^^

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

เมื่อคนอยากรวยเลือกหุ้นประกันชีวิต : SCBLIF

SCBLIF หรือ ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต  เป็นหุ้นในตำนานตัวหนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์ตัวเองมานับครั้งไม่ถ้วน  แต่ตำนานบทนี้กลับไม่ได้รับการกล่าวขานถึงเท่าที่ควรครับ
หุ้นตัวนี้ IPO มาตั้งแต่ปี 2531 หรือเมื่อ 24 ปีที่แล้ว(ปีเกิดผมพอดีเลย  แฮ่ๆ)ด้วยราคาเท่าไหร่รู้ไหมครับ
เท่าที่ผมหาย้อนหลังมาได้  หุ้นตัวนี้ราคา ณ วันที่ 18 พ.ค. 2531 ราคา 5.82 บาท  และขึ้นไปถึง 60 บาทใน 2ปี  จากนั้นก็ดิ่งลงมาที่ราคาแถว 30-40 บาทอยู่พักใหญ่  ก่อนจะโดนวิกฤตต้มยำกุ้งปี 40ในตำนาน  สมัยนั้นผมว่าไม่ว่าจะแกร่งแค่ไหนก็ทรุดล่ะครับ  ราคาถูกบี้ลงไปติดดินที่ 2.74 บาทเมื่อต้นปี 2541 !!!
ก่อนจะวิ่งหน้าตั้งขึ้นไปได้ถึง 250บาทก่อนวิกฤตครั้งที่ 2(ใช้เวลา 10ปีในการวิ่งมาเกือบ 100เด้ง !!!)  พอถึงคิววิกฤตซับไพรม์หุ้นตัวนี้ก็ร่วงลงมาอยู่ที่ 150 บาท  แต่เพชรก็คือเพชรครับ  หลังจากวิกฤตซับไพรม์ผ่านพ้นไป  ตัวนี้ก็วิ่งหน้าตั้งมาที่ 606 บาท  ก่อนจะมีข่าว delist และราคาร่วงลงมาที่ 400นิดๆ  ถึงตอนนี้ค่อยพยายามฟื้นตัวกลับไปใหม่  ราคาตอนนี้ประมาณ 530บาทครับ

ยอมรับว่าตอนหลายสิบปีก่อน  ผมไม่รู้ว่าพื้นฐานตัวนี้เป็นอย่างไร(แต่คิดว่าน่าจะแข็งแกร่งไม่น้อย)  แต่เท่าที่รู้มาคือตัวนี้ 4-5 ปีนี้มานี้เติบโตแข็งแกร่งมาก  กำไรไม่เคยลดลงเลยและ smooth มาก ซึ่งราคาตอนนี้ผมคิดว่ายังไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นตัวนี้ครับ
SCBLIF เท่าที่รู้มาคือเติบโตเฉลี่ยประมาณ 18% ต่อปีทบต้นตลอด 23 ปีครับ !!!(ไม่ธรรมดานะครับ growth ขนาดนี้  ระยะเวลานานขนาดนี้  ไม่รู้ว่ามีหุ้นตัวอื่นทำได้ขนาดนี้หรือเปล่า)



โม้ตำนานมาเยอะ  มาดูกันดีกว่าว่าทำไมหุ้นตัวนี้ถึงถูกมองข้าม  และเราควรมองข้ามมันหรือเปล่า ???

1. หุ้นตัวนี้ free float ต่ำมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ(สังเกต "ๆ" แสดงว่าต่ำจริง)  ตัวนี้มีหุ้นอยู่ 66.5ล้านหุ้น  แต่ SCB ถืออยู่เกือบ 95%(ใช่ครับ  ผมพิมพ์ไม่ผิดแน่นอน)  ถ้ารวมผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งหมดจะเป็น 96.95%(นี่ยังไม่นับรายย่อยที่ไม่ขายแน่ๆ)  แปลว่าเหลือหุ้นให้เราเล่นอยู่อีกเพียง 3%หรือราวๆเกือบ 2ล้านหุ้นเท่านั้นเอง
ฉะนั้นตัวนี้บางวันก็ไม่มีการซื้อขายเลย  บางวันก็ซื้อกันไม่ถึงพันหุ้น
ถ้าใครจะซื้อตัวนี้ไม้นึงเงินต้องหนานิดนึงนะครับ  เพราะต้องอัดทีละ 100 หุ้นหรือ 53,000 บาท  แถมซื้อทีละมากๆไม่ได้ต้องไล่ราคา  หรือร้อนเงินจะขายก็ต้องทุบลงมาหลายช่อง(ช่องนึง bid,offer ไม่กี่ร้อยหุ้นครับ)
ข้อดีคือถ้าเราอยากปั่นแล้วทุบ  เราอาจจะไม่ต้องมีหลายหุ้นครับ :p

ซื้อตัวนี้ทำใจไว้นะครับว่าซื้อแล้วออกยากนิดนึง liquidity ต่ำมากและดูท่าทางจะไม่ยอมแก้ซะด้วยซิครับ

2. เรื่อง delist ที่มีปัญหากันยกใหญ่ผมไม่รู้ข้อมูลมากนะครับ  เพราะไม่ได้อยุ่ในยุคนั้น  แต่ว่าเท่าที่รู้คือตอนนั้นราคาราวๆ 400-500 บาท  แต่พี่ SCB เล่นซื้อจาก SCNYL ที่ราคาราวๆ 200กว่าบาทมั๊ง  ทำให้ผู้ถือหุ้นน้อยใหญ่กลัวซิครับ  เกิดอยู่หุ้นตรูถูกซื้อที่ราคานั้นขึ้นมาทำไง  เลยทรุดลงหนัก  ตอนนี้ยังไม่กลับที่เดิมเลยครับ(ถ้าไม่มีเรื่องนี้  ผมว่าราคาน่าจะ 700-800 แล้วนะ)
ซึ่งกฏเกณฑ์ delist มีหลายข้อมาก  เท่าที่ผมอ่านๆก็ยังไม่ค่อยเกท  แต่ก็ถือไปแล้วครับ  ถือว่ายอมรับความเสี่ยงตรงนี้ไป(ไม่แนะนำให้เล่นตามนะครับ  ถ้ารับความเสี่ยงตรงนี้ไม่ได้)


2 ข้อนี้ทำให้หุ้นตัวนี้ถูกละเลยไป  ณ ตอนนี้ไม่บริษัทไหนออกมาวิเคราะห์เลยครับ
เอาวะ!!! วิเคราห์เองก็ได้ ^^



[[[Reveiew SCBLIF]]]
เชิงปริมาณ
1. SCBLIF มี asset ประมาณ 87,000m คิดเป็น investing asset ประมาณ 80,000m  ที่ผ่านมา ROI SCBLIF ประมาณ 4.5%(ถือว่าค่อนข้างต่ำ)  แต่เห็นว่าจะลงทุนในหุ้นมากขึ้นซึ่งอาจจะทำให้ ROI มากขึ้น  อย่างไรก็ขอคิด conservative โดยใช้ ROI 4.5% ก่อนนะครับ

2. TP ปี 54 ได้ประมาณ 30,000m  ซึ่ง FYP ประมาณ 7,600m และRYP ประมาณ 22,400m  ซึ่งปกติถ้าคิดหยาบๆ RYP ปีต่อไปจะประมาณ 85%TPปีที่แล้ว(คิดหยาบๆแบบไม่หัก single premium)  ซึ่งจะได้ 25,500m ส่วน FYP ต้องบอกว่าดูจาก 2 เดือนแรก  น่าประทับใจมาก  เทียบกับปีก่อนแล้ว TP โตขึ้นมาถึง 32%(เยอะโคตรๆ)  และจากผลงานที่ว่า  ขอบอกว่า FYP โต10%ปลายๆนี่ไม่เกินไปเลยครับ  แต่ขอ conservative นิดๆไว้ที่ 10% ดีกว่าครับ  สมมติเบี้ยออกมา 8,360  ก็น่าจะได้ TP ปีนี้ 33,860m(แต่ผมว่าน่าจะมากกว่านี้สัก3,000-4,000m เลยนะครับ)

3. ค่าใช้จ่ายของ SCBLIF ทำ smooth มาก  ปกติจะออกมาราวๆ 40% อยู่แล้ว(ลองย้อนดูได้ครับ  ทำให้กำไรของ SCBLIF smooth สุดๆ)  ซึ่งผมว่าส่วนของค่าใช้จ่ายไม่น่าจะมีอะไร surprise เพราะน้ำท่วมปีที่แล้วรายจ่ายตรงนี้หรือสินไหมทดแทนก็ไม่ได้กระทบอะไรเลย  ดังนั้นขอเหมารวมค่าใช้จ่ายทุกอย่างไว้ที่ 40%ครับ(ทั้งค่าสินไหม  เงินคืนตามกรมธรรม์  เงินผู้บริหาร  การโฆษณา)  อาจจะดูหยาบไปแต่มันได้ประมาณนี้จริงๆครับ


4. กันสำรอง  SCBLIF กันสำรองอยู่ที่ 58-59% อยู่แล้วครับ  โดยปกติพอรวมกับค่าใช้จ่ายจะเกือบ 100% หรือตีไป 100% เลยก็ได้
จะทำให้ได้กำไรออกมาเท่ากับผลตอบแทนจากการลงทุนครับ(อาจจะบวกอะไรอีกนิดหน่อย)


ทำให้เราได้ตัวเลขมาดังนี้ครับ
investing asset -> 80,000m
TP - ค่าใช้จ่าย 40%(คือเงินใหม่ที่เอามาลงทุนได้  หรือเงินกันสำรองนั่นเอง) -> 33,860(0.6) = 20,316
แต่เดี๋ยวก่อน  เราไม่ได้เงินก้อนนี้มาพร้อมกันทั้งปี  ขอคิดแบบกำปั้นทุบดินด้วยการหาร 2 ถัวเฉลี่ยต้นปีปลายปีครับ
(เสมือนว่าเราฝากเงินธนาคารเดือนละ 10,000 บาท 12 เดือน  ให้ดอกเบี้ย 3%  ครบ 1 ปีเราไม่มีทางได้ดอกเบี้ย 3,600 ครับต้องน้อยกว่านั้น  เพราะเงิน 120,000 เราทยอยฝาก  ไม่ได้ฝากมาตั้งแต่ต้นปี)
จะได้เงินใหม่ที่เอามาลงทุน 20,316/2 = 10,158
รวมเงินลงทุน 80,000+10,158 = 90,158m ครับ

คิด ROI 4.5% จะได้ผลตอบแทนจากการลงทุน 4,057.11m


ซึ่งจริงๆตรงนี้เวลาคิดกำไร  จะต้องเอา (TP + ผลตอบแทนจากการลงทุน) - (สำรอง + ค่าใช้จ่าย)
แต่เราประมาณไว้แล้วว่า สำรอง + ค่าใช้จ่าย = TP
ดังนั้นกำไรจะประมาณผลตอบแทนจากการลงทุนครับ(อย่างที่บอกว่าจริงๆอาจจะบวกอะไรอีกนิดหน่อย  แต่คิดแบบ conservative ก็โอเคครับ)

คิดภาษี 23% -> กำไรสุทธิ 3124m

คิด EPS 66.5ล้านหุ้น -> EPS 47ครับ


ถ้าเทียบราคาตอนนี้ PE = 530/47 =11.2 เท่านั้น(ไม่รวมปันผล 30บาท)  ซึ่งถ้าดูจากกำไรปีที่แล้ว 37.58 แสดงว่ากำไรโตขึ้นมา 25% เลยทีเดียว(แม้ว่าจะได้ผลประโยชน์ทางภาษีอีก 7% ก็ตาม)  ซึ่งถ้าไม่นับผลประโยชน์ทางภาษีจะโตขึ้นมา 13%  ซึ่งถ้าคำนวนต่อไปใน growth rate เดียวกัน(ดังตาราง)  จะเห็นว่ากำไรโตได้ไม่ต่ำกว่า 20% ต่อปีเลยทีเดียว(ซึ่งมันเคยโตได้มาแล้ว 23 ปี  จะโตอีก 3-5 ได้ใน rate เดิมคงไม่แปลกอะไร)




เชิงคุณภาพ
- SCBLIF มีการขยายช่องทางจำหน่ายผ่านทาง tesco lotus ซึ่งน่าจะกระจายการขายประกันชีวิตได้ดีมากขึ้น
- สาขาธนาคารที่เยอะอันดับต้นๆของประเทศ  และการกิน marketshare อันดับ 1ของ banc ซึ่งเป็น modern trade เนื่องจากทำมานานกว่าเจ้าอื่น  ทำให้สามารถขายได้ดี
- room ยังโตได้อีก(อ่านเพิ่มเติมในบทความ เมื่อคนอยากรวยเลือกหุ้นประกันชีวิต ได้ครับ)
- การมองกระจกหลังอาจจะช่วยอะไรได้ไม่มาก  แต่อย่างน้อย SCBLIF ก็เคยพิสูจน์ตัวเองในภาวะวิกฤตมาแล้ว 2 ครั้ง  และทำได้ดีมาตลอด




โดยส่วนตัวมองว่าการคิดค่อนข้างจะ conservative มากแล้ว  ปัจจัยหนุนมีทั้งการพยายามเพิ่ม ROI โดยลงทุนในหุ้นมากขึ้น  เพิ่มยอดขายโดยขายผ่าน tesco lotus(ดูจากการโต 32% ใน 2 เดือนแรกไม่ธรรมดาเลยทีเดียวน่าจะลุ้นยาวๆได้ถึงสิ้นปี)  ผู้บริหารที่ประกาศกร้าวว่าจะขึ้นที่ 3 ด้วย TP 55,000ใน 3ปี(สูงมากๆๆๆๆๆๆ)  และท่าทางจะเอาจริงเสียด้วย 
เหล่านี้ทำให้กำไรเพิ่มจากที่คิดไว้ครับ


คาดว่าไม่น่าจะหลุด 47 บาท  ด้วยความมั่นใจ 80%+  อาจมีลุ้นได้ถึงเลข 5
(ยกเว้นแต่จะมีเหตุการณ์ร้ายแรงจริงๆที่กระทบต่อธุรกิจเช่น  ยกเลิกลดหย่อนภาษีจากประกันชีวิต  เปลี่ยนแปลงฐานภาษี  ฯลฯ ซึ่งต้องยอมรับว่าธุรกิจประกันต้องเพิ่งนโยบายของทางรัฐอยู่พอสมควร  แต่โอกาสเกิดน้อยมากครับ  ไม่ค่อยเป็นห่วงเรื่องภัยธรรมชาติ  วิกฤตการเมือง  กีฬาสี  เพราะไม่น่าจะกระทบต่อยอดทำประกันหรือสินไหมทดแทนเท่าไหร่  เรื่อง delist ก็เช่นกัน  ไม่กระทบพื้นฐาน  แต่ถ้าทำจริงมีเจ็บ TT^TT)


ต้นปีหน้าลองมาดูกันครับ  ว่าจะแม่นแค่ไหน ^^



เมื่อคนอยากรวยเลือกหุ้นประกันชีวิต

ระหว่างที่ผมศึกษาหุ้นรอเวลาเปิดพอร์ทอยู่นั้น  ก็เหลียวมองซ้ายที  ขวาหลายๆที  และคิดอย่างที่ทุกคนเคยคิดว่า

"กรุจะเลือกหุ้นตัวไหนดีวะ" !!!

ว่าแล้วก็ไปนั่งอ่านไปเรื่อย  เผอิญเพื่อนคนนึงที่เรียนคณะเดียวกันบ้าหุ้นมาก(เพิ่งบ้าได้สักปีนึง)แถมชอบบอกว่าตัวเองเป็น VI  ได้ดึงคนอยากรวยไปเข้า group บ้าบออะไรไม่รู้ที่มีแต่คนในคณะที่ชอบเล่นหุ้น  ก็เลยนั่งอ่านไปเรื่อยๆดู post ย้อนหลังเจอโพสของเพื่อนคนนี้ว่า "เข้า BLA ไปแล้วล่ะ  เข้าตาม fundamental"

เอ๊ะ!!!  ทำไมถึงเข้าตัวนี้  ตัวนี้มันคือหุ้นบ้าอะไร  พื้นฐานมันดีหรอ ???

รู้ตัวย่อ 5 วิฯก็รู้ชื่อบริษัทแล้วครับ  ไปแอบเปิดดู  อ้อ "กรุงเทพประกันชีวิต"

ก็เลยนั่งหาข้อมูลดูว่า  ทำไมนะมันมีอะไรดี  ข้อมูลจากไหนน่ะหรอ  ไม่ยากครับ thaivi ใน ร้อยคนร้อยหุ้น  ไม่ต้องโพสนะ  อ่านอย่างเดียว  ย้อนหลังไปสัก 1-2 ปีก็รู้เรื่องแล้วครับ

แล้วก็อ่าน 56-1 งบการเงิน(แกะไม่เป็นหรอกนะ  ดูพอเป็นพิธีแบบมือใหม่) annual report และ slide presentation ของ opp day(คนอยากรวยชอบ 2 อันหลังมาก  สีเยอะดี) = ="


สรุปอุตสาหกรรมก่อนนะครับ 

1. ธุรกิจประกันชีวิตในตลาดหุ้นมีแค่ 2 ตัวคือ SCBLIF และ BLA ซึ่งจริงๆแล้ว BLA เพิ่งเข้าตลาดเมื่อปี 09(หรือ 3 ปีที่แล้วเอง  แต่ก่อตั้งมานานแล้วนะ) 

ซึ่งอันดับ 1 ในประกันชีวิตตอนนี้คือ AIA กิน market share ที่ราวๆ 20%+
ที่ 2 และ 3 คือ ไทยประกันชีวิต(สีน้ำเงิน)  และเมืองไทยประกันชีวิต(สีชมพู) ตามลำดับ  กิน market share ที่ 10%นิดๆทั้งคู่ครับ
อันดับที่ 4 และ 5 คือ BLA และ SCBLIF ตามลำดับเช่นกันครับ  กิน market share เกือบๆ 10%
ส่วน runner up ที่น่ากลัวคืออันดับที่ 6 และ 7 คือ กรุงไทยแอกซ่า(AXA) และ อยุธยา อลิอันซ์(AACP) เพราะตัวนึงเป็นธนาคารใหญ  สาขาเยอะ  ข้าราชการเยอะ  อีกตัวกำลังภายในสูงครับ  ตัวไหนเป็นตัวไหนลองเดาเองนะครับ  ทั้งคู่กิน market share ราวๆ 6% เท่ากับครับ


2. ธุรกิจประกันโตโดยอาศัยเงินชาวบ้านมาลงทุน  แล้วคืนเค้าพร้อมดอก  ถามว่า ROI เยอะมั๊ย  ไม่เยอะหรอก  ธุรกิจพวกนี้ ROI แค่ 5-6% อาจจะน้อยกว่าด้วย
-> จะคุ้มหรอ  ลงทุนเองดีกว่ามั๊ย ???
เอางี้  สมมตินะครับ
- ผมมีเงิน 1m ผมลงทุนเองได้ผลตอบแทน 20% ต่อปี  สิ้นปีผมได้ 1,200,000 บาท
- ผมมีเงิน 1m ยืมชาวบ้านมาลงทุนเพิ่มอีก 99m รวมเป็น 100m  ชาวบ้านบอกคิดดอกเบี้ย 4% นะ  แต่ผมเอาตัง 100m ไปซื้อ bond หรืออะไรก็ตามได้ผลตอบแทน 5%
มาคิดเลขกันหน่อย 5% ของ 100m ก็คือ 5m นั่นคือผมได้ผลตอบแทน 5m
แต่ผมต้องคืน 99m รวมกับดอก 4% คือ 3.96m
สิ้นปีผมมีเงิน 105m  ต้องคืนชาวบ้านรวมดอก 105-99-3.96=2.04 ล้าน

เห็นไหมครับว่าผมได้กำไรมากกว่าลงทุนเอง ROI 20% ตั้ง 840,000

นี่ขนาดปีเดียวนะครับ  ถ้าผมยืมได้ 10 ปี  แต่ก็ต้องให้ดอก 4%ทุกปี(คือ 3.96m ทุกปี)  ผมจะได้มากกว่ากำไรมากกว่า 1.04m อีกครับ

ซึ่งจริงๆธุรกิจประกันชีวิตก็เป็นการยืมมาหลายๆปีนั่นเอง  แต่มีความซับซ้อนกว่าสมการง่ายๆของผมอีกมากนัก  เช่น  ไหนจะต้องมีการจ่ายเงินชดเชยเวลาป่วย  ตาย  หรือค่าจ้างพนักงานจ้างผู้บริหาร
แต่จะซับซ้อนแค่ไหน  มาดูกันครับ

3. ธุรกิจประกันซื้อแล้วต้องซื้อเจ้าเดิมต่อ  เพราะจ่ายไม่ครบเสียผลประโยชน์  เอาคืนก่อนเสียผลประโยชน์  ยิ่งทำนานก็ต้องจ่ายเบี้ยกันยาว
มองในแง่คนทำ -> ได้ผลประโยชน์ทางภาษี  ได้ดอกมากกว่าฝากธนาคาร  ได้คุ้มครองชีวิตด้วย(แต่เอาเงินออกมาไม่ได้สะดวกเหมือนธนาคาร)  เป็นทางเลือกสำหรับคนออม  ประกอบกับธนาคารรับประกันเงินฝากแค่ 1m  ทำให้คนทั่วไปต้องนำเงินไปเก็บในรูปอื่นเช่น พันธบัตร  การทำประกัน ฯลฯ มากขึ้น

4. ประกันชีวิตขายกระดาษเปล่า  ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่มมาก  อาคารก็มีไม่กี่ที่  อาศัยตัวแทนกับธนาคารเอา  สินค้าเป็นอากาศ  ไม่มีตัวตน

5. ไม่มีหนี้สิน  ไม่ต้องกู้  หนี้สินมีแต่เงินที่ต้องคืนชาวบ้าน  ไม่มีสินค้าคงเหลือ ขายออกมาได้เป็นเงินสด  โอกาสเจ๊งน้อยมากๆ(เว้นแต่คนตายเป็นเบือจริงๆ  แต่ต้องเป็นคนที่ทำประกันนะ  ซึ่งถ้ามีเวลานั้นจริงๆ  เอาตัวเองให้รอดก่อนเถอะ)  ทำให้ไม่ต้องสนใจหนี้สินมาก(คนแกะงบไม่เก่งอย่างคนอยากรวยชอบมากๆ)

6. ตลาดประกันยังมี room ให้โตอีกมาก(แค่ไหนไม่รู้)  ปัจจุบันประกันชีวิตมีอัตราถือครองหรือ penetration rate อยู่ที่ 28%  เทียบกับประเทศที่เจริญแล้วเค้าถือกันเกือบ 100% หรือบางที่อย่างญี่ปุ่นถือกันเกิน 100%
แต่ต้องระวังนิดนึงว่า  เราไม่รู้ว่า room เหลือเท่าไร  เพราะคนจนยังมีอีกมาก  และการให้ความรู้เรื่องประกันชีวิตยังต่ำมาก(คนมีความรู้เรื่องนี้น้อย  ต่อให้การศึกษาดีๆยังไม่ค่อยรู้เลย  ถ้าการศึกษาไม่ดีก็น่าคิดนะ)

***ปัจจัยนี้ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของประกันชีวิต*** 

เพราะถ้า room ยังมีอีกเยอะก็คือยังเป็น blue ocean ได้อยู่  เค้กก้อนตั้งใหญ่  ยังไม่ต้องแย่งกัน  ต่อให้ไม่ใช่อันดับต้นๆ  ขอแค่โตไปพร้อมกับอุตสาหกรรมก็พอ  แต่ถ้าเป็นผุ้นำได้ก็ดี
แต่ถ้า room ไม่เหลือแล้ว  การโตจะจำกัด PE จะเหลือแค่ราวๆ 7-8(อ้างอิงจากประเทศที่โตเต็มที่แล้ว)  ไม่น่าลงทุนแล้ว  ขายเถอะ TT^TT

7. ช่วงนี้เป็น growth stage ของธุรกิจ  จะโตแบบ snow ball
อธิบายคร่าวๆคือ
สมมติปีนี้มีเงินลงทุน 100,000m  ได้รายได้เข้ามาลงทุนเพิ่มปีนี้ 30,000m(รวมคนเก่าคนใหม่) เป็น 130,000m 
ปีหน้าอีกคนที่จ่าย 30,000m ก็ต้องมาจ่ายต่อ  แถมมีคนใหม่มาอีกสัก 10,000 ล้าน  รวมเป็น 130,000+30,000+10,000=150,000m
ปีต่อไป  คนที่จ่าย 30,000 และ 10,000 ก็ต้องมาจ่ายต่อ  คนใหม่ก็ต้องมาจ่ายอีก 11,000(สมมติอุตสาหกรรมโต 10%)  รวมได้150,000+30,000+10,000+11,000= 201,000m

หรือต่อให้แย่สุดๆ  ไม่มีคนมาทำประกันเพิ่มเลยแม้แต่คนเดียว  คนที่จ่าย 30,000m ก็ต้องมาจ่ายเพิ่มอีกในปีหน้าอีกหลายปี   ซึ่งแปลว่าต่อให้นอนนวดกะปู๋อยู่บ้านก็มีรายได้เข้ามาฟรีๆ
แต่นี้เค้าก็ต้องขายต่อ  ซึ่งจะทำให้รายได้เกิดแบบทบต้น

p.s. แต่จริงๆคนที่จ่าย 30,000 เค้าไม่จ่าย 30,000 ต่อในปีหน้าหรอก  ต้องมีส่วนนึงหมดประกันไม่ต้องจ่ายต่อ  กับอีกคนนึงไม่จ่ายแล้ว  กรุไม่มีตัง  ดังนั้น  มันจะน้อยกว่า 30,000 ครับ

8. FYP(first year premium) = เบี้ยรับปีแรก  ซึ่งจะบ่งถึงการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม  ซึ่งควรจะโตทุกปี  และหวังถึงเลขสองหลักได้ครับ
    RYP(renewal year premium) = เบี้ยต่อ  คือเอา TPของปีก่อน  หักเบี้ยจ่ายครั้งเดียว(single premium)คูณอัตราคงอยู่ของกรมธรรม์ครับ  ปกติอัตราคงอยู่ของกรมธรรม์อยู่ที่ประมาณ 90% ครับ  เพราะส่วนมากต้องต่อ  ไม่ต่อเสียผลประโยชน์ครับ
    TP(total premium) = เบี้ยรับรวม  คือเอา FYP + RYP ครับ  ปกติ TP มันควรจะโตทุกปีอยุ่แล้วครับ(ไม่ว่าธุรกิจจะทุเรศขนาดไหน)  ดังนั้นย้ำอีกทีว่า  เราจะไม่เอา TP มาวัดการโตของอุตสหกรรม
(ถ้า TP มันจะไม่โต  แสดงว่า FYP = ส่วนต่างของ TPปีก่อนลบ RYP ปีนี้ครับ  บ่งว่าอุตสาหกรรม room เริ่มเต็มแล้ว  และควรขายทิ้งได้แล้วครับ)
ซึ่ง 3 คำนี้ต้องจำให้ได้ครับ  เป็นพื้นฐานถ้าคิดจะศึกษากลุ่มประกันชีวิตเลยทีเดียว

ส่วนที่ต้องรู้ศัพท์เพิ่มเติมคือประกันแบบ endowment และไม่ใช่ endowment
ประกันชีวิตแบบ endowment คือสะสมทรัพย์หรือพูดแบบทางธรุกิจว่าแบบเราขาดทุนครับ  คือเค้าให้ตังเรามา 100 เราต้องให้ดอกเบี้ยเค้า 3 บาททุกปี  ปีสุดท้ายคือ 110 บาท  และน่าเสียใจตรงที่ว่าประกันแบบนี้คือตัวหลักของรายได้เลยประมาณ 60-80% ของรายได้ทั้งหมดเลยครับ(ก็เค้าซื้อมาหวังลดหย่อนภาษีนี่คุณ)  ซึ่งแปลว่าถ้าเราหา ROI ได้ 5% แต่เราต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 3% ทำให้กำไรเราเหลือแค่ราวๆ 1%เท่านั้น(ถัวๆหักค่าใช้จ่ายต่างๆไปด้วย)  ถึงแม้เงินที่เหลือจะอยู่ที่เรา  แต่เราก็ต้องเอาไปคืนเค้าในอนาคตอยู่ดี  และประกันแบบนี้ทำให้ต้องตั้งสำรองสูงด้วยครับ
ประกันชีวิตแบบ non-endowment คือแบบไม่สะสมทรัพย์  แบบนี้ธุรกิจชอบครับ  เพราะไม่ต้องจ่ายเงินคืน  จ่ายแต่ค่าสินไหมทดแทน  อารมณ์จะคล้ายๆกับประกันภัยครับ  เงินที่ไม่ได้จ่ายสินไหมอิ๊บไปได้เลย ^^
ซึ่งถ้าบริษัทไหนขายแบบ endowment มาก  แม้รายได้จะสูงในช่วงแรก  แต่กำไรในอนาคตปีหลังๆมันจะต่ำครับ(เพราะเงินจ่ายคืนตามกรมธรรม์จะสูงขึ้นมาก)  เพราะได้มาก็ต้องคืนเค้าไป

9. ย้ำอีกทีว่า ROI ธุรกิจประกันไม่สูงมาก  ประมาณ 5-6%(บางบริษัทอาจจะน้อยกว่านั้น)  ส่วนมากลงทุนในพันธบัตร(ระยะยาว)ประมาณ 60%+  หุ้นกู้เกือบ 20% ที่เหลือกระจายเป็นหุ้น  เงินลงทุนระยะสั้น  ส่วนน้อยมากๆเป็นเงินให้กู้ยืมและลงในกองทุน

10. ประกันชีวิตน่าจะเป็น megatrend เพราะสังคมไทยเข้าสู่วัยผุ้สูงอายุมากขึ้น  คนน่าจะสนใจทำประกันมากขึ้น  ประกอบกับนโยบายขึ้นค่าแรง  เงินเดือนต่างๆ  ทำให้คนมีโอกาสเสียภาษีมากขึ้น  สำหรับคนที่ไม่สนใจการลงทุน  ประกันคืออะไรที่ผลตอบแทนแน่นอนกว่า  ลดภาษีได้เหมือนกัน  ดูน่าสนใจกว่าครับ
และmodern trade ของธุรกิจนี้คาดว่าจะเป็น banc ครับ  คือการขายประกันผ่านธนาคาร  ซึ่งถ้าเป็น modern trade จริงๆ(เท่าที่ดูมันก็น่าจะเป็นอย่างนั้นนะ) Top Four ก็น่าจะเป็นธนาคารที่แข็งแกร่งที่สุดครับ  ซึ่งคือ กรุงเทพ  กรุงไทย  ไทยพาณิชย์  และกสิกรครับ  แต่อาจจะต้องใช้เวลาพักใหญ่ๆ  เพราะถูกอันดับ 1 และ2ทิ้งห่างเยอะมาก  คาดว่าอาจจะใช้เวลามากกว่า 5 ปีครับ(แต่อันดับ 4 กับ 5 โม้ว่าจะขึ้นที่ 3 ใน 3 ปีนะ  โฮะๆๆๆๆ)

11. การหามูลค่ายุติธรรมของธุรกิจประกันชีวิตทำได้ยากมาก  เพราะอย่างที่บอกว่าถ้าซื้อแล้วต้องมาซื้อทุกปี  ดังนั้นปีนี้ได้เงิน  ปีหน้าไม่ทำอะไรเลยก็ได้เงิน  การคำนวณธุรกิจพวกนี้จะใช้ Appraisal Value(AV) ครับ
ซึ่ง AV = EV + VNB

อย่าเพิ่งงงนะครับ  จะพยายามอธิบายให้ฟัง

EV หรือ Embedded Value (EV) = Net Asset Value (NAV) + Value In Force (VIF)
(มึนไหมครับ  มีมาอีก 2 ตัว)
ซึ่ง NAV คงไม่ต้องอธิบาย  มันคือ BV นั่นเอง
ส่วน VIF คือมูลค่าที่สะท้อนกำไรจากสัญญาหรือกรมธรรม์ที่ทำไปแล้วน่ะครับ  แต่มันจะมาในอนาคต  เหมือนที่บอกว่าคนที่จ่าย 30,000 ต้องจ่าย 30,000 ไปอีก 10 ปีนั่นแหละครับ  จริงๆปีนี้ผมได้มาแค่ 30,000 แต่เดี๋ยวมันมาอีกหลายแสนในอนาคตครับ

EV จะเป็นการอธิบายว่า  ถ้าบริษัทเรานอนนวดกะปู๋เฉยๆไม่หาลูกค้า  ทั้งบริษัทจะมีค่าเท่าไรนั่นเองครับ



ส่วน VNB หรือ Value of New Business คือบริษัทเราไม่นอนนวดกะปู๋เฉยๆครับ  แต่ออกไปหาลูกค้าด้วย  ซึ่งลูกค้าที่มาทำประกันเพิ่มนี่คือมูลค่าของธุรกิจใหม่นั่น  ซึ่งจะได้ VNB ต้องรู้จัก Value of 1 year new business ซะก่อน(อย่าเพิ่งปวดหัวนะครับ  ค่อยๆอ่านไป)  คือการดู 12 เดือน(ก็ 1ปีตามชื่อนั่นแหละ)ย้อนหลังว่าคุณหาลูกค้าใหม่มาได้แค่ไหน  และเอาตัว multiple มาคูณเพราะลูกค้าใหม่ไม่ได้มาจ่ายตังแค่ปีเดียว
สรุปว่า VNB = Value of 1 year new business x multiple ครับ

สรุปอีกทีคร่าวๆนะครับ
EV คือราคาหุ้นจากส่วนที่เป็นทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัททั้งที่มีอยู่ตอนนี้  และที่จะมาจากอนาคตครับ(โดยไม่มีการรับลูกค้าใหม่แล้วครับ)
VNB คือราคาหุ้นจากส่วนลูกค้าใหม่ที่คาดว่าน่าจะหามาได้ครับ
multiple คือตัวคูณ  ซึ่งไม่แน่ใจที่มาที่ไปเหมือนกันครับ 555+


แต่ไม่ต้องห่วงครับ  ทั้ง multiple, EV จะมีคนคำนวนมาให้ครับ(เพราะคิดเองไม่ได้แน่ๆ)
โดย multiple เห็นเค้าบอกว่าปกติจะอยู่ราวๆ 8-10

เช่นปี 53 ได้ EV 18.2 VNB 1.8
เข้าสมการจะได้ 18.2+(1.8x10)=36.2 บาทครับ

ย้ำอีกทีว่าเลขพวกนี้เราไม่มีปัญญาคิดนะครับ  ที่ทำได้ก็แค่ประมาณ EPS แล้วคิดกลับโดยใช้ PE เป็นราคาครับ  อาจจะใกล้เคียงมาอีกนิด




พอจะเข้าใจอุตสาหกรรมประกันชีวิตกันมากขึ้นหรือยังครับ(จริงๆคนอยากรวยเขียนมาเตือนตัวเองด้วย  เผื่อลืมครับ)




เดี๋ยวเราจะมา review หุ้นอีก 2 ตัวคือ SCBLIF และ BLA กันต่อครับ ^^